วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

HOSxP PCU ณ นาด้วง



หกโมงเช้า..
พี่อ๊อก..สาธารณสุขอำเภอนาด้วงแวะมารับผมตรงเวลาและไปรับพี่อำนวยที่บ้านเพื่อเดินทางไปนาด้วงด้วยกัน ระหว่างทางเราแลกเปลี่ยนพูดคุยสาระทุกข์สุขดิบกันตามประสาคนคุ้ยเคยที่ทำงานร่วมกันมานาน และเคยทำงานที่สถานีอนามัยบ้านน้ำเย็นมาด้วยกันทั้งสามคน พี่อ๊อก พี่อำนวยยังเคยทำงานในพื้ืนที่อำเภอเชียงคานและอำเภอนาด้วงมาแล้วทั้งคู่ โดยเฉพาะพี่อำนวยที่เป็นเจ้าของถิ่นเก่าซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ในอำเภอนาด้วงหลายคนเป็นอย่างดีเลยถือโอกาสนี้กลับมาเยี่ยมเยือนกัน..

เราไปถึง รพ.สต.นาดอกคำ ประมาณแปดโมงกว่าๆ บรรยากาศสบายๆ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ต่างๆ เริ่มทยอยนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาติดตั้ง ซึ่งจำนวน รพ.สต.ที่รับผิดชอบมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้เราสามารถพูดคุยดูแลกันได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากส่วนหนึ่งได้รับการอบรมมาแล้วจากที่ สสจ.เลย ผมจึงประยุกต์การสอนด้วยการให้ดูจากฐานข้อมูลจริงของ รพ.สต.นาดอกคำ และทบทวนงานที่เคยทำประจำกับวิธีการลงข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ..

เนื่องจากเราใช้ รพ.สต.นาดอกคำเป็นพื้นที่การอบรม ผมได้ขอดูเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ทะเบียนการฝากครรภ์ ทะเบียนการฉีดวัคซีน ซึ่งถ้าดูจากวิีธีการทำงานเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทำงานซ้ำซ้อนค่อนข้างมาก ทำให้การคีย์บันทึกข้อมูลทำได้ไม่เป็นปัจจุบัน เพราะต้องทั้งเขียนและคีย์..ซึ่งผมได้ชี้จุดประเด็นปัญหาให้พี่อ๊อก และทีมสาธารณสุขอำเภอได้เข้าใจสภาพปัญหาของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ว่าถ้าหาก สสอ.เองไม่เข้าใจและไม่ปรับวิธีการตรวจสอบ นิเทศงาน หรือดูข้อมูลไม่เป็นก็จะเป็นกดดันเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ตัว..

ผมปรับเวอร์ชั่นของ HOSxP PCU ของ รพ.สต.นาด้วงเป็น 3.54.1.27 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด มีงานที่ค้างที่ต้องกลับมาแก้ไขต่อคือแบบฟอร์มรายงานระบาดวิทยา และบาง รพ.สต.ที่ยังมีปัญหาการใช้งานเนื่องจากระบบปฏิบัติการ Windows เนื่องจากเราจัดอบรมครั้งนี้วันเดียว เราจึงจัดอบรมกันต่อเนื่องยาวถึงทุ่มกว่าๆ

ขากลับ..บรรยากาศข้างนอกฟ้ามืดแล้ว..แต่พวกเราเพิ่งจะเดินทางออกจากอำเภอนาด้วง มื้อเย็นแวะกินก๋วยเกี๋ยวข้างทางก่อนเดินทางออกจากเมืองเลย..มีหลายเรื่องที่ยังต้องคิดกันต่อว่าจะขยับกันต่อไปยังไง โดยศักยภาพและข้อจำกัดหลายๆผมคงทำได้แค่การพัฒนาคนให้มีความพร้อมให้มากที่สุด ทั้งในส่วนของ สสอ.และ รพ.ที่ใช้งาน HOSxP ผมเสนอให้พี่อ๊อก ส่งน้องนักวิชาการที่ สสอ.มาฝึกอบรมเพิ่มเติมที่ด่านซ้ายอีกสัก 1-2 วัน ในสัปดาห์หน้า เพื่อจะได้เป็นทีมสนับสนุนช่วยเหลือ รพ.สต. ที่จะได้ประสานการฝึกอบรมเพิ่มเติมโดยผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ในอนาคต..



NOTE
- ปรับปรุง HOSxP PCU เป็น Version 3.54.1.27
- อัพเดตตาราง pttype
- แก้ไขฟอร์ม 506
- รายงานยังประมวลผลไม่ถูกต้องหลายรายการ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

อยู่คนเดียว



ประโยคหนึ่งที่ผมชอบ..ในบทเพลงนี้คือท่อนที่ร้องว่า "อยู่คนเดียวให้เข็ด น้ำตาแทบเล็ด..มันเจ็บมันร้อนก็ต้องทนให้อยู่" ฟังแล้วได้อารมณ์ดี โดยเฉพาะในช่วงที่รู้สึกว่าโดดเดี่ยว เดียวดาย.. ต้องทำอะไรกันลำพัง หรือทำกันไม่กี่คน..

วันเสาร์นี้ผมมีนัดกับพี่อ๊อก สาธารณสุขอำเภอนาด้วงครับ ด้วยความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัวและูรู้จักคุ้นเคยกันมานาน สมัยที่พี่อ๊อกทำงานอยู่ที่สถานีอนามัยบ้านน้ำเย็น ผมทำงานอยู่ สสอ.ด่านซ้าย ยุคนั้นคอมพิวเตอร์มีบทบาทในสำนักงาน คือ การพิมพ์เอกสาร และงานดาต้าเบสเล็กๆน้อยๆ ตอนนั้นเราได้ข่าวว่าจังหวัดพิจิตรใช้โปรแกรมฐานข้อมูลสำหรับสถานีอนามัย คือ โปรแกรม THO จึงขอไปศึกษาดูงานและนำโปรแกรมมาทดลองใช้ เรียกได้ว่ายุคนั้นโปรแกรม THO นี่แหละครับเจ๋งสุดๆ ลองผิด ลองถูก จนมั่นใจ และได้มีโอกาสคุยกับหมอจิ๋ว ซึ่งตอนนั้นผมเป็นเลขา คปสอ. แต่ว่ายังไม่ได้ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล ว่าจะนำโปรแกรมนี้มาทดลองใช้ที่สถานีอนามัยบ้านน้ำเย็น และฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวของโรงพยาบาล ด้วยความที่โปรแกรมใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน ทำให้สถานีอนามัยน้ำเย็นเป็นอนามัยต้นแบบแรกๆที่ใช้ฐานข้อมูลในการทำงานคู่กับแฟ้มครอบครัวก็แฟ้มครอบครัวที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้แหละครับเราออกแบบกันมันตั้งแต่ปี 2540 ตอนนั้นใช้ชื่อปกแฟ้มว่าศูนย์บริการสุขภาพชุมชน.. พี่อ๊อกเป็นมือหนึ่งของการใช้โปรแกรม THO ทีเดียว ใช้คล่อง รู้จักทุกเมนูการใช้งาน..

หลังจากดูแล้วคิดว่าโปรแกรมนี้แหละเหมาะที่จะนำมาใช้ในสถานีอนามัย ก็พยายามหาเวทีนำเสนอทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ทั้งไปสาธิตการใช้งาน หรือเชิญมาชมที่สถานีอนามัย แต่ก็โดดเดี่ยวครับ.. ไม่มีคนสนใจที่จะใช้งานเพิ่มมากนัก ส่วนหนึ่งด้วยความกลัวว่าเป็นโปรแกรมที่ไม่ได้พัฒนาเองใช้แล้วเดี๋ยวจะมีปัญหา ฯลฯ ผมจึงทำได้เพียงขยายฝันระบบงานสารสนเทศของสถานีอนามัยได้เฉพาะสถานีอนาัมัยในเขตอำเภอด่านซ้าย ซึ่งคอมพิวเตอร์ยุคนั้น เครื่อง 486 ก็ถือว่าหรูมากแล้ว..สำหรับการใช้งาน ร้านขายคอมพิวเตอร์ยุคนั้นก็มีเพียงร้านเมืองเลยคอมพิวเตอร์เจ้าเดียวที่น่าจะเชื่อถือและมั่นใจมากที่สุด..

บทเรียนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สอนเรื่องการเตรียมความรู้ความเข้าใจของคนให้พร้อมก่อนเอาเครื่องมือไปให้ใช้งาน หากไม่พร้อมก็ไม่ต้องไปเร่งรีบอะไรมาก เพราะมันมีธรรมชาติของมัน บางคนไม่ถนัดคอมพิวเตอร์แต่อาจจะทำงาน สรุปผลรายงานได้เร็วกว่าคนที่มีคอมใช้แต่ใช้ไม่เป็นก็ได้.. ของแบบนี้แล้วแต่ใครถนัดบางทีต้องรอจนหมดยุคคนรุ่นหนึ่งให้คนรุ่นใหม่เปลี่ยนผ่านงานไอทีถึงจะก้าวกระโดด..

จนมาถึงยุคที่ windows 98 และ office 97 เฟื่ื่องฟู เป็นยุคแห่งความรุ่งโรจน์ของซอทฟ์แวร์ตัวใหม่อย่าง HCIS ที่เริ่มฉายแววแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ มีคนกล่าวถึงกันมาก ในขณะที่ THO เข้าสู่ยุคปลายที่ใกล้ร่วงโรย เพราะระบบ DOS สำหรับคนรุุ่นใหม่เริ่มไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องไปเรียนรู้อะไรมากอีกต่อไป จนกระทั่ง HCIS ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการในสถานีอนามัยเกือบทุกแห่งอย่างยาวนานหลายปี.. แม้จะมีซอฟท์แวร์ตัวอื่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบ้างในบางจังหวัดแต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก

ผมมีโอกาสสัมผัส HCIS เพียงไม่นานเพราะกว่าจังหวัดเลยจะเข้าที่เข้าทางเรื่อง HCIS ก็เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจาก windows 98 เป็นระบบปฏิบัติการ Windows ME และกระโดดมายัง Windows XP อย่างรวดเร็ว ทำให้ผมมองข้ามการใ้ช้ฐานข้อมูลบน Access 97 ที่ไม่น่าจะมีอนาคตที่สดใสเท่าใดนัก จนกระทั่งมีหนังสือเวียนไปทั่วประเทศเรื่อง HOSxP ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี HOSxP PCU แต่มีสัมผัสบางอย่างที่ดูจากการพัฒนาโปรแกรมที่ผมมองว่า เฮ้ย..โปรแกรมนี้แหละ ใช่เลย ดูดีมีอนาคต..

แต่ 5 ปีที่แล้ว โคตรโดดเีดี่ยวเลยครับ..

2554 ประสบการณ์กว่า 5 ที่สะสมมาทำอย่างไรจะถ่ายทอดให้กับคนที่เพิ่งเข้ามาสัมผัสกับ HOSxP ให้มากที่สุด เป็นโจทย์ที่ยากมากเลยนะครับ ผมเคยคุยกับอาร์มหลายครั้งว่า HOSxP ในยุคหลังๆซับซ้อนมากขึ้น มีค่าต่างๆ ที่ต้องเซตหลายตัว ..และแน่นอนครับว่าเมื่อจากเปลี่ยนผ่านจาก HCIS เป็น HOSxP PCU ในลักษณะที่ไม่มีทางให้เลือกมากนัก.. แม้จะมีซอฟท์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดจาก HCIS เป็น JHCIS เมื่อพิจารณาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคามต่างๆ จึงไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินใจยากว่าควรจะใช้ซอฟท์แวร์ตัวไหน..

ปัญหาของผมวกกลับมาตั้งต้นที่จุดเดิมอีกครับ..ต่างกันแค่ขนาดของพื้นที่ใหญ่กว่ามาก จากที่เคยรับผิดชอบเพียงอำเภอด่านซ้าย ตอนนี้ผมต้องเดินทางอาทิตย์เว้นอาทิตย์เพื่อไปช่วยเหลืออำเภอต่างๆ ที่ร้องขอมา..ไม่รวมกับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาปรึกษาเพิ่มมากขึ้น..

ทำไมต้องทำ..และจะทำได้แค่ไหน ผมเองก็ไม่รู้ครับ รู้แต่ว่าหาก รพ.สต.ที่่เริ่มใช้ HOSxP PCU แล้วมีปัญหาถ้าการช่วยเหลือการสนับสนุนช้า และถูกปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังนานๆ จากโปรแกรมที่ดีกลายเป็นความสิ่งที่สร้างความรู้สึกในทางลบว่าใช้ยาก ห่วยแตก ส่วนจะทำได้แค่ไหนนั้นก็คงเ่ท่่าที่ทำได้นั่นแหละครับ เหมือนกับท่อนหนึ่งของเพลงอยู่คนเดียวที่ร้องว่า.."อยู่คนเดียวให้เข็ด น้ำตาแทบเล็ด..มันเจ็บมันร้อนก็ต้องทนให้อยู่"

เคยตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมต้องเลือกทางที่ยากด้วย เป็นผู้ตามใช้งานเหมือนที่โรงพยาบาลอื่นๆเขาแนะนำให้ใช้โปรแกรมอะไรก็ใช้ๆไปเถอะสบายกว่ากันเยอะเลย. แต่ผมคิดว่าหน้าที่สำคัญของ admin ที่นอกเหนือไปจากดูแลระบบไอทีระบบสารสนเทศของหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาแล้วนั้น..หน้าที่สำคัญอีกอย่าง คือ "การมองให้เห็นอนาคต"




NOTE : วันเสาร์ที่ 29 มกราคม นัดอบรม HOSxP PCU โดยใช้สถานที่ คือ สถานีอนามัยนาดอกคำ อ.นาด้วงครับ เชิญ Admin หรือจะไม่ใช่ admin ที่สนใจและอยากเรียนรู้ HOSxP PCU เพิ่มเติม มาร่วมด้วยช่วยกันครับ

ติดตามงาน ..

