วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สอนการใช้ HOSxP online รุ่นที่ 2 วันที่ 3


::จุดคัดกรอง::

วันนี้มีการประชุมสอนการใช้ HOSxP online ครั้งที่ 3 มี รพ.เข้าสมาชิกร่วมประชุมพร้อมกันอย่างคึกคักเช่นเคยครับ เนื่องจากเป็นครั้งที่ 3 แล้ว Admin หลายๆ ท่านเริ่มเข้าใจวิธีการเซตระบบของภาพและเสียงได้ดีขึ้น ทำให้วันนี้การนำเสนอภาพผ่านทาง join.me และ เสียงผ่าน Team talk ทำได้ค่อนข้างลื่นไหลไม่ติดขัด.. เสียงโต้ตอบกันระหว่างประชุมก็สามารถสนทนากันและได้ชัดเจน..

เนื้อหาการประชุมในวันนี้เป็นเรื่องระบบคัดกรองผู้ป่วยของพยาบาล OPD ครับ ซี่งโดยภาพรวมมีรายละเอียดที่ผมได้เน้นในจุดที่เป็นเื้นื้อหาสำคัญๆ ดังนี้ครับ
  • การอ่านสัญลักษณ์ต่างๆในหน้าจอซักประวัติ
  • การลงข้อมูลคัดกรอง ความหมายของตัวย่อต่างๆ
CC : Cheif complaint
HPI : History of present illness
PMH : Past medical history
FH : Family history
SH : Social history
ROS : Review of system

  • การเก็บผู้ป่วยไว้รอส่งตรวจ
  • การส่งเข้าห้องแพทย์และการบริหารห้องตรวจ
  • การสั่ง Lab, X-ray และการดูผล
  • การลงข้อมูลและแก้ไขการนัด
  • การลงรับและส่ง Refer
  • การใช้ UE
หลังจากที่ห้องบัตรส่งข้อมูลมาจุดซักประวัติ พยาบาลจุดคัดกรองจะเป็นผู้ที่คัดกรอง ลงบันทึกข้อมูลและตัิดสินใจในรายละเอียดต่างๆในการส่งผู้ป่วยไปรับบริการจุดอื่นๆ โดยจะมีกิจกรรมที่คล้ายๆกัน คือ
  • การซักประวัติการเจ็บป่วย
  • การตรวจร่างกาย เช่น นน. ส่วนสูง T R BP BW H ฯลฯ
  • ตรวจคัดกรองอื่นๆ เช่น การวัดสายตา
  • การทำหัตถการ
  • การออกใบรับรองแพทย์
  • การออกใบนัด/แนะนำการปฏิบัติตัว
  • การออกใบส่งตัว
  • การ Admit
  • การจัดบริการคลินิกพิเศษอื่นๆ
ซึ่งถ้าจะว่ากันในรายละเอียดแต่ละตัว เฉพาะโมดูลของจุดคัดกรองผมคิดว่าคงจะต้องว่ากันอีกไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง เพราะเนื้อหาที่ผมยังไม่พูดถึงยังมีอีกมาก..
ครั้งต่อไปยังคงเป็นเนื้อหาของระบบคัดกรองผู้ป่วยอยู่เช่นเดิมครับ โดยจะเริ่มในวันจันทร์ที่ 30 พ.ค.54 เวลา 15.00 น. เช่นเคยครับ



วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สอนการใช้ HOSxP online รุ่นที่ 2 วันที่ 2

::งานเวชระเบียน::

วันนี้เป็นการเรียนการสอน HOSxP Online วันที่ 2 สำหรับ รพ.ภูหลวง,รพ.จิตเวชเลย,รพ.ภูผาม่าน ที่กำลังเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นระบบ เนื้อหาของหลักสูตรยังคงเป็นเรื่องระบบงานเวชระเบียนที่ต่อเนื่องจากวันที่ 1 โดยสรุปทั้งสองวัน เฉพาะระบบงานเวชระเบียนใช้เวลาประมาณ 3 ชม.

งานเวชระเบียนเป็นงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยตรง เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ารับบริการ และก็มักเป็นจุดบริการที่หลายโรงพยาบาลมีปัญหา โดยเฉพาะคุณภาพของงานเวชระเบียนซึ่งทุกแห่งพบปัญหาเหมือนๆกันคือความซ้ำซ้อน, ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ฯลฯ

วันนี้การเซตความพร้อมของห้องประชุมทำได้ดีครับ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเสียงที่วันแรกมีปัญหาเสียงรบกวนและไม่ชัดเจน บางแห่งเสียงดังหรือเสียงค่อยเกินไป แต่วันนี้ทุกแห่งเซตระบบได้ดีครับ สำหรับการเตรียมคนเข้าประชุม ต้องชมทีม รพ.น้ำหนาวครับ ที่ดูจะเตรียมความพร้อมของห้องประชุม(ดูจากภาพ) และคนเข้าประชุมได้ดีครับ เพราะหัวใจของการใช้ระบบไอทีที่สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ยิ่งมีการกระตุ้นให้มีคนเข้าร่วมมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้มีกระแสการตื่นตัวขององค์กรในการเตรียมความพร้อมที่จะเปลี่ยนมาใช้ HOSxP มากขึ้นเท่านั้น..

