วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ

   การวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ใช้รหัสที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S  และการบาดเจ็บที่หลายส่วนของร่างกาย หรือที่ไม่ระบุรายละเอียด รวมทั้งการเป็นพิษและผลสืบเนื่องของสาเหตุภายนอก ใช้รหัสที่ขึ้นต้นด้วยอักษร T

   การวินิจฉัยโรคที่อยู่ในหมวด S และ T  จะมีเฉพาะการวินิจฉัยโรคหลัก PRINCIPLE DX   อย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีสาเหตุมาประกอบด้วยเป็น  OTHER (อื่นๆ)  ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)
เช่น  รถจักยานยนต์ล้มมีแผลถลอกที่เข่า
        1. การวินิจฉัยโรคหลัก แผลถลอกที่เข่า  คือ S80   Superficial injury of lower leg
             --> PRINCIPLE DX (การวินิจฉัยโรคหลัก)  ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 1)
        2. สาเหตุประกอบ เกิดจากรถจักยานยนต์ล้ม คือ V28   ผู้ใช้รถจักรยานยนต์บาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งโดยไม่มีการชน      --> OTHER (อื่นๆ)  ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)

เทคนิคการจำรหัสโรคในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บตามร่างกายแบบง่าย ๆ เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ
   S0  =  การบาดเจ็บที่ศีรษะ ตา หู จมูก ปาก ฟัน
   S1  =  การบาดเจ็บที่คอ
   S2  =  การบาดเจ็บที่ทรวงอก หลังส่วนบน กระดูกสันหลังส่วนบน
   S3  =  การบาดเจ็บที่ท้อง หลังส่วนล่าง กระดูกสันหลังส่วนเอว กระดูกเชิงกราน อวัยวะสืบพันธุ์
   S4  =  การบาดเจ็บที่ไหล่ ต้นแขน ไหปลาร้า
   S5  =  การบาดเจ็บที่ข้อศอกถึงปลายแขน
   S6  =  การบาดเจ็บของข้อมือ มือลงมาถึงนิ้วมือ
   S7  =  การบาดเจ็บที่สะโพกถึงต้นขา
   S8  =  การบาดเจ็บที่หัวเข่าถึงปลายขา
   S9  =  การบาดเจ็บที่ข้อเท้าลงมาถึงเท้า นิ้วเท้า

ต้องนำมาจับคู่กันกับลักษณะอาการบาดเจ็บซึ่งมี 4 ชนิด คือ
   0 = ถลอก
   1 = เปิด
   2 = หัก
   3 = เคลื่อน

การบาดเจ็บชั้นผิว  รวม : การถลอก ตุ่มพอง(ที่ไม่เกิดจากความร้อน) รอยฟกช้ำ, รวมจ้ำและก้อนเลือด การบาดเจ็บจากสิ่งแปลกปลอมที่ผิว(เสี้ยน) โดยไม่มีแผลเปิด แมลงกัด(ไม่มีพิษ)

แผลเปิด  รวม : สัตว์กัด รอยบาดหรือรอยกรีด แผลฉีกขาด แผลเจาะ(NOS , มีสิ่งแปลกปลอม(ทิ่มแทง))

ยกตัวอย่าง เช่น
  แผลถลอกที่ข้อศอก  --> ข้อศอก = S5  ถลอก = 0  การวินิจฉัยโรคหลัก แผลถลอกที่ข้อศอก คือ S50
  แผลเปิดที่ศีรษะ  --> ศีรษะ = S0  แผลเปิด = 1   การวินิจฉัยโรคหลัก แผลเปิดที่ศีรษะ คือ S01

สรุปการวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ประกอบด้วย
   1. การวินิจฉัยโรคหลัก --> อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ + ลักษณะอาการบาดเจ็บ
                                  --> PRINCIPLE DX (การวินิจฉัยโรคหลัก)  ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 1)
   2. สาเหตุประกอบ       --> อะไรเป็นสาเหตุของการป่วย
                                 --> OTHER (อื่นๆ)  ชนิดการวินิจฉัย(Diag Type = 4)

สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วย
   V01-X59  อุบัติเหตุ
   V01-V99  อุบัติเหตุการขนส่ง
                V01-V09  คนเดินเท้าบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
 V10-V19  ผู้ใช้รถถีบบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
 V20-V29  ผู้ใช้รถจักรยานยนต์บาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
                V30-V39  ผู้ใช้รถสามล้อเครื่องบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
                V40-V49  ผู้ใช้รถยนต์บาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
 V50-V59  ผู้ใช้รถบรรทุกเล็กหรือรถตู้บาดเจ็บ ในอุบัติเหตุการขนส่ง
                V60-V69  ผู้ใช้รถบรรทุกหนักบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
 V70-V79  ผู้ใช้รถโดยสารบาดเจ็บในอุบัติเหตุการขนส่ง
 V80-V89  อุบัติเหตุการขนส่งทางบกอื่น
 V90-V94  อุบัติเหตุการขนส่งทางน้ำ
 V95-V97  อุบัติเหตุการขนส่งทางอากาศและอวกาศ
 V98-V99  อุบัติเหตุการขนส่งอื่นและที่ไม่ระบุรายละเอียด
   W00-X59  สาเหตุภายนอกอื่นของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
 W00-W19  การตกหรือล้ม
 W20-W49  การสัมผัสแรงเชิงกลของสิ่งไม่มีชีวิต
 W50-W64  การสัมผัสแรงเชิงกลของสิ่งมีชีวิต
 W65-W74  การจมน้ำตายและจมน้ำจากอุบัติเหตุ
 W75-W84  อุบัติเหตุอื่นที่คุกคามการหายใจ
 W85-W99  การสัมผัสกระแสไฟฟ้า รังสี อุณหภูมิและความดันสุดขั้ว
 X00-X09  การสัมผัสควัน ไฟ และเปลวไฟ
 X10-X19  การสัมผัสความร้อนและวัตถุร้อน
 X20-X29  การสัมผัสสัตว์และพืชที่มีพิษ
 X30-X39  การสัมผัสแรงธรรมชาติ
 X40-X49  การเป็นพิษโดยอุบัติเหตุจากการสัมผัสสารพิษ
 X50-X57  การออกกำลังมากเกิน การเดินทาง และการขาดแคลน
 X58-X59  การสัมผัสโดยอุบัติเหตุกับปัจจัยอื่น และที่ไม่ระบุรายละเอียด

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ICD10 การตรวจมะเร็งปากมดลูก


ผมได้รับแจ้งจากคุณสยาม  ดวงศรี  admin อำเภอผาขาว  แจ้งว่า ICD10  การตรวจมะเร็งปากมดลูก  น่าจะใช้      Z124   Special screening examination for neoplasm of cervix

จากที่ก่อนหน้านี้  ผมเคยบอกให้ใช้   Z13  การตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับโรคและภาวะผิดปกติอื่น

หรือ  Z014  Gynaecological examination (general)(routine)  ตรวจหลังคลอด

ผมจึงขอแก้ไข  ให้ใช้  Z124  Special screening examination for neoplasm of cervix

ขอบคุณสยาม ที่แจ้งมาครับ...

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก

การบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก มี 4  ขั้นตอนครับ...

โดยใช้โปรแกรม HOSxP_PCU  บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลการรับบริการ  และการสั่ง Lab (ตอนที่ 1-2)
    ตอนที่ 1  บันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก  ที่เมนูระบบงานเชิงรับ  ---> One stop service
    ตอนที่ 2  บันทึกบริการ ห้อง Lab  ที่เมนูระบบงานเชิงรับ  ---> รายงานผล Lab
    ตอนที่ 3  ใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  บันทึกรายละเอียด การทำ Pap smear  และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0
    ตอนที่ 4  ใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  Export ข้อมูล  ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยอ่านเซลล์ (รพ.เลย) และส่งให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.cxscreening.net)
 
เริ่มกันเลย นะครับ... เปิดโปรแกรม HOSxP_PCU  บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการรับบริการและการสั่ง Lab (ตอนที่ 1-2)

ตอนที่ 1  บันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก  ที่เมนูระบบงานเชิงรับ  ---> One stop service              มีขั้นตอน ดังนี้