เมื่ือวานนี้พี่อำนวยกับตั้ม ออกติดตามการใช้งานของ รพ.สต.ต่างๆ ในเขตอำเภอด่านซ้าย เพื่อตรวจสอบและเชื่อมระบบการสื่อสารผ่านโปรแกรม teamtalk ซึ่งปัจจุบันมี รพ.สต.ที่สามารถเชื่อมระบบเข้ามาได้แล้ว คือ โคกงาม,หนองลุมลัว,วังบอน,ตูบค้อ,น้ำเย็น,กกจำปา,หนองผือ,นาดี,ปากหมัน จากการทดสอบสัญญานเสียงสามารถรับฟังได้ชัดเจน และตั้มได้ตั้งระบบให้เป็น auto เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์ใช้งานได้ปกติ ก็สามารถเข้าสู่ห้องสนทนาของ Teamtalk อัตโนมัติ

เรื่องรายงานประจำเดือน ยังมีประเด็นที่ต้องคุยกันอีกพอสมควร เนื่องจากฟอร์มรายงานส่วนใหญ่ที่ส่งให้ สสอ. และ ที่ สสอ.รวบรวมส่ง สสจ.นั้น เป็นไฟล์ Excel ซึ่งแน่นอนว่าถึงแม้ HOSxP PCU จะออกรายงานได้ แต่ก็ยัีงไม่ตรงกับฟอร์มที่มีใน excel อยู่ดี จำเป็นที่จะต้องเอาตัวเลขไปบันทึกใส่ในฟอร์ม ซึ่งก็ยังเป็นการทำงานซ้ำซ้อน และต้องส่งไฟล์จาก รพ.สต.ไปให้ สสอ. ทางฝั่ง สสอ.ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลในไฟล์ excel เพื่อส่ง สสจ. ซึ่งถ้าหากจะลดการทำรายงานจริงๆ ต้องใช้ตัว Datacenter ที่สามารถคลิกเลือกทำรายงานได้ทั้งในระดับหน่วยบริการ ระดับ อำเภอ ระดับจังหวัด จากข้อมูล 18 แฟ้มที่ส่งเข้าไป โดยที่ไม่ต้องให้ส่งรายงานเป็นรายหน่วยบริการอีก

แต่ประเด็นนี้ก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ครับ ดังนั้นก่อนจะคิดทำอะไรใหม่ผมคิดว่าเราน่าจะทบทวนพิจารณาดูสิว่ามีอะไรดีๆอยู่ในมือแล้วบ้าง มีอะไรอีกบ้างที่เรายังไม่รู้ในภาพรวมของทั้งจังหวัดนอกจากจะคิดถึงแต่ Datacenter ที่ต้องลงทุนในเรื่องงบประมาณอีกจำนวนมาก ผมจึงขอให้โตช่วยส่งรายละเอียดของ Provis ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศของจังหวัดมาให้ดูก่อนว่ามีอะไรทีีน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง



ซึ่งจากการทดสอบลองคลิกดูเมนูต่างๆ ดูเหมือนว่าจะทำงานได้ในค่อนข้างดี แต่ผลรายงานที่ออกมาไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะข้อมูลไม่ครบหรือตัวรายงานเพราะดูข้อมูลตัวเลขจากรายงานแล้วไม่น่าจะถูกต้อง



ในภาพรวมๆถ้าลองศึกษาและเข้าไปจัดการข้อมูลนำเข้าในโปรแกรม Provis ผมคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้พอสมควร ซึ่งปัญหาที่ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เกิดจากสาเหตุข้อมูลนำเข้าที่ยังไม่สามารถจัดการไ้ด้หรือเปล่า ผมลองทดสอบดูรายงานข้อมูลประชากรในปีงบประมาณ 2553 ดูจากตัวเลขที่ประมวลผลมีข้อมูลประชากรที่ดูน้อยผิดปกติซึ่งผมคิดว่าคงนำเข้ามาไม่ครบ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าปัญหาจริงๆในระดับจังหวัดมันอยู่ตรงไหน



NOTE : สอ.หินตั้ง ที่เชียงคาน โทรมาปรึกษาเรื่อง ไม่สามารถเชื่อมฐานข้อมูลกับ server ได้ ซึ่งเป็นมาตั้งแต่อบรมเมื่ือสัปดาห์ที่แล้ว แต่ไม่มีการแก้ไข ผมจึงถามว่าแล้วลงข้อมูลยังไง เจ้าหน้าที่ตอบว่าลงใส่ notebook ผมจึงให้ยกเครื่อง server มาที่ รพ.เชียงคานซึ่งคงต้องให้ทางต๊อดช่วยแก้ปัญหาให้ เพราะทาง สสอ.ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่คอยช่วยดูแลแก้ไขปัญหา..

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

วันต่อวัน ...




.เช้าวันใหม่ ตื่นนอนคล้ายๆ กัน เดินทางดั่งทุกวันเพื่ออกฝ่าฟัน ปัญหาความเป็นอยู่ หวังแค่เพียง ผ่านวันได้พ้นวัน มีชีวิตถึงวันรุ่งเช้าตื่นนอน เหมือนกันอย่างวานซืน ชีวิตหนึ่ง พ้นวันคืนหนึ่ง ก็ดีใจ คิดปีนป่าย ตามฝัน สุดทางได้แค่นี้ ได้แค่นี้ เท่านี้ก็เพียงพอ ได้ฝันไปวันๆ หนึ่งคืนถึงอีกวัน...

ฟังเพลงแล้วนึกถึงเมื่อครั้งที่ขึ้นระบบใช้งาน HOSxP ที่โรงพยาบาลเมื่อปี 2548 ขึ้นมาทันทีเลยครับ

ชีวิตช่วงนั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า ตื่นนอน ทำงาน กลับบ้าน เข้านอน ตื่นนอน ทำงาน กลับบ้าน บางวันแก้ปัญหาไม่ตกนั่งเฉยๆอยู่ที่หน้าจอคอมจนค่ำ เสาร์-อาทิตย์กลับมาทำต่อ เพราะปัญหาเทคนิค ปัญหาเชิงระบบบางอย่างมันแก้ไม่ได้ง่ายๆ ภายในวันสองวัน

หลังจากอบรมขึ้นระบบให้กับหน่วยงานต่างๆ ผมคิดว่าเขาคงจะใช้ตามที่ได้รับการอบรมไป ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลย หลายๆหน่วยงานยังงงๆ อ๋อๆ กับการอบรม บางคนก็ไม่ได้รับรู้อะไร กลับมาก็ยังทำงานเหมือนเดิม ไม่ลง ไม่คีย์ เคยทำงานอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ขนาดโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ยังต้องติดตามดูแล ประคับประคองทีมงานกันอย่างใกล้ชิด โทรศัพท์เปิดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรอรับปัญหาที่จะมีคนแจ้งเข้ามา

กว่า 2 เดือนครับที่กิจวัตรต้องวนเวียนอยู่เช่นนั้น ที่ปรึกษาก็ไม่มี อาศัยเรียนรู้เอาจากเวปบอร์ดและทดลองทำ ทำผิด ทำถูก บางปัญหาเป็นเรื่องใหญ่ที่ก้าวก่ายไปถึงการจัดการเรื่องคน ต้องปรับต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน แน่นอนครับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆถ้าคิดจะไปเปลี่ยนแปลงในเรื่องใหญ่ๆแบบนี้ ซึ่งต้องใช้กำลังภายในระดับผู้อำนวยการหรือคณะกรรมการบริหารเข้ามาช่วยทำ

การใช้ HOSxP ของ รพ.สต.ทั้งจังหวัดก็คงคล้ายกันครับ เป็นการบริหารจัดการที่ใหญ่กว่าระดับ รพ.มาก เราเริ่มต้นอบรมตรงไปที่ผู้ปฏิบัติในขณะที่ผู้บริหารชี้แจงแนวทางผ่านการประชุมประจำเดือน เท่าที่จำได้ผมยังไม่เคยได้อธิบาย HOSxP ให้กับกลุ่มสาธารณสุขอำเภอได้ฟังอย่างเป็นทางการ ยกเว้นพี่สมศักดิ์ที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ..อาจจะมองว่าผู้บริหารไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้าทำงานระดับอำเภอมันไม่ได้ใหญ่มากเกินไปอยู่ในวิสัยที่ผู้บริหารควรรู้ลึก และรู้จริง

จึงไม่น่าแปลกใจนะครับว่าหลายๆ อำเภอจึงเป็นการสนับสนุนในลักษณะที่ว่าเห็นชอบ และก็ให้ระดับผู้ปฏิบัติของ รพ.สต.ดำเนินการกันไป เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ผู้บริหารคิดว่าคงไม่ต้องลงในรายละเอียด ทำได้ ไม่ได้ ก็ให้โทรปรึกษาทางทีมจังหวัด อยากได้คอมพิวเตอร์ก็จัดซื้อ ..ฯลฯ

สถาพปัญหาปกติที่เกิดขึ้นหลังจากอบรมการใช้ HOSxP PCU ไปแล้ว คือ ความเงียบ..ในหลายๆ พื้นที่ บางอำเภอมีการเร่งรัด ติดตามการใช้งาน สาธารณสุขอำเภอบางท่านโทรศัพท์เข้ามาติดตามสอบถาม และประสานงานให้ผมโดยตรงให้ไปช่วยอบรมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องมาช่วยกันคิดว่าทำไมไม่ประสานกับทีมจังหวัด ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ศักยภาพของทีมพอหรือไม่ ขาดการทำงานเชิงรุกหรือเปล่า หรือติดกรอบอยู่เฉพาะการทำงานในเวลาราชการเท่านั้น ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างความมั่นใจและให้การสนับสนุนกับทีมระดับอำเภอได้เต็มที่ บางอำเภอมีเพียงบาง รพ.สต.เท่าที่ที่โทรเข้ามาสอบถาม บางแห่งใช้งานแบบเดิมๆ ไม่ได้ปรับปรุงตารางอะไรเพิ่มเติมเลยหลังจากกลับมาจากการอบรม บางอำเภอยังไม่ยอมลงทุนเรื่อง Hardware และบางอำเภอก็ยังไม่ยอมใช้..ด้วยเหตุผลว่ากลัวทำรายงานไม่ได้ ฯลฯ

สภาพปัญหาแบบนี้ควรจะแก้ไขกันอย่างไรดีล่ะครับ.. จะบอกให้ท่านสาธารณสุขอำเภอแต่ละแห่งช่วยติดตาม ท่านก็คงบอกว่าได้ติดตาม สั่งการให้ทำ สนับสนุนให้ใช้แล้ว แต่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สะท้อนกลับมาว่าใช้แล้วมีปัญหาเยอะ และไม่ได้รับแก้ปัญหา หรือแก้ปัญหาล่าช้า ฯลฯ ซึ่งกว่าปัญหาทั้งหมดจะมาคุยกันได้ก็มักจะมาจบกันด้วยคารมโวหารในห้องประชุมประจำเดือนของจังหวัด และเดินออกจากห้องประชุมด้วยความผิดหวัง..กันทุกฝ่าย

ถ้าผู้บริหารไม่รู้ในรายละเอียดบ้าง..จะไปสั่งการถูกได้อย่า่งไรกัน ผมยังมองว่าจำเป็นครับที่สาธารณสุขอำเภอทุกท่านควรมีความรู้พื้นฐานในเรื่องการจัดการ การใช้งาน HOSxP PCU ไม่ใช่จะดูแลในเชิงบริหารอย่างเดียว..

จุดอ่อนของเรา คือ การใช้เวลาในการเตรียมคนในการดูแลระดับอำเภอน้อยครับ..ดังนั้นต้องรีบปิดจุดอ่อนตรงนี้ด้วยการติดตามสอบถาม หรือลงไปดูสถาพปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลังจากการอบรม ถ้าปล่อยให้ปัญหาคาราคาซัง สุดท้ายก็จะกลายเป็นสิ่งที่น่า เื่บื่อหน่าย ไม่ประทับใจกับการใช้งาน สุดท้ายถึงขั้นปิดใจ..ไม่ยอมรับการเรียนรู้อะไรอีกเลย

เหล็กถ้าได้เผาไฟกำลังร้อนๆ ถ้าไม่ตีตอนนี้ก็คงไม่เป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เราตั้งใจ..

กำลังใจคงช่วยให้เรากล้าที่จะจับเหล็กร้อนๆ..
แต่จะเป็นรูปร่างได้ต้องทุ่มเท แรงกาย แรงใจ และต้องลงมือตีแรงๆครับ
จะเหนื่อยจะหนักแค่ไหน..อย่างมากก็แค่ทำ "วันต่อวัน" เท่านั้นเอง

NOTE ประจำวัน

-รพ.สต.เขตเมือง โทรศัพท์ฺเข้ามาปรึกษาปัญหาเรื่องส่งรายงาน 506 ไปแล้วไม่ผ่าน ผมทดลองใช้รีโมทเข้าไปดูให้สามารถใช้งานได้ดี แต่ไม่ทราบข้อมูลว่า รพ.เลย ซึ่งเป็นหน่วยรวบรวมข้อมูลงานระบาดวิทยาใช้โปรแกรมอะไร epidem หรือ R506 ? ต้องลองทดสอบเรื่องนี้อีกครั้ง

-รพ.ปากชม แจ้งเรื่องการจัดซื้อ Hardware ว่ายังติดปัญหากับทางบริหารเรื่ืองสเปคคอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ปักหมุด..HOSxP PCU


ดู ็HOSxP PCU ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ก้าวไปข้างหน้า หรือว่า สั่งการ

นานมาแล้ว เมื่อเราเริ่มใช้ HCIS ก็เกิดความไม่เข้าใจ เกิดการต่อต้าน และทำอย่างเสียไปที งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข โดยงานข้อมูล ได้วิเคราะห์ว่าการผลักให้ระบบเดินไปได้ต้องอาศัยบุคลากรที่มี"ใจ" เดียวกันมาร่วมกันผลักดัน ซึ่งในกลุ่มคนเหล่านั้นไม่เพียงเฉพาะผู้ที่เก่งคอมพิวเตอร์เท่านั้น มีบุคคลที่มีความรู้หลากหลาย ทั้งผู้ที่เป็นผู้ผลิตข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูล มา่ร่วมกันทำงานเป็น "ทีม" ซึ่งเราเรียกบุคคลเหล่านั้นว่า HCIS Programer Team

มาถึงปีงบประมาณ 2554 ซึ่งจังหวัดเลยได้เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า HosXP ในส่วนของ รพ. และ HosXP PCU ในส่วนของ รพ.สต. หลายคนมองว่า จังหวัด (สสจ.) "สั่งการ" แต่แท้ที่จริงแล้ว เนื่องจาก HCIS กระทรวงสาธารณสุขหยุดพัฒนามาแล้ว 3 ปี ทีมโปรแกรมเมอร์จ.เลย ได่ทำการปรับปรุงโปรแกรมเดิมให้สามารถส่งออกข้อมูลได้ตรงตามโครงสร้างที่กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.ต้องการ ซึ่งในปีที่ผ่าน ๆ มา มีการปรับโครงสร้าง (อาจจะเล็ก ๆ น้อย ๆ) ถึงปีละ 3 ครั้ง ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ได้ปรับโครงสร้างอีกครั้ง ปรับใหญ่เสียด้วย ดังนั้นทีมได้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันมากมาย รวมทั้งการวิเคราะห์ในเชิงการบริหารจัดการด้วย หลายคนเห็นด้วย หลายคนไม่เห็นด้วย แต่ในฐานะจังหวัด ซึ่งต้องดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ต้องคิดถึงใจผู้บริหารทั้งระดับจังหวัด และกระทรวง รวมทั้งต้องเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด การตัดสินใจว่าจะใช้โปรแกรมอะไรยืดเยื้ออยู่เกือบ 2 ปี จนหลาย ๆ คน หลาย ๆ ท่าน บอกว่าทำไมเราไม่ "ฟันธง" เสียที แต่เมื่อเราฟันธงให้ใช้และกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็นแล้ว หลาย ๆ คน กับคิดว่าเป็นการ "สั่งการ" ช่างน่าน้อยใจอะไรเช่นนี้

และการจัดทำข้อมูลในปัจจุบัน ผูกพันกับเรื่อง "เงิน" เสียด้วย ทั้ง เงินบันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอกรายบุคคล เงินการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เงิน Ontop และอีกมากมาย ทั้งนี้ในทัศนะของหลาย ๆ คน กลัึบมองว่า จัึงหวัดทำงาน "ช้า" ถึง "ช้ามาก" จึงอยากบอกว่า การที่ สสจ. จะขยับตัวอะไรนั้น มันกระทบกับคนทั้งจังหวัด จึงอยากขอความเห็นใจจากทุก ๆ คน ทั้งผู้ผลิตข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลด้วยค่ะ

สิ่งที่เรา (งาน ICT) กำลังดำเนินการอยู่ตอนนี้ก็คือ
1. ปลุก "ทีม" ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งปลายเดือนกุมภาถึงต้นเดือนมีนา เราจะไปเขียนคู่มือ ทำ VDO ช่วยสอน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในทีม
2. ทีม ผู้ดูแลระบบ ผู้ผลิตข้อมูล ต้องทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ใช่คิดว่า "ถูกบังคับ"
3. จัึงหวัดเร่ิงผลิตระบบรายงาน ให้ผู้ใช้ "สะดวก" ผู้ผลิต "ไม่เิิพิ่มภาระ" ตอนนี้เรากำลังรวบรวมแบบรายงาน และจะทำกรอบการทำงานให้ชัุดเจน
4. นโยบายผู้บริหารที่ทีมจังหวัดรับมาต้องไม่บกพร่อง