HOSxP ช่วงปี 53-54 มีการพัฒนาที่เร็วมากและมีฟังก์ชั่นการทำงานใหม่ๆ ทุกครั้งที่มีการเตรียมการสอนผมเองก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ไปด้วย ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์ที่ได้สำหรับตัวผมเองโดยตรง

ในการเรียนครั้งต่อไปจะจัดในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2554 โดยมีหัวข้อคือ ระบบงาน OPD ครับ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สอนการใช้ HOSxP online รุ่นที่ 2 วันที่ 1

::งานเวชระเบียน::

วันนี้มีการสอน HOSxP Online รุ่นที่ 2 ครับ โดยสอนผ่านโปรแกรม Team talk และ join.me เป็นวิธีที่เคยใช้กับโรงพยาบาลแวงใหญ่ จังหวัดขอนแ่ก่น ซึ่งถือว่าเป็นโรงพยาบาลนำร่องรุ่นแรกที่สอนโดยวิธีนี้ ครั้งนี้มีโรงพยาบาลที่ต้องการขึ้นระบบ HOSxP 3-4 แห่งครับ ได้แก่ รพ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์, รพ.จิตเวชเลยฯ จ.เลย ,รพ.แวงน้อย จ.ขอนแ่ก่น และ รพ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น..

สำหรับการเตรียมความพร้อมในการประชุมของแต่ละ รพ. ยังคงมีปัญหาในเรื่องของเทคนิคอยู่บ้างครับ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพของสัญญานเสียงที่มีความไม่ชัดเจน และการเซตโปรแกรม team talk ไม่ถูกต้องทำให้เกิดปัญหาเสียงรบกวนต้องเสียเวลาในการแก้ไขพอสมควร แต่ก็อย่างที่เคยบอกครับว่า ทุกอย่างเป็นเรื่องการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก..ซึ่งบางครั้งต้องอดทนกับปัญหาอุปสรรค์ต่างๆที่เกิดขึ้นและพยายามหาทางแก้ไขกันไป เพราะจริงๆแล้วเราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ทุกวันนี้มีคู่มือ มีเพื่อนคอยให้คำปรึกษาเรียกได้ว่างานนี้ไม่มีโดดเดี่ยวเดียวดายครับ..

รพ.ที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้มีทั้ง สมาชิกเก่าและใหม่ ตามความสมัครใจของแต่ละท่าน เพราะความรู้ต่างๆมันเรียนทันกันได้ครับ ขึ้นอยู่สนใจใฝ่รู้ และความขยันของแต่ละคน โรงพยาบาลที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้มี รพ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ,รพ.แวงใหญ่,รพ.ภูผาม่าน จ.ขอนแ่ก่น ,รพ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ,รพ.ป่าบอน จ.พัทลุง, รพ,ภูหลวง,รพ.จิตเวชเลยฯ ,รพ.เอราวัณ จ.เลย รวมทั้งหมด 8-9 แห่ง และต้องขอขอบคุณ น้องโต ทีมไอที สสจ.เลยที่ช่วยบริหารจัดการห้องประชุมสำหรับโรงพยาบาลที่มีปัญหาการใช้งาน team talk..

เนื้อหาการประชุมในวันนี้ ได้พูดคุยถึงเรื่องการเข้าใช้งานโปรแกรม HOSxP เบื้องต้น และโมดูลการใช้งานของห้องบัตร ซึ่งค่อนข้างจะพูดละเอียดกว่าทุกครั้งครับ อาจจะเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งพูดมาบ่อยแล้วทำให้มีรายละเอียดสามารถเก็บมาพูดคุยได้มากขึ้น และเกรงว่าเสียงกับภาพอาจจะไม่สัมพันธ์กันทำให้ต้องพยายามพูดให้ช้าลง..

