วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนในโปรแกรม HOSxP_PCU

     ผมได้รับการประสานจากงานส่งเสริม สสจ.เลย  เรื่อง การบันทึกข้อมูลการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด(ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน)  จึงหาแนวทางการคีย์ข้อมูลในโปรแกรม HOSxP_PCU  ซึ่งมีแนวทางที่จะบันทึกข้อมูลฯ  คือ

        1) ต้องไปเพิ่มยาใน System setting
        2) คีย์จ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด(ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน) ที่ระบบงานเชิงรับ One stop service
        3) เพิ่ม/แก้ไขรายงานการจ่ายยาเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด(ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน)  ---> ส่งเป็นไฟล์ Excel ให้งานส่งเสริม สสจ.เลย

     และได้ประสานขอข้อมูลจากงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.เลย  เรื่อง ยาเม็ดเสริมไอโอดีนขององค์การเภสัชกรรม มี 2 รายการ  ดังนี้

     1. Triferdine 150  (ยาเม็ดผสมไอโอดีน 0.15 mg ธาตุเหล็ก 60.81 mg และกรดโฟลิก 0.40 mg)


        รหัสมาตรฐานยา 24 หลัก 201120320037726221781506
        บรรจุขวดละ 30 เม็ด  ราคาทุน 0.83 ต่อเม็ด  ราคาขาย 1.50 บาท
        วิธีใช้ รับประทานวันละ 1 เม็ด   กินวันละ 1 เม็ด ตลอดการตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

     2. Iodine GPO  (ยาเม็ดไอโอดีนเดี่ยว ขนาด 0.15 mg)
         รหัสมาตรฐาน (24 หลัก)  101110000003082121781506
         ราคาทุน 0.30 ต่อเม็ด  ราคาขาย 0.50 บาท
         วิธีใช้ รับประทานวันละ 1 เม็ด   กินวันละ 1 เม็ด ตลอดการตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ขั้นตอนการเพิ่มยา Triferdine 150   ดังนี้

        1) เปิดเมนู Tools  --->  System setting
        2) จะปรากฏหน้าจอ  System setting


             (1) คลิกที่แทบ ยา
             (2) คลิกปุ่ม เพิ่ม

        3) จะปรากฏหน้าจอ  ข้อมูลยา


             (1) รหัส :   ไม่ต้องกรอก(เมื่อบันทึกจะขึ้นเองอัตโนมัติ)  คือ icode ใช้ในการเขียนรายงาน
             (2) ชื่อยา :  Triferdine 150
             (3) ความแรง :   0.15 mg.
             (4) หน่วยนับ :   เม็ด
             (5) ราคาขาย :   0.83
             (6) ประเภท :   ORAL USE
             (7) บัญชี :    ให้ Drop Down เลือก   
             (8) วิธีการใช้ :  ให้ Drop Down เลือก    11ht(1 เม็ด HS) กินครั้งละ 1 เม็ด
             (9) จำนวนสั่งใช้เริ่มต้น :   30
             (10) ราคาทุน :   1.50
             (11) คำค้นหา :   triferdine
             (12) คำช่วยเหลือการใช้ยา :    กินยานี้แล้วอุจจาระอาจเป็นสีดำ
             (13) กลุ่มการออกฤทธิ์ :  
             (14) Indication :   ป้องกันการขาดไอโอดีน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก
             (15) Pack qty :  1
             (16) รหัสมาตรฐาน (24 หลัก) :   101110000003082121781506
             (17) หน่วยนับ(สนย.) :   เม็ด
             (18) คลิกปุ่ม ตกลง

     ในตอนต่อไป... ผมจะนำเสนอการเพิ่ม/แก้ไขรายงานการจ่ายยาเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด(ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน)  เพื่อส่งเป็นไฟล์ Excel ให้งานส่งเสริม สสจ.เลย  ต่อไป ครับ


วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตอนที่ 4

     เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 ผมได้นำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตอนที่ 3 ใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  บันทึกรายละเอียด การทำ Pap smear และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  ไปแล้ว...

     วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก  ตอนที่ 4  ใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  Export ข้อมูล...ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยอ่านเซลล์ (รพ.เลย) และส่งให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.cxscreening.net)  ครับ
เริ่มกันเลย นะครับ...