ขอกำลังใจ "ด่วน"

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

Delphi : มือใหม่



ตอนที่อาร์มบอกกับผมว่าจะจัดอบรม Delphi พื้นฐานให้กับเพื่อนๆในเครือข่าย เป็นเรื่องที่เราคิดเห็นตรงกันว่าขณะนี้จังหวัดเลยปูพรมการใช้งาน HOSxP PCU ทั้งจังหวัด ซึ่งวิธีการแบบสั่งการต้องทำ ต้องใช้แบบนี้มักจะขาดความยั่งยืนในระยะยาว ถ้าปักหลักมั่นคงก็ดีไป แต่ถ้าการสนับสนุนไม่ดี แรงต้านในใจซึ่งเกิดจากการถูกบังคับให้ใช้ จำใจให้ต้องทำ จะเกิดเป็นความรู้สึกไม่ประทับใจกับการเปลี่ยนมาใช้ HOSxP PCU จังหวัดเลยมีคนที่รู้เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ค่อนข้างน้อยครับ ในขณะที่การเตรียมคนสนับสนุนยังทำได้ไม่ดี แต่หลายที่ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้ HOSxP กันเสียส่วนใหญ่แล้ว จะเดินหน้าก็ลำบาก จะถอยหลังก็ยิ่งไม่ได้..ระบบรายงานก็ยิ่งไปกันใหญ่ที่หลายฝ่ายในหน่วยงานจะทวงถามไปยัง สสอ.,รพ.สต, แล้วก็สะท้อนหนักๆ กลับมาที่ศูนย์ ICT




การวางแผนพัฒนาคนในเรื่องเกี่ยวกับ Dephi และ การเขียน Report คงต้องเลื่อนมาเร็วกว่ากำหนด การพัฒนากำลังคนด้านนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะสร้างกันได้ง่ายๆ ภายในวันสองวัน..หลังจากจบภาคทฤษฎีก็คงต้องมีให้กลับไปปฏิบัติ และอาศัยการฝึกฝนสม่ำเสมอ แต่บทบาทหน้าที่ของหลายๆ คนที่มาฝึกอบรม ต้องยอมรับว่าไม่ใช่มีงานหน้าเดียว ซึ่งอาจจะทำให้การเรียนรู้ทำได้ไม่ต่อเนื่อง
แต่ถ้าไม่เริ่มก้าวก็คงไม่ไปถึงไหน..ก้าวแรกเมื่อได้ออกเดินแล้ว เราก็คงต้องพยายามให้มีก้าวที่สอง ก้าวที่สามตามมา
หน่วยงานที่ส่งคนมาร่วมอบรมครั้งนี้ มีทั้งในและนอกจังหวัด ใกล้สุดคงเป็น เจษฯ จาก รพ.นาแห้ว และไกลที่สุด คือ นรินทร์ จาก รพ.ป่าบอน จังหวัดพัทลุง.. นอกจากนี้ยังมีเพื่อนร่วมเครือข่ายใหม่อย่างโรงพยาบาลพรเจริญ โต้งและ อี้ นักคอมฝีมือดี จังหวัดหนองคาย ,พี่เข้,โต,ต๋อง และแบงค์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย, และดับเบิ้ลเอ๋ ..จากโรงพยาบาลเลย

ทีมงานเก่าๆที่ผูกพันธ์กันมานานอย่าง อิ๊ด รพ.เอราวัณ ,ปุ๊ รพ.หนองวัวซอ อุดรธานี ตั้มและตุ๋ม จาก รพร.สว่างแดนดิน ไม่ยอมพลาดงานนี้ และแม้กระทั่งคนใกล้แต่เหมือนไกลอย่าง เบียร์ รพ.ภูเรือ ก็มาร่วมด้วยช่วยกัน.. ซึ้งล้วนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทีี่พยายามเรียนรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา..

นอกจากเนื้อหาการอบรม Dephi ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่จัดอบรมในครั้งนี้ ผมยังได้เพิ่มความรู้เล็กน้อยๆ และมุมมองการใช้ชีวิตของนักคอมพิวเตอร์ีที่แตกต่างกันออกไป และการเรียนรู้ รับรู้กิจกรรมใหม่ๆ นอกจากการนั่งอยู่หน้าคอมเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ได้เพิ่มเติมให้ในการอบรมครั้งนี้มีการนำเสนอความรู้เรื่อง ipad เทคโนโลยีที่กำลังฮอตฮิตช่วงนี้ และสอนการเล่นเปียโน..1 to 5 ด้วยแนวคิดที่ว่า ไม่มีใครในโลกนี้ที่เล่นเปียโนไม่ได้ และการขี่จักรยานชมเมืองด่านซ้าย เพื่อให้ลองใช้ชีวิตแบบที่ช้าๆดูบ้าง











การมีชีวิตที่ต้องนั่งอยู่โต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ คือ เพื่อนรู้ใจที่ใครๆมักจะมองว่าชีวิตนักคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ก็มีอยู่แค่นั้น จริงๆแล้วยังมีความสุนทรีย์ในชีวิตอีกมากมายที่นักคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆควรได้รับการพัฒนา การยกระดับคุณภาพชีวิตและจิตวิญญาน ลบภาพลักษณ์เดิมๆ ที่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยคือห้องทำงานที่รกๆ เต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์กองคอมพิวเตอร์ หลังเลิกงาน คือ การชุมนุมสังสรรค์นั่งเมาท์และเมาอยู่ในวงเหล้าเคล้าควันบุหรี่..

ผมว่า..สมองและฝีมือของทุกคนมีดี เกินกว่าที่จะให้สิ่งไม่ดีเหล่านี้ทำลาย..

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ทดสอบ WI-NET รพ.สต.ท่าศาลา

พี่อำนวย หรือพี่นวยของน้องๆ กับ ตั้ม ช่างเทคนิคของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย คู่หูดูโอ้ เดินทางไปที่ รพ.สต.ท่าศาลา ต.ร่องจิก อ.ภูเรือ เพื่อร่วมทดสอบสัญญาน WI-NET ของ TOT เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ และวางแผนการเชื่อมระบบสารสนเทศสำหรับ รพ.สต.หลายพื้นที่ที่จะต้องใช้ WI-NET

อุปกรณ์ที่ใช้รับส่งสัญญาน เป็นแผงรับส่งสัญญาณสีขาวขนาดเล็กที่เราเห็นติดตั้งอยู่นอกอาคาร โดยใช้แทงค์น้ำ เป็นฐานในการยึดติด และมีสายเชื่อมต่อเข้าไปในอาคาร





อุปกรณ์ภายในอาคารมีอุปกรณ์สีดำ ที่ต่อเชื่อมกับแผงรับสัญญานภายนอก เข้าใจว่าน่าจะเป็นตัวที่ใช้จ่ายไฟผ่านสายแลนโดยไม่ต้องเดินสายไฟออกไปนอกอาคาร อุปกรณ์อีกชิ้นกล่องสีขาวมี port 4 ช่อง คล้ายกับ HUB



ทดสอบการใช้โปรแกรมต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบ speed net ว่าสามารถดาวโหลดและอัพโหลดสัญญานได้มากน้อยเท่าไหร่ และทดลองใช้โปรแกรม team talk สำหรับทดสอบการประชุมทางไกลโดยใช้สัญญานภาพและเสียง ซึงจากการทดสอบสามารถใช้งานได้ดีมากภาพและเสียงชัดเจน



สรุปโดยภาพรวม ถือว่าสัญญานของ wi-net ใช้งานได้ดีครับ ถ้าเทียบกับราคาที่ต้องจ่ายรายเดือนๆละ 1,000 บาท เท่ากับการใช้ IP Start แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าติดตั้ง และบางพื้นที่ยังมีข้อจำกัดที่สัญญานไปไม่ถึง ส่วนการใัช้งานในระยะยาว จะหลุดบ่อย ฝนฟ้าอากาศไม่ดี คุณภาพของสัญญานจะลดหรือไม่อย่างไร ยังบอกไม่ได้เหมือนครับ





เทคโนโลยีใหม่ๆแบบนี้การที่จะบอกผู้บริหารว่าดีหรือไม่ดี คุ้มค่าน่าใช้หรือไม่ เพียงแค่ powerpoint นำเสนอคงไม่เพียงพอ การลงพื้นที่เพื่อทดสอบหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการใช้งานจริงเป็นสิ่งที่จำเป็นครับ เพราะบางทีคำโฆษณาก็มีราคาเกินจริง ในขณะที่ระบบกำลังถูกติดตั้งใน รพ.สต.หลายแห่ง ผู้บริหารมีหน้าที่ตัดสินใจอนุมัติตามข้อมูลที่ทีมนำเสนอ ซึ่งหน้าที่ของทีมไอทีอย่างพวกเรา คือ ต้องหาข้อมูลจากหลายๆช่องทางเพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ดีที่สุด..

ขอขอบคุณ พี่อำนวย จาก สสอ.ด่านซ้าย ตั้ม ช่างเทคนิคจาก รพร.ด่านซ้าย และทีม รพ.สต.ท่าศาลา ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทดสอบและเก็บข้อมูลการใช้งาน wi-net ให้กับทีม HOSxP เมืองเลยครับ

กระจกเงาของปีเตอร์..

"ในเช้าวันหนึ่ง ปีเตอร์คนธรรมดาเห็นหญิงชรากำลังก้มๆเงยๆ อยู่บนถนน เขาจึงถามหญิงชราว่า “ยายกำลังหาอะไรอยู่หรือจ๊ะ” หญิงชราจึงบอกว่าเธอกำลังมองหาแหวนที่ำทำหล่นอยู่ ปีเตอร์จึงกัมลงและช่วยเธอหาแหวนดังกล่าว และในไม่ช้า เขาก็พบแหวนนั้นอยู่ใต้ใบไม้แห้ง“โอ” หญิงชราพูด “เธอรู้ไหม ว่าแหวนวงนี้มีค่ามากมายเพียงใด เพื่อเป็นการตอบแทนฉันจะให้กระจกเงาวิเศษให้กับเธอ” แลัวเธอก็มอบกระจกเงาเล็กๆให้กับปีเตอร์ แต่เมื่อนำกระจกเงานั้นมาส่องเขากลับมองไม่เห็นอะไรเลยนอกจากท้องฟ้าที่ว่างเปล่า“ยาย กระจกนี้อาจเป็นกระจกเงาวิเศษ แต่มันไม่มีประโยชน์ใดๆกับฉัน เพราะฉันไม่สามารถมองเห็นตัวเองได้เลย” หญิงชรา ซึ่งแน่นอน เป็นผู้วิเศษ จึงกล่าวว่า “มันเป็นกระจกวิเศษที่เธอจะมองไม่เห็นตัวเองอย่างที่เป็น แต่จะเห็นตัวเองอย่างที่ผู้อื่นมองเห็น และการได้เห็นว่าผู้อื่นมองเห็นเราอย่างไรเป็นของขวัญที่วิเศษนะ” พูดแล้ว เธอก็ค่อยๆหายตัวไปท่ามกลางกิ่งก้านของต้นไม้ที่โน้มเข้ามาโอบอุ้มตัวเธอ

และเนื่องจากยังไม่มีใครพบกับปีเตอร์หลังจากได้รับกระจกวิเศษ เขาจึงยังมองไม่เห็นอะไรในกระจกนั้น ด้วยความไม่เข้าใจ ปีเตอร์จึงคิดว่าเงาของเขาหายไป เขาจึงเดินตามหาเงาของตัวเอง เมื่อเขาพบกับชาวนาจอห์น เขาเข้าไปถามว่า “ชาวนาจอห์น เงาของผมหนีไป คุณเห็นเงาของผมไหม” ชาวนาจอห์นตอบว่า “โอ, ฉันเห็นมันเดินไปทางเข้าเมืองทางโน้น” ปีเตอร์ไม่รู้ว่ากำลังถูกชาวนาจอห์นหลอกเล่น เขาจึงเดินไปตามทางนั้นระหว่างทางเขาหยิบกระจกขึ้นมาส่อง สิ่งที่เขาเห็นในกระจกคือห่านตัวหนึ่ง ด้วยความตกใจว่าเขากลายเป็นห่านไปเสียแล้ว เขาจึงเข้าไปถามชายช่างตีเหล็กผู้อารีว่า “เงาของฉันกลายเป็นห่านไปแล้วหรือ” พอเขาเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ช่างตีเหล็กจึงอธิบายให้ปีเตอร์เข้าใจการล้อเล่นของของชาวนาจอห์นที่เห็นปีเตอร์เป็นเพียงห่านโง่ตัวหนึ่ง“ฉันไม่ใช่ห่านโง่เสียหน่อย” ปีเตอร์คิด “คอยดูนะ ฉันจะพิสูจน์ให้ใครๆเห็นว่าฉันไม่ใช่คนที่ไร้ค่า“ด้วยความคิดนี้ ปีเตอร์คนธรรมดาจึงเดินทางเพื่อแสวงหาโชค

ระหว่างทางเขาพบผู้คนจำนวนมากอพยพย้ายถิ่นสวนทางกับเขา เมื่อสอบถามชาวบ้านเหล่านั้นจึงได้ความว่า มีมังกรร้ายที่น่าหวาดกลัวที่สุดอาละวาดกินคน และมันจับเจ้าหญิงไป พระราชาประกาศว่าหากใครช่วยเจ้าหญิงได้จะได้แต่งงานกับเธอและจะได้ครองดินแดนนี้ต่อไป ปีเตอร์คิดว่านี่เป็นโอกาสที่เขาจะได้แสดงความสามารถแล้วเขาจึงเดินทางไปยังภูเขาที่อยู่ของมังกร ท่ามกลางภูมิประเทศอันน่าหวาดหวั่น เขาค่อยเดินเข้าไปยังถ้ำที่มังกรจับเจ้าหญิงขังไว้ ก็ได้ยินเสียงคำรามอย่างน่ากลัวของเจ้ามังกรร้าย และมันก็ได้กลิ่นของเขาแล้ว เมื่อมันออกมาล่าปีเตอร์ ซึ่งในเวลานี้ไม่ธรรดาเสียแล้ว เพราะเขาแอบอยู่หลังโขดหิน และยื่นกระจกเงาวิเศษหันไปทางเจ้ามังกรนั้น เธอรู้ไหม เจ้ามังกรมองเห็นอะไร มันมองเห็นสัตว์ร้ายที่น่าหวาดกลัวที่สุดในกระจกเงากำลังทำท่าจะเข้ามาทำร้าย ด้วยความหวาดกลัวอย่างที่สุด เจ้ามังกรจึงเผ่นแน่บไปจากดินแดนนั้นและไม่หวนกลับมาอีกเลย

ปีเตอร์เข้าไปในถ้ำช่วยเหลือเจ้าหญิงออกมาได้ เขาหลงรักเจ้าหญิงในทันที สำหรับเขาแล้ว เธอเป็นหญิงที่งดงามที่สุดในโลก และพระราชาก็ให้รางวัลเขาอย่างงดงามด้วยการประกาศให้เขาได้แต่งงานกับเจ้าหญิง วันหนึ่งเจ้าหญิงได้ถามถึงเรื่องที่เขาเอาชนะเจ้ามังกร เธอคิดว่าเป็นวีรกรรมที่กล้าหาญนี่กระไร ปีเตอร์จึงบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด รวมถึงการเล่นกลกับเจ้ามังกรให้เจ้าหญิงฟัง พร้อมยกกระจกเงาให้เจ้าหญิงดู สิ่งที่เจ้าหญิงเห็นในกระจกเงาคือ หญิงสาวที่สวยที่สุดในโลก “แต่ฉันไม่ใช่คนที่สวยอย่างนั้นนี่” เธอบอกกับปีเตอร์ เมื่อได้ฟังเรื่องด้วยความจริงใจ เห็นถึงความสัตย์ซื่อของปีเตอร์ทำให้เจ้าหญิงหลงรักเขาด้วยเช่นกัน