ประเด็นในเรื่องของสิทธิ,การส่งตรวจ,ประเภทผู้ป่วย,และหัตถการเป็นคำถามที่ถูกเปิดประเด็นขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ายังไม่เข้าใจภาพรวมของ HOSxP ทำให้อาจจะยังมองไม่ออกว่า แล้วมันจะไปยังไงต่อ เป็นการบ้านที่ต้องเก็บเอามาพูดคุยต่อในวันพรุ่งนี้

- ผู้ป่วยนัดมารับบริการตามนัด และมาตรงนัด
- ผู้ป่วยนัดมารับบริการตามนัด แต่มาก่อนนัด
- ผู้ป่วยนัดมารับบริการตามนัด แต่มาหลังนัด

- ส่งตรวจโดยรับ Refer จาก หน่วยงานอื่น
- ผู้ป่วยมาตรวจมากกว่า 1 ครั้งใน 1 วัน (Revisit)
- ผู้ป่วยมาตรวจโรคและมารับบริการอื่นๆ

- การตรวจสอบข้อมูลการนัด,การแก้ไขข้อมูลนัด และการส่งตรวจล่วงหน้า
- การลงยืมแฟ้มเวชระเบียน
- การใช้ OPD Tools

- รายงานของเวชระเบียน

ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ รพ.แห่งที่ยังเซต team talk ไม่เรียบร้อยอยากให้ อ่านจาก คู่มือการใช้ Teamtalk นี่ก่อนและลองเซตค่าต่างๆให้เหมาะสมนะครับ ต้องขอขอบคุณ อุ้ม จาก รพ.แวงใหญ่ด้วยที่ทำคู่มือไว้ค่อนข้างดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ในส่วนของเรื่องผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหน้าที่ของแต่ละทีมนะครับที่ต้องบริหารจัดการกันเอาเอง ถ้าจะบอกว่าติดโน้น ติดนี่ มีธุระไม่ว่างทุกแห่งก็คงมีเหมือนกันหมดแหละครับ ขึ้นอยู่กับการจัดสรรเวลา จัดสรรคน และความตระหนักของบุคลากรในแต่ละโรงพยาบาลเอง ถ้าดูจากการเรียนการสอนในวันแรกคงจะเห็นแล้วว่า เฉพาะเนื้อหาของห้องบัตรยังใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง และยังไม่ได้ถึงครึ่งของเนื้อหาที่ต้องใช้ทั้งหมด

การนำ HOSxP ไปใช้ในโรงพยาบาล หัวใจความสำเร็จอยู่ที่คนใช้ครับ ถ้าคนใช้ได้รู้ เข้าใจ การใช้งานมากที่สุดเท่าไหร่ Admin ก็จะเหนื่อยน้อย..และโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์อย่างมาก ถ้าหากมีคนเข้ารว่มประชุมน้อย ภาระส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่ที่ admin เอง...ที่ต้องไปปากเปียกปากแฉะในภายหลัง ซึ่ง Admin หลายท่่านก็ไม่รับประกันว่าจะจำไปบอกต่อได้มากน้อยแค่ไหน

HOSxP เป็นฟรีแวร์ที่ดีและฟรีครับ ด้วยความดีและฟรีทำให้เป็นที่มาของการเอื้อเฟื้อ แบ่งปันกัน..และอยากให้ทุกท่านได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมันด้วย ผมเองก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำงานเช่นเดียวกับทุกท่าน เวลาที่แบ่งมาสอนเป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นเวลาที่ผมต้องเสียไป...

ดังนั้น..อย่าให้เวลาของพวกเราทุกคนผ่านไปอย่างไรประโยชน์ครับ

ไม่มีอะไรในโลกนี้ได้มาฟรีๆ แม้แต่ HOSxP เพราะถึงจะ"ฟรีแวร์"แต่ต้อง"ลงทุน เรียนรู้ และลงมือทำ" ด้วยครับ




วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อยู่ที่วิธีคิด..

วันก่อนโชคดีที่จองตั๋วรถได้กลับไปเยี่ยมบ้านแม่ พอขึ้นรถกลับเห็นมีหญิงคนหนึ่งนั่งบนที่นั่งเรา สามีสะกิดให้ฉันนั่งข้างตัวเธอ แต่ไม่ยักทวงคืนที่นั่งจากหญิงนั้น ฉันสังเกต เห็นขาขวาของเธอไม่สมประกอบ จึงเข้าใจเหตุผลที่สามีไม่ทวงคืนที่นั่ง..