     1) เปิดเมนูระบบงานเชิงรับ  --->  One stop service
         ค้นหาผู้รับบริการ  เมื่อเลือกผู้รับบริการได้แล้ว --->  คลิกปุ่ม ส่งตรวจ
     2) ลงข้อมูล มารับบริการวันที่, เวลา, สิทธิการรักษา (ตรวจสิทธิด้วย เป็นข้อมูลสำคัญในการจ่ายเงิน), การซักประวัติ น้ำหนัก ส่วนสูง วัดสัญญาณชีพต่างๆ, ผู้ตรวจรักษา และสถานะปัจจุบัน



    3) คลิกปุ่ม วางแผนครอบครัว  จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลการให้บริการบัญชี 6
        ที่แทบ Service  คลิกปุ่ม บันทึกการรับบริการ  ---> บริการที่ใช้ เลือก ตรวจมะเร็งปากมดลูก
                             ---> คลิกปุ่ม บันทึก


     4) จะปรากฏหน้าจอ บันทึกการให้บริการ
         ให้คลิกที่แทบ วินิจฉัย/ตรวจรักษา   ---> ที่ ICD10  ใส่  Z124


     5) คลิกที่แทบ หัตถการ    
         ให้เลือกเจ้าหน้าที่, เลือกหัตถการ (การตรวจภายใน)   ---> คลิกปุ่ม บันทึก


     6) จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลการให้บริการบัญชี 6



         ให้คลิกที่แทบ การตรวจมะเร็งปากมดลูก
         คลิก เลือกวันที่, ประเภทการตรวจ, สถานที่ตรวจ ส่วนผลการตรวจ (ยังไม่ต้องลงผล)
         คลิกปุ่ม บันทึก


     7) จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยทั่วไป One stop service



         ให้คลิกที่แทบ ลงผล Lab
         ชื่อ Lab  เลือก PCU PAP SMEAR
         คลิกปุ่ม  สั่ง Lab


      8) จะปรากฏหน้าจอเพิ่มรายการสั่ง Lab



          คลิกเลือก   /  PAP smear
          Clinic  เลือก  ตรวจโรคทั่วไป
          คลิกปุ่ม  บันทึก


      9) คลิกแทบ  การนัดหมาย
          คลิก เลือกวันนัดถัดไป, เวลานัด, คลินิก (ตรวจโรคทั่วไป),  ประเภทการนัดหมาย (ฟังผลการรักษา), หมายเหตุ (pap smear)



          คลิกแทบ  สรุปค่าใช้จ่าย
          คลิกปุ่ม  บันทึก    ---> คลิกปุ่ม  Yes
          คลิกปุ่ม  ปิด



ตอนที่ 2  บันทึกบริการ ห้อง Lab  ที่เมนูระบบงานเชิงรับ  ---> รายงานผล Lab   มีขั้นตอน ดังนี้

     1. เปิดเมนูระบบงานเชิงรับ  --->  รายงานผล Lab
     2. จะปรากฏหน้าจอการบันทึกบริการ ห้อง Lab



             (1) ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการ
             (2) ให้ Drop Down เลือก สถานะรายการ  (ยังไม่ลงรับ)
             (3) จะปรากฏรายชื่อผู้รับบริการ  ให้คลิกเลือก บุคคลที่ต้องการ (เรียงตามสไลด์ที่ป้าย) ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะจะมีผลกับลำดับที่ในใบนำส่งสไลด์ตรวจ Pap Smear (พิมพ์ในขั้นตอนต่อไป)
             (4) คลิกปุ่ม รับใบ Lab    (เพื่อให้มี เลขที่รับ, LIS NO.  และ เวลารับ)
             (5) คลิกปุ่ม  ปิด



     ในตอนต่อไป... ผมจะนำเสนอวิธีการใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29       บันทึกรายละเอียดการทำ Pap smear  และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  ครับ


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วารสาร BMS ฉบับพิเศษ การส่งออกข้อมูล 21 แฟ้มมาตรฐานปี 2555


เชิญโหลดวารสาร (ฉบับพิเศษ) การส่งออกข้อมูล 21 แฟ้มมาตรฐาน ปี 2555 ของบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด (BMS)

ดาวน์โหลดวารสาร     คลิกที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555