ในขณะที่งานแต่งงานใกล้เข้ามา พระราชินีเห็นว่าปีเตอร์แต่งกายซอมซ่ออาจทำให้ประชาชนไม่ยอมรับเขาเป็นเจ้าชาย พระนางจึงให้เขาแต่งกายแบบเจ้่าชาย แต่เมื่อปีเตอร์ส่องดูตัวเองในกระจกวิเศษ เขามองเห็นตัวเขาอย่างที่ประชาชนมองเห็น สิ่งที่เขามองเห็นคือราชสีห์ที่เก่งกล้าดุร้าย “แต่ฉันไม่ใช่คนที่กล้าหาญอย่างที่พวกเขาคิด” ปีเตอร์บอกกับตัวเอง ดังนั้นเขาจึงกลับมาแต่งตัวอย่างที่เคย และชาวบ้านก็เห็นเขาเป็นพวกเดียวกับตน และรักเจ้าชายคนใหม่ของพวกเขาอย่างจริงใจเมื่อเวลาผ่านไป ปีเตอร์หยิบกระจกเงาวิเศษขึ้นมาดู แม้ว่าในเวลานี้จะอยู่ในเครื่องแต่งกายอย่างเจ้าชาย สิ่งที่เขามองเห็นคือ ปีเตอร์คนธรรมดาในชุดซอมซ่อเช่นเดิม เขาดีใจว่าในที่สุด ใครๆก็ได้เห็นเขาอย่างที่เขาเป็นเสียที"

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

HOSxP PCU ณ ภูหลวง




บ่นมานาน...มาเข้าเรื่องดีกว่า เคยคิดที่จะจัดอบรมผู้ใช้งานมาตั้งแต่ช่วงประมาณปลายเดือน พ.ย.53 หลังจากที่เริ่มใช้มาในช่วงต้นเดือน..แต่ยังติดปัญหาหลายอย่าง สำคัญๆก็คือไม่มี วิทยากร เพราะคงไม่อาจเอื้อมท่านผู้ expert อย่างพี่โด้มาสอนให้คิวพี่ยาวเหลือเกิน....เล็งๆไปทางอำเภออื่น....ก็ไม่มีคนว่างสักคน....

ฤกษ์งามยามดีก็เลยได้วันศุกร์ที่ 14 ม.ค. 54 เป็นวันอบรม มีวิทยากรคนสวย...พี่มดจาก PCU รพ.ภูหลวง...กรุณาเสียสละเวลามาแลกเปลี่ยนความรู้กัน(ขอบคุณมากมายจ้ะ...)จนท.ทุกคนทั้งที่เคยและไม่เคยอบรมจาก สสจ. ก็มาร่วมกันทุกคนผู้อบรมตั้งอกตั้งใจ มีคำถาม ช่วยกันตอบ...รวมถึงมีคำถามฝากมา สสจ....ตั้งแต่เช้ายัน4โมงเย็น...ใช้เวลาได้คุ้มค่าดี....

ถึงแม้การอบรมครั้งนี้...ยังมีอะไรหลายอย่างที่ยังไม่แจ่มแจ้งนักแต่ก็ทำให้ จนท. สามารถใช้ HOSxP_PCU ด้วยความเข้าใจมากขึ้น
ดีกว่าจะรอการจัดอบรมจาก สสจ.เพียงอย่างเดียว ขอบคุณ จนท. ทุกคนที่ตั้งอกตั้งใจมากมาย...ขอบคุณพี่มด..วิทยากรคนสวย
หลังจากครั้งนี้ก็วางแผนว่า..จะมีการจัดเวทีแบบนี้คุณกเรื่อยๆ ตามสมควร 2 หรือ 3 เดือนครั้งในปีนี้ก็คงเป็นไปได้....

HOSxP_PCU ถ้าเราใช้งานเป็น...ไม่เกิดปัญหาบ่อยๆ(เหมือน HCIS) คีย์เท่าไหร่ก็สมบูรณ์ออกมาเท่านั้น....มันคงทำให้เราสนุกกับการทำงานมากขึ้น...(หนูเชื่อเช่นนั้นจริงๆนะ)

ที่มา : กระทู้จากเวปบอร์ด สสจ.เลย

...............................................................................



วิธีการทำงานอย่างหนึ่งที่เราใช้กันบ่อยๆ คือ การประชุมอบรม ไม่ว่าจะเป็นอบรม ครู.ก ,ครู ข. หรืออบรม 100 เปอร์เซนต์ อบรมเสร็จก็ปล่อยให้ผู้เข้าอบรมเข้าไปทำงานตามยถากรรม ถ่ายทอดกันต่อไปอย่างผิดบ้าง ถูกบ้าง แล้วแต่ว่าเข้าใจ หรือจำเนื้อหาของการอบรมจากผู้สอนได้มากน้อยแค่ไหน ทักษะ ความรู้พื้นฐานความรู้ของผู้รับการอบรมที่แตกต่างกัน ไม่รวมถึงหัวจิต หัวใจในการเปิดรับฟังเนื้อหาในการอบรม ที่บางคนอาจจะมานั่งฟังแบบจำใจ และหลายๆคนอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง.. ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราอาจจะแทบไม่รู้เลยว่าหลังจากการฝึกอบรมไปแล้ว ผู้เข้าอบรมได้มีการดำเนินการต่อได้มากน้อยแค่ไหนถ้าไม่ออกไปนิเทศติดตาม ซึ่งบางทีกว่าจะรู้ว่าผลการฝึกอบรมที่จัดให้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหนก็สายเกินไปเสียแล้ว..

ต้องขอบคุณประโยชน์ในด้านที่ดีของโลกอินเตอร์เนตที่ช่วยให้การติดตาม บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น และทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ศักยภาพของ"คน" มีความมหัศจรรย์ที่น่าทึ่ง พร้อมที่จะแสดงพลังความรู้ความสามารถได้อย่างมากมายในช่วงเวลาและโอกาสที่เหมาะสม การเรียนรู้ที่ดีที่สุด ไม่มีอะไรดีกว่าการลงมือทำครับ..ลองทำลองใช้ ลองแก้ปัญหาเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ทุกครั้งที่เราลงมือทำมันจะมีความรู้เกิดขึ้นมากมาย และถ้าเพิ่มเติมด้วย การแลกเปลี่ยน..ความคิด ความรู้วิธีการต่างๆ กับเพื่ือนร่วมงานภายในทีม แลกเปลี่ยนข้ามเครือข่ายไปอำเภออื่น จังหวัดอื่น ล้วนแล้วแต่เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และเติมเต็มศักยภาพของการเรียนรู้ ด้วยการบันทึกบอกเล่าเรื่องราวปัญหาต่างๆ หรือแม้กระทั่งการบันทึกที่สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ ความยากลำบากใจต่างๆ ซี่งในที่ประชุมเราอาจจะไม่กล้าที่จะบอกความรู้สึกกันอย่างนี้ตรงๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยใ้ห้คนอื่นๆได้เรียนรู้ และเข้าใจกันมากขึ้น

เรื่องราวการขับเคลื่อน HOSxP PCU ของทีม สสอ.ภูหลวง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สามารถประเมินผลหลังจากการฝึกอบรมว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน ผู้เข้าร่วมอบรมมีการดำเนินการต่ออย่างไรบ้าง มีความรู้ ความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เราได้เรียนรู้ว่า เนื้อหา/รูปแบบการฝึกอบรมที่จัดให้อาจจะยังไม่ดีพอ เราได้เรียนรู้ถึงศักยภาพของบุคลากรทีม สสอ.ภูหลวง ที่พยายามศึกษาค้นคว้าไม่ยอมจำนนและรอคอยการช่วยเหลือหรือรอการสนับสนุนจากหน่วยเหนือแต่เพียงอย่างเดียว ..

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดบทเรียน ตอนที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง "คน"

ความสำเร็จของทุกงาน ใครๆก็มักจะพูดถึงเรื่อง "คน" คือ ปัจจัยสำคัึญที่สุด..ต้องทำอย่างโน้น ต้องเตรียมคนอย่างนี้ ฯลฯ บางท่านอาจจะบอกว่าก็พูดแบบนี้ทุกที เพราะเอาเข้าจริงเรื่องการพัฒนาคนก็ไปไม่ถึงไหน..

ทีมจังหวัดเลยมีการประชุมคณะกรรมการ ICT ระดับจังหวัดครับ ผมได้มีโอกาสไปนำข้อความคิดเห็นเล็กๆน้อยๆ ท่ามกลางทีมงาน ICT เดิมทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ แต่การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันยังมีไม่กี่คน อาจจะเป็นด้วยเงื่อนไขของเวลาประชุมที่มีน้อยเกินไป และหลายคนอาจจะรู้สึกค้างคาในใจว่าถึงจะเปลี่ยน software ตัวใหม่ผลก็คงไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก..ถูกครับ แต่อาจจะไม่ทั้งหมด

เราพูดคุยกันถึงเรื่องการเตรียมคนในระบบสารสนเทศ "คน"ในที่นี้ไม่ได้หมายความเพียงแค่ระดับผู้ปฎิบัติงาน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิค ฯลฯ เท่านั้น แต่สำหรับผมการเตรียมคนที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้บริหารครับ .. แต่ที่ผ่านมาเรามักมีปัญหาในการนำเสนอเพื่ือให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเข้าใจได้ยาก หรือบางครั้งไปลงลึกเกินไปในรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโดยตรงทำให้กลุ่มผู้บริหารจึงมักไม่ค่อยสนใจที่จะเสียเวลามานั่งดูเวลาสาธิตการใช้โปรแกรม ส่วนหนึ่งเพราะคิดว่าไม่ค่อยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์และบนพื้นฐานความเชื่อเดิมๆที่ว่าโปรแกรมไหนๆก็เหมือนกัน จึงทำให้กลุ่มผู้บริหารขาดข้อมูลสำคัญๆต่อการพัฒนาในเิชิงระบบหรือการปรับเปลี่ยนองค์กรซึ่งสำคัญมาก

ก่อนที่จะผมจะนำ HOSxP มาใช้ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย มีหลายครั้งที่ผมนำเสนอตัวต่อตัวกับผู้อำนวยการ และที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร จุดสำคัญที่ผมพยายามชี้ให้เห็นคือ ความยากของโปรแกรมนี้ เช่น การตั้งค่าพื้นฐานที่ต้องใช้แพทย์ พยาบาล เภสัชกร การเงิน งานประกัน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูข้อมูลพื้นฐานของงานตัวเอง.. ซึ่งสำคัญ เพราะหากวางข้อมูลพื้นฐานผิดจะส่งผลให้การใช้งานโปรแกรมมีปัญหา หน้าที่ในการบริหารจึงต้องให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่ปล่อยให้นักวิชาการคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่รู้เรื่องงานสาธารณสุขไปกำหนดค่าอะไรต่างๆ ไปเรื่อยเปื่อย บางท่านอาจจะบอกว่าคนดูแลระบบของผมก็เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเก่งคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถึงจะเป็นคนในวงการสาธารณสุขแต่ก็ยังเข้าใจเฉพาะในสายวิชาชีพของตนเองอยู่ดีอาจจะได้เปรียบมากกว่าแค่พอจะรู้หน้างานของวิชาชีพอื่นๆอยู่บ้างแต่ก็ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และหลายคนเป็นเด็กรุ่นใหม่อายุงานยังน้อย บารมียังไม่ถึง การที่จะไปนำเสนอพูดคุยหรือเรื่องการเปลี่ยนระบบของโรงพยาบาลซึ่งเป็นเรื่องใหญ่คงจะโดนตอกหน้าหงายกลับมา

ผมใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ในการเข้าไปดูการทำงานของหน่วยงานต่างๆ เดินตามคนไข้ในระบบ เพื่อศึกษาว่าหน่วยงานต่างๆเขาทำงานกันอย่างไร และมาศึกษาเปรียบเทียบกับโปรแกรม HOSxP ที่จะนำมาใช้ว่าสอดคล้องกัน หรือว่ามีจุดไหนบ้างที่ต้องปรับเปลี่ยน เพราะบางครั้งไม่ใช่แค่การเปลี่ยนวิธีการทำงาน แต่อาจเลยเถิดถึงการเปลี่ยน FLOW เปลี่ยนคนให้เหมาะสมกับงาน ของแบบนี้้ต้องตัดสินใจโดยระดับผู้บริหารครับ..ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีพอด้วย..

แม้กระทั่งการใช้คนกลุ่มนักวิชาการคอมพิวเตอร์ การกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ไม่ชัดเจน คนกลุ่มนี้ถูกใช้งานแบบพนักงานเอนกประสงค์และมีจำนวนไม่ค่อยพอกับปริมาณงานที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตแต่ละวันของคนกลุ่มนี้หมดไปกับการซ่อมคอมพิวเตอร์ ดูแลเครื่องเสียงห้องประชุม ทำสื่ือนำเสนอ ฯลฯ ไม่มีเวลาพัฒนา software ซึ่งต้องใช้เวลาและสมาธิอย่างมาก แค่การเขียนรายงานหนึ่งตัวความยาวของซ๊อสโค๊ดโปรแกรมไม่กี่หน้ากระดาษ แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาตรงนี้ 1-2 วันเต็มๆ

ระบบการบำรุงรักษามาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นอีกเรื่องที่คนในองค์กรช่วยได้อย่างมาก การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบไม่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์ สปายแวร์ ฯลฯ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบคอมพิวเตอร์บ่อยครั้งจากการใช้งานแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจของผู้ใช้ ทำให้ระบบมีปัญหาบ่อยๆ หากนักคอมพิวเตอร์จะจัดการปิด หรือล๊อคในสิ่งที่จำเป็นก็ถูกห้ามหรือถูกตำหนิจากผู้บริหาร ทำให้มาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ของระบบสารสนเทศ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม..

ผมว่าพวกเรารู้น้อยมากว่าคนทำงานไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา สาธารณูปโภคสำคัญๆ เหล่านี้เขาทำงานกันอย่างไร รู้แต่ว่าเรามักจะบ่นด่าทุกครั้งที่สาธารณูปโภคเหล่านี้มันขัดข้อง ในระบบคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกันครับหลายครั้งที่กลุ่มคนเหล่านี้ต้องอยู่แก้ปัญหา ทำงานนอกเวลา เพราะระบบงานของโรงพยาบาลที่ติดตั้งใช้งานแล้วต้องทำงาน 24 ชั่วโมง การดูแลก็ต้องตลอด 24 ชั่วโมงเช่นกัน แต่ค่าตอบแทนที่ได้กลับคิดบนพื้นฐานตามระเบียบราชการที่รักษาคนกลุ่มนี้ไม่ค่อยอยู่ พอคนดูแลระบบลาออกก็คิดว่าจ้างใหม่ ระบบก็ต้องมาเริ่มใหม่และเป็นปัญหาซ้ำซาก ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ผู้บริหารก็ต้องเข้ามาดูแลตัดสินใจจ้างในอัตราราคาตลาดที่เหมาะสม..