สามียืนตั้งแต่ต้นทางอำเภอเจียอี้จนกระทั่งถึงกรุงไทเป โดยไม่เอ่ยปากทวงคืนที่นั่งจากหญิง เมื่อถึงปลายทางลงจากรถแล้ว ฉันถามสามีด้วยความห่วงใยในความเมื่อยล้า “เอื้อเฟื้อที่นั่งก็ถือว่าใจบุญสุนทานอยู่จริง แต่จากเจียอี้ถึงไทเประยะทางยาวนานเช่นนี้ ก็น่าจะขอให้เธอลุกขึ้นยืนสับเปลี่ยนให้คุณนั่งบ้าง”

สามีกลับตอบว่า “คนเขาต้องทนความยากลำบากตลอดชีวิต เราแค่ไม่สะดวกสบายเพียง 3 ชั่วโมงเอง” ฉันรู้สึกซาบซึ้งใจเมื่อได้ยินสามีพูดเช่นนี้ มีผัวคนดี ใจเมตตาชอบปิดทองหลังพระแบบนี้ ทำให้ฉันรู้สึกว่าโลกนี้อบอุ่นขึ้นน่าอยู่เป็นนักหนา

เมื่อปรับเปลี่ยนจิตใจ โลกก็จะเปลี่ยนไปด้วย เรื่องทุกอย่างในชีวิตคนเราย่อมปรับทิศทางได้ ขึ้นอยู่กับเราคิดอย่างไร ปรับอย่างไร

เราอาจไม่ประสบความสำเร็จภายใน 3 ชั่วโมง แต่ชีวิตเราอาจเปลี่ยนได้โดยใช้เวลาเพียง 1 นาที

การบันทึกข้อมูลโรคเรื้อรัง(ประจำตัว) ในโปรแกรม HOSxP_PCU

โรคเรื้อรัง ตามนิยามที่กระทรวงสาธารณสุขใช้มี 2 นิยาม คือโรคเรื้อรัง คือ ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ไม่ติดต่อหรือภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ส่วนใหญ่จะไม่มีสาเหตุที่แน่นอน มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง มีระยะเวลาฟักตัวของโรครวมถึงระยะเวลาของการดำเนินโรคที่ยาวนาน ไม่ติดต่อโดยทางสัมผัส สามารถทำให้เกิดความพิการหรือการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย และรักษาไม่หายโรคเรื้อรัง คือ ภาวะที่มีความผิดปกติหรือเบี่ยงเบนไปจากปกติของร่างกาย เป็นภาวะที่เป็นอย่างถาวร ทำให้เกิดความพิการ เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะนี้ต้องการการกายภาพบำบัดหรือการปรับตัวสำหรับภาวะนี้ นอกจากนั้นยังต้องการรักษาติดตามดูแลในระยะยาว รวมทั้งโรคประจำตัวที่สามารถรักษาหายได้ แต่ถ้ารักษาติดต่อกันนานเกิน 3 เดือนแล้วยังไม่หาย ยังต้องรักษาต่อไป ให้ถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง

รหัสโรคเรื้อรัง ตาม สนย. แบ่งเป็น 16 กลุ่มโรค ดังนี้1 Hypertensive ความดันโลหิตสูง I10-I15
2 Asthma โรคหอบหืด J45
3 Ischaemic heart หัวใจขาดเลือด I20-I25
4 Neoplasms มะเร็ง C00-D48
5 Anaemias โลหิตจาง D50-D64
6 Mood disorders โรคซึมเศร้า F30-F39
7 Cerebrovascular โรคหลอดเลือดสมอง I60-I69
8 Paralytic อัมพฤกษ์ อัมพาต G80-G83
9 Renal failure ไตวาย N17-N19
10 Diabetes mellitus เบาหวาน E10-E14
11 Chronic bronchitis หลอดลมอักเสบเรื้อรัง J42
12 Emphysema ถุงลมปอดโป่งพอง J43
13 Diseases of heart โรคหัวใจ I05-I09,I26-I28,I30-I52

14 Alcohol พิษสุราเรื้อรัง F10.0,F10.2
15 Chronic obstructive pulmonary โรคทางเดินหายใจอุดกั่นเรื้องรัง J44
16 Tuberculosis วัณโรค A15-A19


วิธีการบันทึกข้อมูลโรคเรื้อรัง
1. ไปที่เมนู ระบบบัญชี 1-8 --> ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ) 2. คลิกที่ชื่อหมู่บ้าน --> คลิกที่บ้านเลขที่
3. ดับเบิ้ลคลิก ที่ชื่อบุคคลที่ต้องการบันทึกข้อมูลโรคเรื้อรัง
4. ที่แทบ โรคประจำตัว -- > คลิกที่ Click here to add a new













1) ในกรณีที่โรคประจำตัวนั้น มีในรายการกลุ่มโรคเรื้อรัง ข้อ 2. เลือกกลุ่มโรค

ให้เลือกกลุ่มโรค และให้ใส่ ICD10 ( ข้อ 4. ) ตามรหัสโรคนั้น ๆ เช่น

มะเร็งเต้านม ข้อ 2. เลือก มะเร็ง ข้อ 4. ใส่ C50 (มะเร็ง C00-D48)

มะเร็งตับ ข้อ 2. เลือก มะเร็ง ข้อ 4. ใส่ C20

ธาลัสซีเมีย ข้อ 2. เลือก โลหิตจาง ข้อ 4. ใส่ D56 (โลหิตจาง D50-D64)

2) ในกรณีที่โรคประจำตัวนั้น ไม่มีในรายการกลุ่มโรคเรื้อรัง ข้อ 2. เลือกกลุ่มโรค
ไม่ต้องเลือกกลุ่มโรค แต่ต้องใส่ ICD10 ( ข้อ 4. ) ตามรหัสโรคนั้น ๆ เช่น
ตับแข็ง ข้อ 2. ไม่เลือก (ว่างไว้) ข้อ 4. ใส่ K741
ภูมิคุ้มกันบกพร่องจากไวรัส HIV ข้อ 2. ไม่เลือก (ว่างไว้) ข้อ 4. ใส่ B20 (B20.0-B24)
เกาต์ (Gout) ข้อ 2. ไม่เลือก (ว่างไว้) ข้อ 4. ใส่ M10


หาก นสค. ท่านใดมีปัญหาในการใช้งานโปรแกรม
กรุณาติดต่องานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี-สารสนเทศสสจ.เลย
042-812745 ต่อ 105 หรือฝากคำถามไว้ที่เวปบอร์ด สสจ.เลย

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแก้ไขตารางใน HOSxP_PCU เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลโรคประจำตัว

เนื่องจากการบันทึกข้อมูลโรคประจำตัว ในโปรแกรม HOSxP_PCU ในเวอร์ชั่น 3.54.5.3 ยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลโรคประจำตัวที่ต้องการให้ออกรายงานเมื่อกดปุ่ม Ncdกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือปุ่ม Special Group ในโปรแกรม DS_HOSxP ซึ่ง สสจ.เลย ได้แก้ไขตาราง clinic.cds โดยใช้รหัสโรคเรื้อรังตาม สนย. ( 16 กลุ่มโรค) และรหัสโรคเรื้อรังของ สปสช. ( 6 กลุ่มโรค) ก่อนใช้งานจะต้องมีการปรับค่าของตาราง clinic.cds ได้ส่งไฟล์และคู่มือขั้นตอนวิธีการแก้ไขเข้ากล่องหนังสือของ สสอ. ทุกแห่งแล้ว ให้ รพ.สต. ทุกแห่งติดต่อกับ Admin อำเภอ ครับ

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

You'll never walk alone



หลายต่อหลายครั้งที่ผมเชื่อว่า..การเป็น ITMAN ไม่ต่างอะไรกับคนปิดทองก้นพระ เพราะไหนจะต้องยกองค์พระที่หนักแสนหนักขึ้นเพื่อปิดทอง แถมงานนี้ยังไม่ค่อยมีใครเห็น(ใจ)อีกต่างหาก..ถึงเห็นก็แกล้งทำเป็นไม่เห็น(ฮา)

ปัญหาการทำงานที่ถาโถมความคาดหวัง..และคาดคั้นต่อ ITMAN อาจทำให้หลายคนต้องน้ำตาตกในบ่อยๆ..

เหนื่อยก็ยอมรับว่าเหนื่อยเถิดครับ ท้อก็ยอมรับว่าท้อ..ไม่ต้องไม่ฝืนความรู้สึกใด
จงซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกและหัวใจของตัวเอง..
เหนื่อย ท้อ นั่นเป็นเพราะเราทำงานครับ และงานมันหนักมันถึงเหนื่อย..ถึงท้อ
พักสักหน่อยเดี๋ยวมันก็หายเหนื่อย

หายเหนื่อยแล้วลุกก้าวเดินต่อไป..เพราะอย่างไรคุณก็ไม่ได้เดินตามลำพังคนเดียว..

แด่..ITMAN ทุกคนด้วยหัวใจ

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฤา..ต้องที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์..

ที่โรงพยาบาลมีการประชุมอบรมบุคลากรประจำปี 100% รุ่นที่ 1 และวันพรุ่งนี้จะเป็นรุ่นที่ 2 ครับ ในแต่ละปีโรงพยาบาลจะมีการจัดประชุมแบบนี้สัก 1-2 ครั้งตามความจำเป็น วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งเพื่อเป็นการพบปะบุคลากรและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารและกรรมการทีมประสานอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องสารสนเทศของโรงพยาบาล..