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเวลาโรงพยาบาลที่จะขึ้นระบบ HOSxP เรามีเงื่อนไขว่าผู้บริหารควรจะมาดูงานด้วยตนเองเพราะไม่เช่นนั้นจะได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนต่อการตัดสินใจ ยกตัวอย่าง เช่นว่า จะใช้ HOSxP จะต้องเสียเงิน, หรือกลัวว่าใช้ไปแล้วจะมีปัญหาเพราะเป็นฟรีแวร์ใครจะมาพัฒนาให้ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารมีข้อมูล ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อ สถานการณ์ปัจจุบันของ software ระดับสถานีอนามัย และโรงพยาบาล ซึ่งเรื่องแบบนี้บางทีต้องลงลึกในรายละเอียดจุดอ่อน จุดแข็ง ทิศทางในอนาคต และประเด็นอื่นๆในหลายๆมิติเพื่อประกอบการตัดสินใจ ไม่ใช่การไปศึกษาดูงานเพียงแค่วันเดียวแล้วกลับมาตัิดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช่...บทเรียนในอดีตหลายๆครั้งเราพบว่าแค่นั้นผู้บริหารได้ข้อมูลที่ดีๆ และไม่ดี ยังมีไม่มากพอ..

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

นิมิตรหมายที่ดีในการพัฒนาระบบข้อมูลจังหวัดเลย

17 มกราคม 2554
วันนี้มีเรื่องดี ๆ ในระบบข้อมูลของจังหวัดเลย ที่มีการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขของจังหวัด ซึ่งประกอบผู้บริหารจาก รพ.เลย รพ.ชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หัวหน้างานที่สำคัญ ๆ ใน สสจ. รวมทั้งผู้แทนในการจัดทำข้อมูลจาก สสอ. รพ. และสอ. โดยมีท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยเป็นประธาน บรรยากาศเป็นไปด้วยดี มีแต่ความรู้สึกดี ๆ ที่ต้องการพัฒนาระบบ ICT ของจังหวัดเลยของเราให้เป็นไปในทิศเดียวกัน และเดินไปพร้อม ๆ กันทั้งในส่วนของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติอย่างมั่นคง
วันนี้มีผู้บริหารจากบริษัท TOT จังหวัดเลย มาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับระบบ ADSL Wi-Net แก่คณะกรรมการบริหารระบบฯ ทั้งนี้มี รพ.สต. ที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว 2 แห่ง คือ ท่าศาลา อ.ภูเรือ และบ้านยาง อ.ท่าลี่ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า รพ.สต.ท่าศาลา ทดสอบความเร็วแล้วได้มากกว่า 7 Mb ได้ยินแล้วชื่นใจจังค่ะ
เสียดายค่ะว่ามัวแต่ตื่นเต้นจึงไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศมาฝาก 'o'

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

HOSxP PCU ณ เชียงคาน

15 มกราคม 2554
ผมใช้เวลากว่าสองชั่วโมงสำหรับการเดินทางจากด่านซ้ายมาเชียงคาน จุดหมายในวันนี้คือ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงคาน ซึ่งผมมีนัดอบรม HOSxP PCU ให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ทั้งที่เคยอบรมกับทีมจังหวัดแล้วและกลุ่มที่ยังไม่เคยอบรม แม้จะเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ทุกคนควรจะได้พักผ่อนแต่ก็ยังสู้อุตส่าห์เสียสละเวลามาฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรม HOSxP PCU ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ และเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องดำเนินการ"เร่งด่วน" คำๆนี้โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบใจนักเพราะอะไรที่เร่งรีบ เร่งด่วนมักไม่ค่อยได้ดี แต่ด้วยเหตุที่ HOSxP PCU ถูกกำหนดให้ใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางเลือกให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยมากนัก..



พวกเราเริ่มต้นทบทวนเรียนรู้ HOSxP PCU กันอย่างง่ายๆ ตั้งแต่การใช้บัญชี1-8 และระบบงาน one stop service สลับกับการถามตอบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน มีเรื่องจุกจิกกวนใจอยู่บ้างสำหรับปัญหา Hardware และ software ของเครื่องที่ใช้ OS windows7 และ windows ที่มีการตัดต่อทำใหม่ ทำให้ต้องคอยแก้ปัญหากันเป็นระยะๆ.. ผมพบปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับฐานข้อมูลยาที่ยังไม่ได้อัพเดตให้ตรงกับฐานข้อมูลของ รพ.เชียงคาน และฐานข้อมูลวัคซีนที่ยังไม่ได้ปรับปรุงให้ตรงกับรหัสมาตรฐาน จึงใช้เวลาในช่วงตอนเย็นทำการปรับปรุงฐานของ รพ.เชียงคานให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำมาแก้ไขให้กับฐานของ รพ.สต.แต่ละแห่งต่อไป..

ผม ,เล็ก admin รพ.ผาขาว,เทค admin รพ.ภูหลวง และทีมงาน Admin ของ รพ.เชียงคาน มารวมตัวกันตอนค่ำๆ เพื่อตรวจสอบและแก้ไขตารางบางตัว รวมถึงตอบปัญหาบางอย่างให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล..จนเกือบห้าทุ่มถึงแยกย้ายกลับไปพักผ่อน โดยเล็ก เดินทางกลับผาขาว ,เทค นอนพักกับที่บ้านต๊อด ส่วนผมกลับมาพักที่โฮมสเตย์ซึ่งเป็นของน้องหลินที่ได้เอื้อเฟื้อเป็นพิเศษให้ผมไปพักที่นั่้น..

16 มกราคม 2554
เริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาหารเช้าข้าวต้มและไข่กระทะ ตบท้ายด้วยกาแฟร้อนๆ หอมกรุ่น บรรยากาศโฮมสเตย์ที่ผมพักตกแต่งได้สวยงาม สะอาดสะอ้านเป็นสัดส่วนดีครับ แม้จะแต่งในสไตล์บ้านๆ แต่ก็มีระบบบริการที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นระบบไฟในห้องพักที่ต้องใช้กุญแจเสียบ อินเตอร์เนตสำหรับให้บริการและบริการอาหารเช้า ถ้ามีโอกาสได้มาเชียงคานมาใช้บริการพักที่นี่ดูนะครับ ผมชอบตรงห้องน้ำที่ตกแต่งได้อย่างสวยงามและมีสไตล์ เป็นไอเดียเก๋ที่ไม่เหมือนใครดี..



วันนี้มีเรื่องการปรับตารางวัคซีน ตารางยา และการค้นหาข้อมูลรายงานพื้นฐานที่สามารถทำได้เอง ยังมีการบ้านที่ผมต้องกลับมาแก้ไขอีกสองสามรายการ คือ เรื่องเครื่องอ่านบ้ตรสมาร์ทการ์ด และข้อมูลวัคซีนที่ยังไม่แสดงที่หน้าจอของบัญชี 3 และรายงานที่ทาง รพ.เชียงคานต้องการ ..

การอบรมกลุ่มเล็กๆขนาดนี้ กำลัีงดีครับ ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป.. มีโอกาสได้ซักถามพูดคุยกันอย่างทั่วถึง..
งานนี้ต้องขอบคุณ เล็ก,เทค, โจ้ ,ต๋อง และน้องจากศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน และขอบคุณที่พักโฮมสเตย์ของน้องหลิน กับข้าวต้ม+ไข่กะทะอร่อยๆ ขอบคุณเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เชียงคานทุกแห่งที่เสียสละเวลามาเพื่อพัฒนางานร่วมกัน..

เรื่องการพัฒนาคน การจัดทำคู่ืมือการใช้และเรื่องรายงานยังเป็นการบ้านที่หนักหนาสาหัสที่ต้องเร่งทำด่วนครับ!!

สู่่ความเป้าหมายการทำงานด้วยความสุขและพลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากหมดพลังในการทำงานไปมากจากการทุ่มเทเวลาให้กับการทำ powerpoint ตรวจราชการ จัดทำข้อมูลบางส่วนสำหรับการตรวจราชการ และติดตามท่านผู้ตรวจลงพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย มีความรู้สึกว่า เหมือนจะหายใจหายคอไม่ทันเหนื่อยสุดใจ ก่อนที่การตรวจราชการจะผ่านไปในวันที่ 12 ม.ค.54
วันพุธที่ 13-อาทิตย์ที่16 ม.ค. 54 ก็ต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาภาวะผู้นำที่เน้นพลังกลุ่ม "งานพลังกลุ่มและความสุข" ที่โรงแรมเลยพาเลช เข้า class ในวันแรกวิทยากรถามว่าอยากเข้าอบรมหรือไม่ และคาดหวังว่าจะได้อะไรจากการอบรม อยากบอกวิทยากรและผู้จัดว่าเหนื่อยมากอยากพักจริง ๆ เพราะต้องอบรมในวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย และก็เป็นจริงอย่างที่คิดหลังจากอบรมผ่านไป 2 วัน ต้องนั่งพื้นตลอด เลยทำให้ร่างกายไม่ไหว อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และไข้ต่ำ ๆ เริ่มแสดงออกมาต้องกินยาลดอาการไข้และปวดหลังเอาไว้ แ่ต่ก็ดีใจที่อยู่ร่วมการอบรมตลอด เพราะมีความรู้สึกว่า ทุกคนทุ่มเทต่อการอบรมนี้มาก ความสุขและพลังในการทำงานใน สสจ. การประสานงานระหว่างฝ่ายคงดีขึ้น
วันจันทร์ที่ 17 นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลฯ จังหวัดเลย ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารทั้งของ สสจ. รพ.เลย รพ.ชุมชน สสอ. ตัวแทนนักวิชาการใน สสอ. รพ. และ สอ. มาช่วยกันคิดว่าระบบ ICT ด้านสาธารณสุข ของจังหวัดเลยจะเดินไปทางไหน และจะเดินไปแบบไหน.....แล้วจะมาเล่าต่อนะว่าผลการประชุมเป็นอย่างไรบ้าง
ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ใน รพ. และ รพ.สต. ทุกท่านมีพลังในการทำงานโดยเฉพาะการจัดทำข้อมูลที่ดี มีคุณภาพต่อไป

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

การเริ่มต้นนับหนึ่ง..รพ.ปากชม



วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการฝึกอบรมการใช้ HOSxP ของทีม Admin รพ.ปากชม ที่จริงจะเรียกว่าฝึกอบรมก็คงถูกเสียทีเดียวเพราะผมให้น้องๆฝึกใช้งานด้วยการลงบันทึกข้อมูลจริงๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ รพร.ด่านซ้าย เป็นพี่เลี้ยงฝึกสอนการใช้งาน

4 วันแรกของการฝึกเป็นการเรียนรู้โมดูลต่างๆครับ เรามีประชุมกันในตอนเช้าและตอนเย็นบางวันเพื่อสรุปเนื้อหา และซักซ้อมความเข้าใจ ก่อนลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งทีมที่มาทั้งหมดมี 7 คน มีทั้งนักวิชาการ พยาบาลวิชาชีพ เวชสถิติ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร และนักคอมพิวเตอร์ แต่ละวันของการฝึกจะมีการแบ่งคนให้ไปฝึกตามหน่วยงาน ในส่วนนักคอมพิวเตอร์จะฝึกการลง Linux ,MySQL กับ อาร์มที่ห้อง เพื่อให้สามารถติดตั้ง Server ได้ ซึ่งผมได้นัดที่จะทดสอบในวันสุดท้ายเพื่อประเมินผลการฝึกอบรม

เมื่อวานตอนเย็นผมจัดทริปสนุกๆ ด้วยการให้ทีมได้ขี่จักรยานเที่ยวรอบเมืองด่านซ้าย เป็นการเปิดการรับรู้ใหม่ๆให้น้องๆได้สัมผัสประสบการณ์จากการขี่จักรยานดูบ้าง ส่วนจะประทับใจหรือไม่นั้นผมก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆมื้อเย็นในวันนั้นเมนูของพวกเรา คือ หมูย่างร้านริมน้ำ ด้วยคงด้วยความเหนื่อยและหิว ข้าวผัด 1 จานใหญ่ๆและหมูย่าง 3 ชุึด..หมดเกลี้ยงไม่มีเหลือ

ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนวันทดสอบ "นก" นักคอมพิวเตอร์หญิงแกร่งของเรา ฝึกถึงขั้นการโอนฐานข้อมูลจาก Stat ไป HOSxP โดยโอน ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีใช้เวลา 1 คืน เพื่อเตรียมข้อมูลไว้ทดสอบ....

วันสุดท้าย ..ผมพาน้องๆ ตั้งวงแลนเล็กๆ โดยใช้เครื่องโน๊ตบุ๊คที่ลง Linux ไว้เรียบร้อยเป็น Server ชั่วคราว และเชื่อมต่อสัญญานผ่าน Wireless มีบททดสอบเล็กๆ เพื่อให้น้องนกได้ทดลองฝีมือ คือ ตั้งปัญหาให้ลองแก้ไขโดยการเซตค่าของ Access Point ให้ใช้แบบ Lock Mac address เป็นวงแลนและระบบความปลอดภัียเล็กๆเพื่อดูว่าน้องนกมีทักษะแค่ไหน และจะต้องฝึกอะไรเพิ่มอีกบ้าง..

สรุปว่าบททดสอบแรก ยังไม่ผ่านครับ..

เมื่อแก้ไขปัญหาสามารถเชื่อมสัญญาน wireless ได้แล้ว และสามารถใช้งานโปรแกรม HOSxP โดยใช้ฐานจาก Server มีปัญหาอีกว่าโปรแกรม HOSxP ของโน๊ตบุ๊ค เป็นเวอร์ชั่นที่ต่างกัน บททดสอบที่ 2 จึงให้นกได้ลองแก้ไขอัพเดตเวอร์ชั่นให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดทุกเครื่องโดยการโอนไฟล์ตัวปัจจุบันไปเก็บไว้ใน server และแก้ไขตาราง patch เพื่อให้สามารถอัพผ่าน server ได้โดยตรงตามที่ได้เรียนมา
บททดสอบนี้ก็ยังไม่ผ่านอีกครับ.. ผมจึงให้แก้ไขปัญหาด้วยการอัตเดตแบบ manual แทน..

หลังจากอัพเดตเวอร์ชั่นเรียบร้อย จึงให้ทุกคนใช้รหัส Admin เพื่อเข้าไปเซตรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านของตัวเอง บททดสอบนี้เล่นแรงนิดหน่อย เพื่อต้องการให้ทีมเห็นความสำคัญของการแบคอัพข้อมูลและการใช้สิทธิ Admin ที่เป็นดาบสองคม หลังจากที่น้องๆทุกคนเข้าไปตั้งรหัสของตัวเองเรียบร้อย จึงได้ทดลอง log out ออกจากโปรแกรม และ login เข้าไปใหม่ ซึ่งสามารถ Login ได้ไม่มีปัญหา แต่ก็มาติดตรงการ access เข้าบางเมนูไม่ได้จึงจำเป็นต้องเข้าไปเซตค่าใน system setting ใหม่ แต่ปรากฏว่าไม่มีใครตั้งรหัสตัวเองเป็นสิทธิ admin เลยแม้แต่คนเดียวทำให้ไม่สามารถแก้ไขอะไรใดๆ ได้อีกเลย และใช้รหัส admin ที่เคยใช้ครั้งแรกก็ไม่ได้
ผมจึงสอบถามว่าได้ backup ข้อมูลไว้หรือไม่จะได้ให้ดึงฐานสำรองมาใช้...คำตอบ คือ ไม่ได้สำรอง

โจทย์ข้อนี้ผมต้องการเล่นแรงๆ เพื่อให้ข้อมูลอุตส่าห์โอนเข้ามาตั้งแต่เมื่อคืนไม่สามารถใช้งานได้..
บทเรียนในข้อนี้ คือ การกำำหนดสิทธิ admin ไม่ควรจะมีหลายคน, ก่อนกำหนดสิทธิคนอื่นควรกำหนดสิทธิของ admin ให้เรียบร้อยก่อน และความสำคัญของการสำรองข้อมูล

สุดท้าย ผมจึงให้นำเข้าฐานข้อมูลเปล่าผ่านรหัส emergency ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่อุตสาห์โอนมาทั้งคืนเสียเวลาเปล่า..
บททดสอบนี้ก็..ยังไม่ผ่านครับ

หลังจากที่ติดตั้งฐานเปล่า และเข้าใจการตั้งค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เราใช้เวลาเกือบ 11 โมง กว่าจะเริ่มส่งตรวจผู้ป่วยรายแรกได้ ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ เพราะการลงทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย ใช้เวลาเกือบ 8 นาที และก็ยังไม่สามารถบันทึกได้เพราะโปรแกรมแจ้งเตือนปัญหาเรื่อง ตารางบางตัวไม่มี สาเหตุมาจากการที่ไม่อัพเดตโครงสร้างหลังจากนำเข้าฐานเปล่า..