มีเรื่องยุ่งยากใจให้คิดหลายเรื่องทีเดียวครับ ก่อนหน้านี้น้องๆแอดมินจากโรงพยาบาลอื่น โทรมาปรึกษาเนื่องจากได้รับหนังสือแจ้งเรื่องการติดตามลิขสิทธิซอฟท์แวร์ แม้จะเหมือนเขียนเสือให้วัวกลัว ..หลายๆคนบอกว่า ขู่มายังงี้ไม่รู้กี่ทีแล้ว ไม่เห็นเอาจริงเข้าสักที แต่ในส่วนลึกในใจก็หวั่นๆเหมือนกันนะครับ เพราะรู้ทั้งรู้ว่าทำผิดละเมิดลิขสิทธิเขาเต็มๆ พอมานั่งดูข้อมูลการเข้าใช้อินเตอร์เนตของคนในองค์กร น่าเสียดายนะครับที่เราเสียเวลาไปกับเวปบันเทิงทั้งหลายอย่างมากมาย ทั้งๆที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็นความรู้ที่หาได้มากมายในอินเตอร์เนต บางคนอาจจะบอกว่าทำงานก็เครียดพอแล้วจะเอาอะไรมากมายของอะไรๆที่เพื่อความบันเทิงผ่อนคลายบ้างสิ และยังมีเรื่องของ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี2554 ที่เหมือนมีดจ่อคอแอดมินทั้งหลายให้หวาดเสียวเล่นๆ..

วันนี้จึงเป็นที่มาที่ไปที่กรรมการสารสนเทศจะประกาศนโยบายที่ชัดเจน ที่จะผลักดันองค์กรไปสู่ Free software ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นการก้าวถอยหลัง แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งขององค์กรที่ต้องก้าวไปสู่ความไม่คุ้นชินใหม่ โดยเริ่มแรกจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนชุดโปรแแกรม Microsoft office เป็น open office และเปลี่ยนโปรแแกรมอื่นๆ ที่มีลิขสิทธิ์เป็นฟรีซอทฟ์แวร์ที่มีสมรรถนะใกล้เคียงกันแทน..

มีเรื่องที่ให้ถกเถียงกันว่า จะเป็นไปได้หรือขณะที่คนส่วนใหญ่กำลังใช้ Microsoft office แต่นี่เรากำลังจะพาองค์กรไปยังเส้นทางที่ยากลำบากและก็โดดเดี่ยวอย่างมาก.. ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร บ้างก็ว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนไปทำไม ที่ไหนๆเขาก็ใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์เหมือนๆกัน..นั่นแหละ ฯลฯ

วินทร์ เลียววาริณ กล่าวไว้ว่า " มีแต่โลกด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์เท่านั้นที่เปิดโอกาสให้เรามองเห็นประกายระยิบระยับของมวลดารา .."

รพร.ด่านซ้าย ไม่ใช่องค์กรแปลกแยก ไม่ใช่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพียงแต่อยากแก้ไขในสิ่งที่ผิดให้มันถูกต้องเสียที..
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แม้จะเป็นการหันหลังให้ดวงอาทิตย์อีกครั้ง แต่ถ้าหากโลกยังหมุนต่อไป ผมเชื่อว่า รพร.ด่านซ้ายจะสามารถก้าวข้ามจากการหันหลังไปสู่ด้านที่หันหน้าสู้แสงตะวันได้อีกครั้ง..เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งที่เราเคยทำด้วยการเปลี่ยนมาใช้ฟรีแวร์อย่าง HOSxP..

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อบรมหลักสูตร HOSxP Admin รุ่น สอนผ่านเนต

วันนี้น้องเอ๋ ไอทีแมนคนเก่ง ของ รพ.ภูหลวง Call ผ่าน google talk ปรึกษาเรื่องการปรับปรุงฐานข้อมูลยา และวันหยุดในโปรแกรม HOSxP .. ซึ่งผมได้อธิบายการตรวจสอบข้อมูลและให้ลองทำดูเองในเบื้องต้น ระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลมีความซับซ้อนมากกว่าสถานีอนามัยมากในหลายเรื่อง ไอทีแมนนอกจากที่จะต้องรู้เรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ยังต้องเป็นนักประสานงานที่ดีอีกด้วย เพราะไม่ใช่ระบบที่ใช้กันแค่ คนสองคน แต่ระบบของโรงพยาบาลมีความเชื่อมโยงกับทุกฝ่าย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะขยับองค์กรระดับหลักเกือบร้อยคนให้ขยับได้พร้อมๆกัน..

ช่วงสายๆ อุ้ม รพ.แวงใหญ่ปรึกษามาว่า รพ.แวงน้อยต้องการจะขึ้นระบบ ผมตอบไปในหลักการเดิมว่า ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนหลักการพื้นฐานของพวกเรา คือ การสอนให้ทำเบ็ดเป็น และหัดตกปลาได้เอง.. ซึ่งหมายความว่าผมจะไม่ได้ไปช่วยขึ้นระบบให้ แต่จะสอนว่าจะต้องทำอย่างไรซึ่งคิดว่าคงจะได้เปิดการเรียนการสอนทางไกลอีกครั้ง สำหรับ รพ.จิตเวช,รพ.น้ำหนาว และ รพ.แวงน้อย..

ตอนบ่าย ปุ๊ รพ.หนองวัวซอ แจ้งว่าจะส่ง เจ้าหน้าที่คอมคนใหม่มาอบรมเรื่อง HOSxP ด้วยซักสองสามวัน.. อืม..เอาไงดี

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การทำ COCKPIT ง่ายๆ ด้วยเอกสารใน gmail



การประชุมเครือข่ายทีม Amdin รพ.วันที่ 3 พฤษภาคม 54 มี รพ.ที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มเล็กๆครับ ได้แก่ รพ.ผาขาว,รพ.ภูหลวง ,รพ.ซำสูง ,รพ.หัวตะพาน และทีม สสจ.เลย หัวข้อในวันนี้เป็นเรื่องการนำเสนอความก้าวหน้าของตัวชี้วัดของหน่วยงาน ในรูปแบบของ COCKPIT ซึ่งใครที่เคยทำ scored cockpit คงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วนะครับ

ปกติการทำกราฟในรูปของ cockpit จะมีโปรแกรมสำเร็จรูปจำหน่าย ซึ่งสามารถซึ้อมาติดตั้งและใช้งานแต่ก็มีราคาค่อนข้างสูง และนำมาใช้งานจริงก็พบว่ายังมีปัญหาในการลงข้อมูลพอสมควร เพราะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ แผน ตัวชี้วัด ฯลฯ ถ้าหากอยากนำมาเผยแพร่ก็อาจจะต้อง save ออกมาเป็นภาพแล้วนำมาโชว์บนเวปไซด์ของหน่วยงาน หรือบางโปรแกรมสามารถส่งออกเป็น HTML ได้ก็สามารถนำโค๊ดมาแปะในเวปได้เลย..

สำหรับหน่วยงานใดที่กำลัง โดยเฉพาะที่ม IM ที่ต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารขององค์กรในรูปแบบ cockpit หรือ แผนภูมิอื่นๆผมอยากให้ลองทำด้วยวิธีง่ายๆใน เอกสารของ gmail ดูนะครับ เท่าที่ทดสอบดูพบว่าทำได้ง่ายๆ และเมื่อมีการอัพเดตข้อมูลก็จะสามารถอัพเดตไปยังหน้าเวปไซด์ของหน่วยงานได้เลย และยังสามารถแชร์ให้คนอื่นๆ เข้ามาร่วมแก้ไขได้พร้อมกันๆอีกด้วย

มีเทคนิคอีกมากมายใน gmail ที่น่าสนใจ โอกาสหน้าจะมานำเสนอให้ชมกันอีกครับ

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชุม online เครือข่าย HOSxP ทีมเมืองเลย ครั้งที่ 3

การประชุมออนไลน์ ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของมันก็คือ คุณภาพของสัญญานภาพและเสียงที่อาจจะทำให้คนที่เข้าร่วมประชุมรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด รำคาญกับระบบที่ยังไม่ค่อยลงตัว แต่ทุกอย่างมันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ครับ การประชุมครั้งที่ 3 ของทีมเครือข่าย HOSxP เมืองเลย ในส่วนของทีมโรงพยาบาลดูจะนิ่งมากขึ้นและไม่ค่อยมีปัญหามากนัก จะมีบ้างสำหรับ รพ.ที่เพิ่งเข้ามาประชุมเป็นครั้งแรกที่ยังไม่คุ้นเคยกับโปรแกรม teamtalk แต่ที่น่าสังเกตคือ ที่ม รพ.ที่เข้ามาประชุมมี รพ.จากต่างจังหวัดเข้าประชุมมากกว่าโรงพยาบาลในจังหวัดเลยเสียนะอีก..

ในส่วนของการประชุมทีม สสอ.และ รพ.สต. คนเข้าร่วมประชุมน้อยและไม่ตรงเวลาครับ ต้องโทรตามกันกว่าจะมาได้ก็เสียเวลาไปพอสมควร ไม่รวมถึงปัญหาที่ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนองของคนเข้าร่วมประชุมเท่าไหร่.. ทำให้ทีมไอทีจังหวัดต้องเชิญประชุมเพื่อชี้แจงให้ชัดเจนอีกครั้ง..วันที่ 9 พ.ค. นี้ ผมก็ว่าดีนะครับใช้วิธีคู่ขนานลองดูกันไป วิธีไหนเหมาะ วิธีไหนดี เป้าหมายเหมือนกันแต่วิธีการต่างกันบางทีอาจจะเหมาะกับบางทีก็ได้..