หลังจากติดตั้ง และสามารถใช้งานได้แล้ว การทดลองส่งตรวจจึงเริ่มขึ้นจริงๆัจังๆ ช่วงบ่ายครับ ซึ่งแม้จะฝึกซ้อมมาอย่างดีแล้ว 4 วัน แต่นั่นเป็นการฝึกซ้อมบนเครื่องที่มีการเซตฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วจึงไม่มีปัญหาการใช้งาน แต่กับฐานข้อมูลที่เพิ่งติดตั้งใหม่ ไม่ง่ายเลยครับ มีปัญหา error มากมาย ทำเอาทีมน้องๆ ดูจะอ่อนอกอ่อนใจกับการที่จะนำ HOSxP ไปใช้พอสมควร

ก่อนกลับบ้านเรามีประชุมกลุ่มสรุปปิดท้ายกันเล็กๆน้อยๆ ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะต้องกลับไปทำต่อ..
คงต้องมาติดตามกันกับการเริ่มต้นนับหนึ่ง..ของทีม Admin รพ.ปากชมว่าจะเป็นอย่างไร ทีมจะต้องพบเจอปัญหา และอุปสรรคอะไรอีกบ้าง เขาและเธอเหล่านี้จะแก้ปัญหากันอย่างไร..

ช่วยกันติดตามและเป็นกำลังใจให้ทีม Admin รพ.ปากชมด้วยกันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

การ Update Version ของโปรแกรม HOSxP_PCU

เมื่อใช้งานโปรแกรม HOSxP_PCU และมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ท จะปรากฏหน้าจอ Confirm แจ้งข้อความ... ? Please confirm in stall PCU New version (3.54.x.xx)? ถ้าเราเลือกตอบ Yes เครื่องก็จะทำการ Update Version ใหม่ตามที่แจ้งทันที...การอัพเดทเวอร์ชั่นไปแล้ว ไม่สามารถอัพเดทเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าได้ (ฐานข้อมูลจะเสียหาย)
ในกรณีที่ใช้งานแบบ Server ปัญหาที่จะเกิดตามมา คือ เครื่องลูกข่าย ที่ยังไม่ได้ Update Version (เดียวกัน) จะใช้งานฐานข้อมูลไม่ได้ วิธีแก้คือต้องอัพเดทเวอร์ชั่นให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกันทุกเครื่อง
เนื่องจากโปรแกรมมีการเปลี่ยน Version บ่อยมาก ให้รอ...ทีมจังหวัด ตรวจสอบเวอร์ชั่นของโปรแกรม แก้ไข Bug ที่เกิดขึ้น แจ้งให้ใช้ต่อไป... Update version เป็น 3.54.1.5b (download ที่หน้าเว็บ สสจ.เลย)

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

งานใหญ่..

วันนี้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 10 เข้าตรวจเยี่ยม รพร.ด่านซ้าย และ รพ.สต. มีเรื่องที่ผมสนใจคือ "นักจัดการสุขภาพครอบครัว" หรือ "นักสร้างสุขภาพครอบครัว" โดยส่วนตัวผมชอบวิธีการคิดของท่านผู้ตรวจครับ เพราะส่วนหนึ่งงานสาธารณสุขในปัจจุบันเราไม่อาจรอตั้งรับแล้วภาคภูมิใจกับระบบการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น มีมาตรฐานขึ้นเพียงอย่างเดียว เรารักษาดีขึ้น คนไข้กลับเพิ่มมากขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ นี่มันใช่ระบบสุขภาพคนไทยที่เราฝันกันไว้หรือเปล่า..

บางทีการจัดการสุขภาพอาจจะเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ให้คนทำงานเชิงรุกได้มีเรื่องที่ท้าทาย การที่จะทำให้คนไม่ป่วยคนมีสุขภาพดีด้วยการเป็นนักจัดการนักสร้างสุขภาพ เป็นสิ่งที่คิดใหญ่ดีครับ..

ท่าน นพ.สสจ.เข้ามาทักทายและพูดคุยกับผมเป็นการส่วนตัวเรื่องการวางแผนช่วยเหลือการเปลี่ยนระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลเลยจาก HOMEC เป็น HOSxP นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใหญ่ ทีมเรามีประสบการณ์การเปลี่ยน software ของ รพ.สต.,รพ.ขนาด 30 เตียง,รพ.ขนาด 60 เตียง ,และ รพ.ขนาด 90 เตียง ล้วนแล้วแต่เคยทำมาแล้ว แต่ระดับ รพท. เป็นงานใหญ่ ยาก และท้าทาย..

บางทีความฝันของนักไต่เขาสูงๆ..คงไม่ใช่แค่การขึ้นไปปักธงแล้วประกาศก้องต่อคนทั้งโลกว่าข้า คือ ที่หนึ่ง..
หากแต่เป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อบอกเล่าให้คนรุ่นหลังที่จะตามมาว่า ก่อนจะออกเดินทาง ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ระหว่างทางจะทำอย่างไร จุดตรงนั้น ตรงนี้ มีอันตรายแค่ไหน ควรระมัดระวังอะไรบ้าง.. บทเรียนระหว่างทางเป็นเหมือนบันไดที่ได้สร้างไว้ให้นักไต่เขาคนต่อไปได้ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่เคยปีนขึ้นไปก่อนหน้า..อาจมีทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว

แต่ใครเล่าจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งว่า ยิ่งสูง..จะยิ่งหนาวแค่ไหน ถ้าไม่ลองปีนขึ้นไปสัมผัสดู

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

แรงบันดาลใจ..

ทุกครั้งๆที่ ผมมีโอกาสฟัง ผู้อำนวยการบรรยาย สิ่งที่ได้รับกลับมาเสมอ คือ พลัง และแรงบันดาลใจในการทำงาน.. การเป็นผู้นำที่ไม่ใช่แค่นำการบริหารจัดการ แต่การที่ต้องนำทางจิตวิญญานด้วยเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องทุ่มเทอย่างมากครับ วันนี้ที่ทีม รพ.ปากชมเข้าฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก การพบผู้นำสูงสุดขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่ถูกกำหนดในตารางการฝึกอบรม แม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆและเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานเพียงไม่กี่คน แต่ ผอ.ก็จะให้ความสำคัญในการเข้ามาพบปะพูดคุยและบรรยายด้วยตัวเองทุกครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ทีมเกิดพลังที่จะต้องกลับไปทำงานต่อ

ระบบไอที ระบบสารสนเทศ ความสำเร็จจะมองเห็นเป็นรูปธรรมก็ต่อเมื่อหน่วยงานต่างๆสามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างเต็มที่เหมือนกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่แค่ฉีกซอง เติมน้ำร้อนก็พร้อมเสริื์์ฟ หลายคนจับต้องได้แค่นั้น แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเบื้องหลังที่มาที่ไปของความสำเร็จจนผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกสบายง่ายดาย มีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องเฝ้าดูแลระบบ สำรองข้อมูล ตรวจสอบการจราจรในเครือข่าย ทำงานกันดึกๆ สู้กับปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ และปัญหาทั้งด้านเทคนิคต่างๆอีกมากมาย

บางครั้งในความยากลำบาก..ของคนที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง สิ่งที่ต้องการอย่างมากไม่แพ้กัน นั่นคือ แรงบันดาลใจ..

รพ.ปากชม ฝึกอบรมบุคลากรเตรียมความพร้อมก่อนใช้ HOSxP

ในระหว่างวันที่ 10-14 มกราคม 2554 เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปากชมจะมาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ HOSxP ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมความพร้อมบุคลากรก่อนขึ้นระบบ หลังจากที่บุคลากรกลุ่มนี้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับโมดูลต่างๆ ของ HOSxP แล้ว ในขั้นตอนต่อไปจะต้องกลับไปเตรียมความพร้อมด้าน Hardware ที่ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลปากชม และในขั้นตอนสุดท้าย คือ การซักซ้อมการใช้งานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและกำหนดวันขึ้นระบบเพื่อใช้งาน HOSxP

ปัจจุบันนี้มีโรงพยาบาลในจังหวัดเลยที่ใช้งาน HOSxP อย่างเป็นทางการแล้ว คือ
1.รพร.ด่านซ้าย
2.รพ.นาแห้ว
3.รพ.เอราวัณ
4.รพ.ภูกระดึง
5.รพ.นาด้วง
6.รพ.ภูหลวง
7.รพ.เชียงคาน
8.รพ.ภูเรือ
9.รพ.ผาขาว

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดบทเรียน ตอนที่ 4 การฝึกซ้อม..

ปัญหาการจิ้มดีด..เป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็สร้างปัญหาที่ทำให้ปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับองค์กรที่นำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ให้บริการคนไข้ไม่น้อยและเป็นปัญหาที่หลายๆ โรงพยาบาลอาจจะมองข้าม เพราะคิดว่าปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว บ้านไหนๆก็มีกัน..ใครที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นนอกจากถือว่าเชยแล้วบางทีประเมินสมรรถนะอาจจะไม่ฝ่านอีกต่างหาก
แต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นก็ไม่ได้หมายความว่าจะพิมพ์ได้คล่อง..เพราะส่วนใหญ่ถนัดใช้เมาส์คลิ๊ก..

เราเริ่มต้นกันง่ายๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำความคุ้นเคยกับการพิมพ์ บทเรียนง่ายๆ คือ การตั้ง log in เข้าใช้โปรแกรม HOSxP เป็นชื่อภาษาไทยของตัวผู้ใช้เอง และติดตั้งโปรแกรมเพื่อรับ-ส่งข้อความสั้นๆอย่าง IPMSG ที่สามารถส่งผ่านระบบแลนไปยังฝ่ายงานต่างๆ ได้ โปรแกรมเล็กแต่แจ๋ว ที่ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารขึ้นใหม่ เพราะสามารถส่งข้อความไปยังหน่วยงานอื่นได้พร้อมๆ กันหรือจะส่งเฉพาะบางหน่วยงานก็ได้ และถูกใช้งานมากขึ้นเนื่องจากสะดวกในการใช้แทนเสียงตามสาย การประชาสัมพันธ์ ตามหาเจ้าหน้าที่บางคน หรือขอความร่วมมือต่างๆ บางคนใช้เป็นพื้นที่ประกาศขายของไปด้วยก็มี..

พอใช้ส่งข้อความสั้นๆบ่อยๆ ทำให้ทักษะการพิมพ์จาก "จิ้มดีด" เป็นจิ้มสัมผัสได้มากขึ้นตามลำดับ..

ในระหว่างที่ผมกับอาร์มกำลัีงติดตั้งระบบเพื่อทดสอบ ทดลอง ตั้งแต่การเซตค่าข้อมูลพื้นฐานต่างๆ พบว่ามีเรื่องที่ต้องคิดหนักเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิบัตรทอง, ฐานข้อมูลระบบบัญชี,ฐานข้อมูลอาชีพ, การศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเอกสารอ้างอิงที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเซตค่าต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานได้ ซึ่งก่อนหน้านี้การตั้งค่าข้อมูลพื้นฐานในโปรแกรมเดิมนั้น แต่ละโรงพยาบาลก็มักจะตั้งเองตามใจชอบ โดยไม่ต้องอิงกับมาตรฐานอะไรมากนัก แต่ในช่วงหลัง สปสช. และ สนย.ได้กำหนดชุดข้อมูลมาตรฐานไม่ว่าจะเป็น 12 และ 18 แฟ้ม ขึ้นมาโรงพยาบาลที่ไม่ได้มีการตั้งค่าข้อมูลพื้ืนฐานให้ถูกต้อง จึงได้รับผลกระทบกันพอสมควรทีเดียว..

ทุกอย่างเหมือนจะดูดี..แต่ผมก็มีปัญหาที่น่าดีใจและหนักใจไม่น้อย..
ที่น่าดีใจ คือ ผมคิดว่าผมรู้และเข้าใจวิธีการทำงานของ HOSxP มากสุดๆ เหมือนการบรรลุอะไรซักอย่าง
แต่ปัญหาที่หนักอก คือ ผมจะอธิบายอย่างไรให้คนอื่นในทีมเข้าใจในสิ่งที่ผมและอาร์มรู้..

การที่องค์กรแพทย์ปฏิเสธจะใช้งานในช่วงแรกๆ และหยอดคำหวานไว้ว่าอีกสักพักจะใช้ให้ลองศึกษาก่อน ก็น่าดีใจที่อย่างน้อยก็ยังพอมีความหวัง แต่เอาเ้ข้าจริงๆแล้วนี่คืออนาคตที่ไม่ดีเท่าไหร่ เหตุผลที่ผมต้องบอกแบบนี้ เพราะว่าหลายโรงพยาบาลที่องค์กรแพทย์ไม่ยอมใช้ในช่วงแรกๆ เมื่อระบบเริ่มใช้งานผู้ดูแลระบบจะต้องออกแบบ FLOW ของการทำงานตามสถานการณ์ที่แพทย์ไม่ใช้ เช่น การการสั่งแลป สั่งเอ๊กเรย์ ลงนัด ลง Refer ก็ต้องมอบให้เป็นหน้าที่และภาระกับพยาบาลหรือบางทีก็อาจจะเพิ่มคน หรือจ้างคนมาช่วยลงข้อมูลให้เฉพาะ

ปัญหาคืออะไรเหรอครับ..ปัญหาก็ คือ พอใช้ไปสักพักระบบมันจะเริ่มลงตัวคนที่ใช้งานก็จะมีความชำนาญและทำงานคล่องตัวมากขึ้น สุดท้ายก็จะติดวิธีการที่ทำมาว่ามันก็ดีอยู่แล้วและก็อาจจะใช้วิธีนี้ไปอีกนานแสนนาน หากถ้าใครคิดจะไปเปลี่ยนก็มักจะเจอกระแสการต่อต้าน เพราะอย่างที่บอกแหละครับว่า คน..ไม่อยากเปลี่ยนแปลง