เทคโนโลยีใหม่ๆบางทีคนใช้ปรับตัวไม่ทัน บางทีก็ยังคุ้นเคยกับการเข้านั่งฟ้งในห้องประชุมมากกว่า ฯลฯ เป็นปัญหาที่คงต้องเรียนรู้ว่าจะแก้ไขกันอย่างไรต่อไป โดยส่วนตัวผมยังชอบกลุ่มคนน้อยๆ ที่ค่อยๆ พัฒนาเรียนรู้กันไปและค่อยๆเพิ่มกลุ่มเรียนรู้ขึ้นทีละเล็กละน้อย บางทีมันเป็นเรื่องของความชอบ ความสนใจด้วยนะครับ

ทุกวันอังคาร ผมก็ยังอยากเชิญทีม Admin โรงพยาบาลประชุมออนไลน์กันเช่นเคยครับ แม้จะมีคนเข้าร่วมประชุมไม่มากขึ้น หรือจะน้อยลงไปบ้างก็ไม่ไรผมคิดว่าเอาเฉพาะคนที่สนใจอยากประชุมก่อนดีกว่า บางทีกลุ่มเล็กๆ ก็คุยกันได้ทั่วถึงดีนะครับ..


Bertrand Russell กล่าวไว้ว่า..
"The time you enjoy wasting is not wasted time." มีความหมายว่า เวลาที่เสียไปอย่างมีความสุขไม่ใช่เวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์

ความก้าวหน้าของทีม สสอ.เชียงคาน

วันนี้ทีม สสอ.เชียงคาน ประชุมติดตั้งการใช้งานโปรแกรม DSHOSxP เวอร์ชั่นใหม่กันครับ นำทีมโดยน้องหลิน,เจี๊ยบ และทีมงาน แม้ว่า สสอ.เชียงคาน จะยังไม่มีคนดูแลระบบเป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้ทีมงานต้องยอมจำนน เทคโนโลยีพื้นฐานอย่างโทรศัพท์และโปรแกรม Teamviewer ยังคงได้ผล ทำให้ระยะที่ห่างไกลดูเหมือนใกล้อยู่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่นั่งอยู่ตรงหน้านี่เอง..

เราใช้เวลาในการแก้ไขปัญหากันไม่นานนัก ส่วนหนึ่งมาจากการพยายามช่วยเหลือตนเองจากการเข้าฟังในห้องประชุมออนไลน์ และการอ่านจากคู่มือใน Blogs ซึ่งปัญหาที่พบมีเรื่องของ รายชื่อเจ้าหน้าที่ นสค. ไม่แสดงในลิสต์รายชื่อของ นสค. ผมได้แนะนำวิธีแก้ไขโดยให้ไปเพิ่มข้อมูล CID ในตาราง doctor ของบุคลากรให้เรียบร้อย และอีกปัญหาหาหนึ่ง คือ เข้า Tab สรุปข้อมูล CANDOSTS มีปัญหา error ให้ทำการอัพเอดทโปรแกรม DsHOSxP ซึ่งมีวิธีการแก้ไขโดยให้ไปทีเมนู Tools ละให้พิมพ์คำสั่ง drop tempreport_ds และกดปุ่ม EXEc ซึ่งทีมงานก็สามารถแก้ไขปัญหาได้

ข้อมูลของ นสค.เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากนะครับ..แต่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของคนทำข้อมูล ต้องขอปรบมือให้ทีมงานเชียงคานนะครับ สำหรับความพยายามในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือตนเอง และทำได้ดีเสียด้วยสิ ผมเลยลองแอบชวนๆ ทีมเชียงคานดูว่าสนใจจะขึ้นใช้ระบบ Inventrory หรือยัง.. คำตอบที่ได้แล้วฟังน่าชืนใจครับว่า..สนใจและอยากใช้กันแล้ว..

ปล. ระวังเรื่องสำรองข้อมูลทำไว้หลายๆ ชั้นหน่อยนะครับ มี รพ.สต.บางพื้นที่ในจังหวัดใกล้เคียงถูกยกเค้าคอมพิวเตอร์ข้อมูลหายเกลี้ยงเลย!!

.........................
นายเทียม โชควัฒนากล่าวไว้ว่า.. "คุณไม่จำเป็นต้องก้าวถอยหลัง เพียงแต่คุณหยุดอยู่กับที่ คุณก็จะเป็นคนล้าหลังเสียแล้ว.."