การผ่าตัดใหญ่ยังไงก็ต้องเป็นแผล ต้องเจ็บตัว..อยู่แล้ว
ผมจึงขอให้แพทย์ช่วยใช้ HOSxP ด้วยการคลิกเลือกชื่อคนไข้และสั่งพิมพ์ OPD Card ออกมาเพื่อเขียนข้อมูลการซักประวัติและสั่งยา เป็นการพบกันค่อนทางที่ดีครับ และเืพื่อให้มีปัญหาในการใช้งานจริงน้อยที่สุด การซักซ้อม การฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ในช่วงบ่ายสองถึงบ่ายสี่โมงเย็นหลังจากที่ว่างงานจากการให้บริการคนไข้ ทีมนำสารสนเทศของโรงพยาบาลจะมาร่วมกันทดลองฝึกซ้อมวิธีการใช้งานและลงบันทึกในโปรแกรม HOSxP ทดลองส่งตรวจจากเครื่องนี้ไปยังเครื่องนั้นและตามไปดูว่าข้อมูลมันถูกส่งไปจริงหรือไม่ ทดลองจำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อดูว่าถ้าให้บริการจริงๆเวลาคนไข้มากรณีแบบนี้ทำจะทำอย่างไร คนไข้มาตรวจรักษาแล้วต้อง refer ทำอย่างไร ,คนไข้ตรวจแล้วหมอสั่ง Admit ทำอย่างไร ฯลฯ ทดลองซ้อมกันอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์

ข้อดีของการฝึกซ้อมไม่เพียงแต่ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนมีความชำนาญในการลงบันทึกข้อมูลเ่ท่านั้น ยังทำให้ทีมของพวกเราได้พูดคุยแลกเปลี่ยน อธิบายวิธีการและเหตุผลในเนื้องานของตัวเอง บางเรื่องมองในมุมตัวเองเหมือนเส้นผมบังภูเขาแต่พอมีคนนอกมาช่วยดูให้มันมีหลายเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายดาย เมื่อได้ฟังกันมากขึ้นทำให้พวกเรามองเห็นภาพรวมของการบริการที่มีคนเข้ามารับบริการในแต่ละวัน เข้าใจการทำงานของหน่วยงานตนเองและการทำงานของหน่วยงานอื่น

ปัจจุบันการขึ้นระบบให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ มาตรการฝึกซ้อมลงข้อมูลใน HOSxP เป็นสิ่งจำเป็นที่ผมเน้นค่อนข้างมาก ยิ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ยิ่งมีความซับซ้อนในระบบมาก การฝึกซ้อมสามารถลดปัญหาการทำงาน และลดความเครียดของเจ้าหน้าที่ในวันที่โรงพยาบาลเปิดให้บริการโดยใช้โปรแกรม HOSxP ได้มากพอสมควร

ข้อคิดที่เราได้จากตรงจุดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลง Software ไม่ว่าจะเป็น HOSxP หรือโปรแกรมอื่นๆ การเตรียมความพร้อม ฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ "ทุกคน" ในทุึกหน่วยงานที่เกียวข้องที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลงบันทึกข้อมูลมีความสำคัญมากครับ และอยากบอกว่าไม่ว่าคุณจะใช้โปรแกรมอะไรหรือทำอะไรในการขับเคลื่อนองค์กร การเตรียมคนในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก..
มากขนาดไหนผมเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ให้ลองดูภาพของเด็กที่แข่งวิ่ง 31 ขาดูสิครับ..



การแข่งขันวิ่ง 31 ขา นักเรียนหนึ่งคนเป็นเหมือนตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ขาที่ผูกไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนความเชื่อมของของระบบข้อมูลขผ่านระบบแลน(LAN) นั่นเอง ...ถ้าเป็นการวิ่งแข่งทั่วๆไป ต่างคนต่างวิ่ง แน่นอนครับว่าคงไม่มีปัญหาอะไร หน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาลที่เคยต่างคนต่างทำงาน มีข้อมูล มีการทำรายงาน ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกันมันก็คงไม่มีปัญหา

แต่ปััจจุบันระบบข้อมูลข่าวสารที่มีปริมาณมากต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการเก็บและประมวลผลข้อมูล ซึ่งมันจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อข้อมูลมีความเชื่อมโยงกัน เหมือนกับการวิ่งแบบ 31 ขา

การวิ่งแบบนี้ไม่ฝึกซ้อม..คงจะวิ่งไปได้อย่างช้าๆ และล้มลุกคลุกคลานเจ็บตัวกันหลายครั้ง
ยิ่งถ้าบางคนในทีมไม่ยอมวิ่งอีกต่างหาก กลายเป็นภาระให้เพื่อนในทีมต้องใช้กำลังในการออกแรงลากคนที่ไม่ยอมวิ่ง กลายเป็นความทุกข์สำหรับเพื่อนร่วมงานไม่น้อย ..

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายเคยวิ่ง จนหกล้มลุกคลุกคลานกันมาหลายครั้ง เพราะซ้อมน้อย ไม่มีครู ไม่มีโค้ชมาสอนมาคอยแนะนำให้ ทำให้วิ่งกันไม่เป็น..แต่การเรียนรู้ผิด รู้ถูก ก็เป็นครูที่ดี

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา...
ทุกวันนี้เราเก็บเกี่ยวเทคนิคและบทเรียนมากมาย ที่หลายๆโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นลองผิด ลองถูกกันใหม่เพราะความผิดพลาดของคนที่ก้าวเดินไปก่อนหน้า มีไว้ให้ศึกษาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเดินย่ำซ้ำรอยผิดพลาดเดิมๆ

ก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน กับ HosXP_PCU

หลังจากที่ทีมงาน ICT ได้พูดคุยกันและนำเข้าหารือกับผู้บริหารอยู่หลายรอบ จึงได้ข้อสรุปว่าจังหวัดเลยของเราจะเปลี่ยนจาก HCIS มาใช้ HosXP_PCU ด้วยกันทั้งหมด และจังหวัดได้จัดอบรมเพื่อให้ความรู้กับผู้ดูแลระบบระดับอำเภอ และนักจัดการข้อมูลของทุกหน่วยบริการไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสที่ 1

จากนี้ต่อไปเราจะก้าวไปพร้อมกันเริ่มใช้งานจริง (ฟันธง) 1 มกราคม 2554 และส่งข้อมูล 18 แฟ้ม ผ่านโปรแกรม HosXP_PCU ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นไป (ตามหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ที่ ลย 0027.002.2/ว2387)

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดบทเรียน ตอนที่ 3 ฟันธง..

คนส่วนใหญ่มักจะกลัวการเปลี่ยนแปลง.. ผมเองก็เป็นคนส่วนใหญ่ที่จัดอยู่ในกลุ่มสมาคมคนขี้กลัว(การเปลี่ยนแปลง)เหมือนกัน

การเปลี่ยน Software ของโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องที่นึกอยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้ง่ายๆ ใครที่เข้าใจว่าแค่จ้างนักคอมพิวเตอร์มาทำงาน ประชุม พูดคุยกันนิดหน่อยๆ ก็พอแล้ว..ที่เหลือให้นักคอมพิวเตอร์เขาดูแลไป ผมไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิดนะครับ..แต่ครั้งหนึ่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย เคยเชิญฝ่ายพัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาลกรุงเทพ มาเป็นวิทยากรอบรมเรื่องการวางแผนยุทธศาสตร์ อาจารย์่ท่านนึงมาดูระบบไอทีของโรงพยาบาลแล้วใ่ห้ข้อคิดที่สำคัญประโยคหนึ่งว่า "คุณรู้ไหม๊..ระบบสารสนเทศ..สำคัญพอๆกับการเปลี่ยนผู้บริหารเลยทีเดียว.." นั่นคือ มุมมองของคนที่ทำงานโรงพยาบาลเอกชนครับ

การเปลี่ยนแปลงบุคลากรของห้องบัตรที่ต้องโยกย้าย เปลี่ยนงาน ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่อาจทำลายขวัญกำลังใจของคนในองค์กรโดยไม่รู้ตัว เพราะจากคนที่เคยมีงานทำเป็นประจำทุกวัน จนถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นบัตร แต่พอวันหนึ่งระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาแล้วเขาทำงานไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีพอ เป็นสาเหตุที่ต้องทำให้มีการย้ายฝ่าย เปลี่ยนงาน หัวอกของคนทำงานจะทุกข์แค่ไหนเป็นเรื่องที่ทีมบริหารต้องช่วยกันอธิบายต่อหัวหน้างานและบุคลากรในทุกระดับรวมถึงการมองหางานที่เหมาะสมให้เขาด้วย เรื่องแบบนี้..มองได้หลายมุมครับถ้าจะให้ถูกใจคนทำงานคุณภาพขององค์กรก็อาจจะแย่ ถ้าจะเน้นๆแต่เรื่ืองคุณภาพก็อาจจะกลายเป็นองค์กรมีคนทำงานแบบไร้ชีวิิตชีวา แต่ถ้าเราหาจุดยืนร่วมกันเอาคนไข้้เป็นศูนย์กลาง เราพบว่าองค์กรที่ทำระบบคุณภาพต้องดูแลเอาใจใส่พนักงานในหลายด้านและต้องปรับทัศนคติของคนในองค์กรเพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยกตัวอย่างงานในหลายๆตำแหน่งนะครับ เช่น ห้องบัตร เวรเปล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ พนักงานขับรถ ฯลฯ ซึ่งกรรมการบริหารหารต้องมองการทำงานในหน้าที่ของบุคลากรเหล่านี้ในระยะยาวด้วยว่าจะเอายังไง จะไปทางไหนต่อ เพราะถ้าเราปล่อยไปเรื่อยๆ คนเหล่านี้อายุมากขึ้น ทำงานซ้ำๆ เดิมๆ ไม่มีการพัฒนาสุดท้ายก็กลายเป็นพนักงานที่ทำงานเชื่องช้า เต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายต่องานที่ทำ ไม่รวมถึงสังขารที่อายุมากขึ้น บางคนอ้วนมากขึ้น มีโรคประจำตัวล้วนเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงานและความปลอดภัยของคนไข้ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีการตัดสินใจผ่องถ่ายเจ้าหน้าที่ห้องบัตรที่อายุงานมากๆเปลี่ยนไปทำงานในตำแหน่งงานอื่น และต้องคิดให้มากเกี่ยวกับการวางยุทธศาสตร์ด้านบุคลากร

ผ่านจากห้องบัตรมาที่จุดคัดกรอง ถ้าเราลองเดินตามคนไข้ เมื่อพยาบาลเรียกไปซักประวัติ พยาบาลจะสอบถามอาการเจ็บป่วย อาจจะมีผู้ช่วยเหลือคนไข้ช่วยวัดไข้ วัดความดันโลหิตหรือบางครั้งพยาบาลก็อาจจะทำเอง และบันทึกข้อมูลลง OPD CARD หรือใบสั่งยาก็แล้วแต่ว่าระบบของโรงพยาบาลทำมาแบบไหน แต่เดิมที่โรงพยาบาลใช้การพิมพ์ใบสั่งยาออกมาก่อนและให้พยาบาลเขียนประวัติการเจ็บป่วยลงใน OPD CARD ตรงพื้นที่ว่างๆ ที่ถูกประทับวันที่มาเรียบร้อยแล้วจากห้องบัตร พอเปลี่ยนมาใช้ HOSxP แต่แพทย์ยังไม่พร้อมที่จะใช้ งานเข้า..สิครับ เพราะถ้าแพทย์ไม่ดูข้อมูลการซักประวัติในคอมพิวเตอร์ยืนยันจะดูจาก OPD CARD ซึ่งก็หมายความพยาบาลข้อมูลที่พยาบาลคีย์เข้าระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีความหมาย ต้องเขียนประวัติลงใน OPD CARD เหมือนเดิมและถ้าพยาบาลต้องเขียนและต้องคีย์เข้าคอมพิวเตอร์ คุณคิดว่าเขาจะยอมทำให้ไหม๊ล่ะครับ..

ผมนั่งเฝ้าสังเกตพยาบาลที่จุดคัดกรอง ว่ามีงานหรือต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง โดยสรุปมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ครับ
1.ซักประวัติ วัดสัญญานชีพ บันทึกลง OPD CARD
2.เขียนใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
3.เขียนใบส่งต่อ ลงสมุด Refer เพื่อออกเลขที่ส่งต่อ(ถ้ามี)
4.ออกใบนัด ลงสมุดนัด แนะนำการปฏิบัติตัว
5.ทำหัตถการ(บางรายการ)ที่ OPD
6.งานคลิินิกพิเศษ เบาหวาน ความดัน ฯลฯ

ซึ่งระบบงานเอกสารเดิมเป็นการเขียนทั้งหมด แน่นอนครับว่าความยุ่งเหยิงต่างๆมันรวมกันอยู่แถวนี้แหละ เพราะคนไข้มีทั้งขาเข้าและขาออก บางคนออกจากห้องแพทย์ไปห้องแลป ไปเอ๊กเรย์ แล้วก็ต้องกลับมาอีกครั้ง วกไปวนมา พยาบาลตรงจุดนี้จึงทำหน้าที่เหมือนจราจรเป่าปิ๊ดๆ ให้คนนี้เข้า คนนี้ออก พูดคุยอธิบายกับคนไข้ บางทีต้องเข้าไปช่วยแพทย์ทำหัตถการ และหลายครั้งเป็นกระโถนรองรับอารมณ์คนไข้และหมอ หรือบางโรงพยาบาลมีพี่พยาบาลอาวุโส(มากๆ)มาประจำอยู่ที่ OPD (ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากขึ้น เวรเช้า บ่าย ดึก) บางที่คนไข้ก็เยอะ พยาบาลก็น้อย.. คิดดูสิครับแล้วถ้าเรายังไปยัดเยียดระบบคอมพิวเตอร์โดยที่ไมได้เ้ข้าไปวิเคราะห์และหาทางออกที่เหมาะสมให้กับเขา..จะเกิดอะไรขึ้น

นางฟ้าในชุดขาวของเรา..ก็วีนแตกเท่านั้นเอง!

ก่อนจะใช้ HOSxP ต้องตกลงกันให้ดีๆครับว่าจะเอายังไงระหว่างแพทย์และพยาบาล ถ้าแพทย์ไม่ยอมใช้งาน workload ของงานบันทึกข้อมูลหลายๆอย่างจะไปกองอยู่ที่พยาบาล ถึงคุณจะไปหว่านล้อมด้วยแม่น้ำทั้งห้า..ว่ามันมีผลต่อข้อมูล 12-18 แฟ้มอะไรยังไงก็ตามที เธอก็คงไม่สนหรอกครับเพราะไหนจะเหนื่อยกับงานบริการแล้วยังต้องมาทำงานซ้ำซ้อนทั้งเขียน ทั้งคีย์ลงคอมพิวเตอร์ นี่มันเอาความทุกข์ไปให้กันชัดๆ หรือบางโรงพยาบาลโชคดีหน่อยครับ ที่พยาบาล OPD ใจสู้ แต่ก็มีที่ใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญกันได้พยาบาล OPD ยอมทำให้อย่างจำนน แต่ก็ทำแบบจ่ม ก่น ด่า..กระแทกแดกดัน วันไหนคอมพิวเตอร์ใช้แล้วแฮงค์ ค้าง ทำให้เหล่าบรรดานางฟ้าของเราพากันหงุดหงิดอารมณ์เสียบ่อยๆ แล้วใครเล่าครับที่จะรับผลกรรมตรงนี้ถ้าไม่ใช่บรรดานักคอมพิวเตอร์

องค์กรแพทย์จะใช้หรือไม่ใช้ิสำคัญต่อการวางระบบงานอื่นๆเที่เชื่อมโยงกันครับ หลายๆโรงพยาบาลมีเหตุผลและความจำเป็นที่องค์กรแพทย์ปฏิเสธที่จะไม่ใช้เพราะเหตุผลที่ว่าแพทย์น้อย แต่ส่วนตัวผมมองว่าเกิดจากการปิดใจไม่อยากรับรู้มากกว่า เพราะถ้าเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรม HOSxP จะสามารถช่วยแพทย์ทำงานได้มากพอสมควรเช่น การดูประวัติเก่า การ Remed หรือใช้สูตรยา และยังมีผลต่อระบบงานของหน่วยงานอื่นอีกด้วย เพียงแค่ลองเปิดใจและทดลองใช้ ลองศึกษาเรียนรู้สักเล็กน้อย จะมีแพทย์น้อยหรือมากมันยังมีทางออกช่วยกันได้ครับ แต่ไม่ควรใช้เป็นเหตุผลที่จะปฏิเสธตั้งแต่ยังไม่ทันเรียนรู้ ยังไม่ทันเห็นว่า HOSxP ทำอะไรได้บ้างก็ตั้งธงแล้วว่าจะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ท่าเดียว

โจทย์ในครั้งแรกที่ติดตั้งระบบ HOSxP ของโรงพยาบาลผมก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน
องค์กรแพทย์ขอเวลายังไม่พร้อมใช้ใน แล้วจะจัดการอย่างไรกับปัญหานี้ดี..

ถ้าแพทย์ไม่ใช้ .....
พยาบาลก็จะไม่คีย์เพราะถ้าต้องเขียนลง OPD CARD และ้ต้องคีย์ลง HOSxP เธอก็ขอบาย..เหมือนกัน ทำไมฉันจะต้องมาทำงานหนักอยู่คนเดียวด้วย!

สุดท้ายเราขอพบกันครึ่งทางครับ โดยการเิริ่มต้นครั้งแรกขอให้แพทย์ใช้คอมคลิกเรียกชื่อผู้ป่วยจาก HOSxP และกดบันทึกเพื่อพิมพ์ OPD CARD ออกมาดูประวัติที่พยาบาลบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ และแพทย์เขียนการตรวจร่างกาย สั่งยาลงใน OPD CARD ด้วยลายมือแทน ยังไม่ต้องลงในคอม แค่คลิกเพื่อพิมพ์--และเขียนเหมือนเดิมเท่านี้ก็ทำให้พยาบาลยอมซักประวัติโดยการคีย์ลองคอมพิวเตอร์ผ่านไปด้วย เป็นยกสยามยกแรกที่ใช้ได้และวิธีนี้ผมยังใช้กับแพทย์ที่มาบรรจุใหม่ด้วยเช่นกันครับ

โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกๆ เรากำหนดหน้าที่กันดังนี้ครับ
-ห้องบัตรส่งตรวจ ค้น OPD CARD ส่งมาให้ที่พยาบาลคัดกรอง
-พยาบาลคัดกรอง บันทึกข้อมูลลงใน HOSxP เมนูการคัดกรอง และส่งเข้าห้องตรวจ
-แพทย์เลือกคนไข้ บันทึกเพื่อพิมพ์ OPD CARD และเขียนการตรวจร่างกาย ยา แลป เอ๊กเรย์ ฯลฯ
-พยาบาลสั่ง แลป เอ๊กเรย์ ลงรายการนัด ลงการ Refer

เมื่อตกลงกันได้ดูเหมือนปัญหาจะจบลงได้ด้วยดีนะครับ..
แต่ก็มีปัญหาที่ทำให้ผมเข็มขัดสั้น เพราะคาดไม่ถึงนั่นคือ พยาบาลคีย์ับันทึกข้อมูลด้วยการ "จิ้มดีด"

โอ..แม่เจ้า ถ้าคุณจิ้มดีดไม่คล่องคุณจะรู้ว่ามันทรมานแค่ไหนกับการหาตัวอักษรบนแป้นพิมพ์

พรุ่งนี้มาติดตามกันต่อครับว่า..เราแก้ปัญหานี้กันอย่างไร

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ถอดบทเรียน ตอนที่ 2 เปลี่ยนวิธีคิด..

"จงออกจากพันธนาการของความเคยชิน หลบเลี่ยงจากกับดักทางความคิด หลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้เราหลงจาก ความถูกต้อง แล้วคุณจะพบสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นจริง" : ข้อคิดดีๆ จากไอสไตน์

เรื่องที่เรารู้ และเราทำด้วยความเคยชิน มันทำให้เรามักจะคิดว่าคนอื่นก็น่าจะรู้เหมือนเราด้วย..
หลายปีที่ผมทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นงานประจำที่ทำด้วยความเคยชินจนเรื่องที่คนอื่นดูเหมือนว่ายาก..เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ง่ายๆ ซึ่งเราเองไม่คิดว่ามันเป็นความสามารถพิเศษอะไรแต่สำหรับคนที่ไม่คุ้ยเคย หรือไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนัก มันเป็นอุปสรรคสำคัญของการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์กรไม่น้อยเลยทีเดียว..

ผมมีความสงสัยเกี่ยวกับระบบงานของแต่ละหน่วยงานอย่างมาก หลังจากที่ศึกษาโมดูลต่างๆของ HOSxP และเข้าใจวิธีการทำงานในแต่ละโมดูลซึ่งดูแล้วไม่ยาก แต่ทำไมเวลานำไปให้ผู้ปฏิบัติใช้จึงมักมีปัญหาต่างๆมากมาย จนเป็นประเด็นให้ถกเถียงผิดใจกันบ่อยๆว่าเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานแล้วทำให้การทำงานยุ่งยากมากกว่าเดิม..

ก่อนขึ้นระบบ HOSxP ผมจึงขอเข้าไปสังเกตการทำงานของแต่ละหน่วยงาน ว่ามีวิธีการทำงานกันอย่างไร มีเอกสาร รายงาน ความต้องการอะไรที่เกี่ยวข้องบ้างไม่ว่าจะเป็นห้องบัตร พยาบาลหน้าห้องตรวจ ที่ห้องตรวจของแพทย์ ห้องแลป เอ๊กเรย์ ห้องยา ห้องการเงิน หอผู้ป่วยใน ฯลฯ..เดินตามคนไข้เพื่อไปดูในแต่ละระบบ แล้วก็ได้ค้นพบว่า..โอ้โห ระบบของโรงพยาบาลเรานี่มันวกไปวนมา ทำงานซ้ำๆกันหลายๆอย่าง เป็นความเคยชินที่คนทำงานอาจจะไม่รู้ตัว จุดเชื่อมโยงที่สำคัญที่พบคือ แต่ละหน่วยงานไม่ได้รับรู้ว่าหน่วยงานอื่นทำงานอย่างไร มีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง การส่งต่อข้อมูลในลักษณะใดที่สามารถเชื่อมโยงกันและนำมาใช้ด้วยกันได้.. เมื่อไม่รู้ต่างฝ่ายต่างก็พยายามกอดข้อมูลงาน เพื่อทำรายงาน หรือเก็บเป็นผลงานของตัวเอง..เพราะไม่มั่นใจว่าคอมพิวเตอร์มันจะช่วยได้ทั้งหมด

ผมใช้เวลากับหน่วยงานต่างๆ จนพอที่จะเข้าใจความเชื่อมโยงของข้อมูลที่ต้องใช้ร่วมกัน และมีหลายประเด็นที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนโปรแกรมดีๆ อย่าง HOSxP แทนที่มันจะมาช่วยในการทำงานกลับต้องกลายมาเป็นภาระที่เพิ่มมากขึ้น และเรื่องแบบนี้ไปคุยกับระดับหัวหน้างาน ฝันไปเถอะครับว่าเขาจะเปลี่ยนกันง่ายๆ เพราะความเคยชินที่เขาทำกันมานาน..จนเรียกว่าอยู่ตัวแล้ว มันดีอยู่แล้ว..จู่ๆ เราเป็นใครจะไปรู้ระบบงานอะไรดีกว่าเขาที่ทำงานอยู่ประจำทุกวันได้อย่างไร และโดยเฉพาะการเปลี่ยน FLOW การทำงานที่ OPD ซึ่งเป็นจุดที่วุ่นวายที่สุดในโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องง่ายเลย.. เรื่องแบบนี้มันต้องตัดสินใจในระดับผู้อำนวยการหรือกรรมการบริหารครับ..ของแบบนี้ต้องมีการ "ฟันธง"

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายใช้วิธีการฟันธง..ในหลายๆครั้งเพื่อการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งแน่นอนครับว่าต้องมีการรับฟังข้อดี ข้อเสีย ความคิดเห็นจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องและข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง..ว่าจะต้องทำอย่างไร และมีอะไรที่ดีกว่าเดิมบ้าง..

ผมยกตัวอย่างที่ห้องบัตร..
ก่อนหน้าที่จะปรับมาใช้ HOSxP ที่ OPD ของโรงพยาบาลผมมีวิธีการทำงานแบบนี้ครับ.. หลังจากคนไข้รับบัตรคิวเีรียบร้อยแล้วก็จะไปรอพยาบาลเรียกมาคัดกรองโดยเขาจัดอัตรากำลังสำหรับคัดกรองไว้ 3 คน โดยมีทั้งพยาบาลที่ OPD และพยาบาลจากหน่วยงานอื่นที่มาช่วย ดังนั้นพยาบาลนอกจากจะทำหน้าที่ซักประวัติของพยาบาลแล้วยังต้องทำหน้าที่ของห้องบัตรเกี่ยวกับการสอบถามข้อมูลประวัติส่วนตัว ดูเรื่องสิทธิต่างๆไปด้วย ก่อนที่เขียนข้อมูลในใบซักประวัติส่งต่อไปให้ห้องบัตรเพื่อค้น OPD CARD เหตุผลที่ทางพยาบาลได้พูดคุยกับผมก็เพราะเป็นมาตรฐานของการพยาบาลที่คนไข้ควรได้เจอกับพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อประเมิน ซักประวัติอาการเจ็บป่วย เพราะว่าก่อนหน้านี้ระบบของโรงพยาบาลเคยจัดระบบให้คนไข้มาเจอเจ้าหน้าที่ห้องบัตรก่อน และต้องเสียเวลาในการทำบัตร ค้นบัตรนานมาก กว่าข้อมูลจะมาถึงพยาบาลซักประวัติอาจจะทำให้ผู้ป่วยบางคนอาการเจ็บป่วยกำเริบที่ OPD เพราะว่ารอนานเกินไป.. ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญเสียด้วยสิครับ

ที่นี้เมื่อพยาบาลมาทำหน้าที่ซักประวัติทั่วไป และประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ และส่งต่อข้อมูลที่ห้องบัตร เกิดปัญหาตามมาสิครับ เพราะพยาบาลที่มาช่วยซักประวัติผู้ป่วยมีทั้งพยาบาลประจำของ OPD และพยาบาลที่หมุนเวียนมาจากหน่วยงานอื่น การซักประวัติสอบถาม การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น จึงไม่ค่อยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน..และคิดว่าไม่ใช่งานหลักของฉัน จึงเกิดปัญหาข้อมูลเวชระเบียนไม่สมบูรณ์ตามมา เช่น คนไข้ที่ไม่มีบัตรประำจำตัวมาด้วย เวลาถูกถามว่าเคยมาโรงพยาบาลไหม๊ ถ้าคนไข้ไม่ได้มานานๆจำไม่ได้ หรือเป็นคนแก่ คำตอบมาตรฐานคือ "ไม่เคยมา" หรือบางครั้งเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุลก็ไม่ได้บอก พยาบาลก็จะเขียนประวัติส่งไปให้เจ้าหน้าที่ห้องบัตรนำไปค้น ทีนี้เมื่อค้นประวัติเก่าไม่เจอ หรือพยาบาลเขียนบอกมาว่าไม่เคยมาโรงพยาบาล คุณคิดว่าเจ้าหน้าที่ห้องบัตรจะทำอย่างไรละครับ.. เขาก็ออก HN ใหม่ให้ทันที..ดังนั้นจึงฐานข้อมูลของโรงพยาบาลมีข้อมูลซ้ำซ้อน และผู้ป่วยคนๆเดียวกันแต่มี 2-3 HN จึงมีำจำนวนมาก..

ประเด็นที่ผมต้องการเปลี่ยนในตอนนั้น คือ คนไข้ต้องเจอกับผู้ป่วยก่อนเพราะจะได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การเปลี่ยนแปลงประวัติ การเก็บรูปถ่าย สิทธิการรักษาพยาบาล ฯลฯ แน่นอนครับ พอจะเปลี่ยนให้คนไข้พบกับเจ้าหน้าที่ห้องบัตรก่อนทำให้มีเสียงคัดค้านว่าคนไข้จะต้องรอนานเหมือนเดิม ซึ่งในทางการพยาบาลก็คงไม่ยอม...เอาสิครับ ทางวิชาชีพเขาก็มีเหตุผล แล้วผมจะทำอย่างไรดี
คือ ถ้าเรายังติดกับภาพลักษณ์เดิมที่เจ้าหน้าที่ห้องบัตรของโรงพยาบาลซึ่งเป็น สว.ทั้งหลายมานั่งทำงาน แน่นอนครับว่าคนรุ่นสี่สิบอัพจะมานั่งซักประวัติ คีย์ข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ 5 นาที/คน ได้เร็วขนาดนี้ผมว่าก็คงบุญแล้ว..ไปๆมาๆ คอมพิวเตอร์จะกลายเป็นภาระให้คนทำงานต้องทุกข์มากกว่าเดิมอีกต่างหาก และที่ผมสังเกตทั้งที่โรงพยาบาลผมเอง หรือโรงพยาบาลที่อื่นเจ้าหน้าที่ห้องบัตรมักจะเป็นหน่วยงานระดับ สว. (คนงานอายุมากๆ)มาทำงาน อาจจะคิดว่าแค่งานค้น OPD CARD ประทับตราวันที่ เจาะรู เอาบัตรเข้าแฟ้ม ฯลฯ จะใช้ทักษะอะไรมากมายกันเชียว..จะว่าอย่างนั้นก็ถูกส่วนหนึ่งครับ แต่ในระบบข้อมูลปัจจุบันที่ต้องตรวจสอบและให้ความสำคัญของข้อมูลผู้ป่วยอย่างมากห้องบัตรจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ นี่จึงเป็นเหตุผลที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายตัดสินใจเปลี่ยนตัวผู้เล่น..เอ๊ย เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ห้องบัตรเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เสียส่วนใหญ่


ดังนั้นจึงต้องมีการสาธิตให้ทีมได้เห็นว่าเด็กรุ่นใหม่ๆมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีมาก พิมพ์เร็วคล่องแคล่ว ว่องไว ใช้เวลาในการทำบัตรไม่นาน และเพื่อให้ทางพยาบาลได้สบายใจว่า ยังสามารถรักษามาตรฐานได้ตามวิชาชีพของตนเอง จึงเสนอให้มีการจัดพยาบาลมาประจำตรงจุดรับบัตรคิวเพื่อคัดกรองเบื้องต้นก่อนว่า คนนี้อาการไม่หนักไม่เร่งด่วน รอพบแพทย์ที่ OPD คนนี้มีอาการหนัีกส่งไป ER ก่อน คนนี้คอขาดแล้ว..ส่งไปวัด ได้เลย ฯลฯ และก็เฝ้าระวังด้วยข้อมูลการรายงานความเสีี่ยงว่ามีคนไข้ที่มีอาการทรุดที่ OPD มากน้่อยบ่อย แค่ไหน ด้วยสาเหตุอะไร..

กว่าจะฝ่าด่านอรหันต์ที่ห้องบัตรได้ ไม่ง่ายเลยนะครับเพราะก้าวล่วงไปถึงขั้นเปลี่ยนคน เพิ่มคนกันเลยทีเดียว..ใครที่เคยบอกว่าเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วจะลดคนลง.. มันไม่จริงเสมอไปหรอกครับ

ปัญหาที่ตามมาคือ แล้วคนงานเก่าๆจะเอาไปทำงานที่ไหน? ผมลืมคิดไปเลย พรุ่งนี้มาอ่านต่อครับว่าเราจัดการกับ สว.ทั้งหลาย กันอย่างไร