ตอนที่ 4  ใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  Export ข้อมูล...ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  มีขั้นตอน ดังนี้

     1. เปิดโปรแกรม CxS_2010 Build 2.0


         ให้คลิกปุ่ม Export ข้อมูล

     2. จะปรากฏหน้าจอ เลือกชุดข้อมูลที่ต้องการ Export


         ให้คลิกปุ่ม ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear

     3. จะปรากฏหน้าจอ ชุดข้อมูลที่ 1  ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  ---> เลือกเงื่อนไขข้อมูล


             (1) คลิกเลือกทุกสิทธิ
             (2) คลิกเลือกทุกกลุ่มอายุ
             (3) คลิกเลือกกำหนดช่วงวันที่ต้องการข้อมูล วันที่ป้ายให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการ(บันทึกข้อมูลใน DSHOS_Service ไว้แล้ว)
             (4) คลิกปุ่ม แสดงข้อมูลตามเงื่อนไข
             (5) คลิกปุ่ม เลือกทั้งหมด
             (6) คลิกปุ่ม Export ข้อมูล

     4. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แสดงข้อความ ต้องการ Export ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap Smear จำนวน x ราย?


       ให้คลิกปุ่ม Export

     5. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แสดงข้อความ โปรดตรวจสอบเครื่องพิมพ์ เพื่อพิมพ์ใบสรุปการ Export ข้อมูล

             ให้ตรวจสอบเครื่องพิมพ์ (พร้อมที่จะพิมพ์)  ---> คลิกปุ่ม OK

     6. จะปรากฏ รายงานการ Export ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap Smear


             (1) ให้คลิกไอคอนเครื่องพิมพ์
             (2) คลิกปุ่ม Close

     7. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แสดงข้อความ ข้อมูลที่ Export เก็บไว้ที่ C:\Program Files\ชื่อไฟล์.CxS10

        ให้คลิกปุ่ม OK

     8. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แสดงข้อความ ต้องการ Export ข้อมูลไปที่ Drive A:  หรือ Drive อื่นด้วย


        ให้คลิกปุ่ม ต้องการ
        เลือกที่เก็บ  Save in:        ---> คลิกปุ่ม Save

     9. ปิดโปรแกรม

      จบการการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 4 ขั้นตอนครับ...

         ในส่วนการบันทึกรายงานผล Lab เมื่อได้รับผลการตรวจ Lab กลับมาจากโรงพยาบาลเลยแล้ว
สามารถบันทึกผล Lab  ได้ที่เมนูรายงานผล Lab  ดังนี้
             (1) คลิกที่เมนู ระบบงานเชิงรับ  ---> รายงานผล Lab
             (2) วันที่ ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ที่ตรวจ
             (3) คลิกรายชื่อรับบริการ
             (4) คลิกปุ่มรายงานผล ---> ลงผล Lab
             (5) คลิกปุ่ม Save

หรือ บันทึกที่เมนู One stop service  ดังนี้
             (1)  คลิกที่เมนู ระบบงานเชิงรับ  ---> One stop service
             (2) ข้อมูลวันที่ ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ที่ตรวจ
             (3) คลิกรายชื่อรับบริการ
             (4) คลิกปุ่ม แก้ไขรายการ
             (5) คลิกแทบลงผล Lab
             (6) คลิกปุ่ม บันทึกผล Lab
             (7) คลิกปุ่ม Save
             (8) คลิกปุ่ม บันทึก

     ดาว์นโหลด โปรแกรม  DSHOS_Service_update_55.3.29    คลิ๊กที่นี่ครับ


เก็บมาฝาก จากเวป OPPP สปสช.

ประกาศโดย ชัยวัฒน์ ดลยวัฒนา เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2555 เวลา 12:32:02 น.
ตามที่ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง (HT) โดยให้กำหนดรหัส การวินิจฉัย (ICD10) เป็น Z138 นั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมต่อการบันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง (HT) จึงขอแจ้งให้ทราบว่าสามารถบันทึก การวินิจฉัยได้ทั้ง รหัส Z136 และ Z138

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตอนที่ 3

    เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ผมได้นำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก  โดยใช้โปรแกรม HOSxP_PCU  บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการรับบริการ  และการสั่ง Lab ในตอนที่ 1-2 ไปแล้ว...

     วันนี้ผมมาเขียนต่อ ตอนที่ 3 สาเหตุที่ทิ้งระยะห่างไว้นาน... เนื่องจากโปรแกรม DSHOS_Service  เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ยังไม่สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear  และส่งออกไฟล์ข้อมูลไม่ได้

     ต้องขอขอบคุณ อ.อาร์ม คนเก่งของเรา ที่กรุณาแก้ error  จนโปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear  และส่งออกไฟล์ข้อมูลได้สมบูรณ์แล้ว
เริ่มกันเลย นะครับ...

ตอนที่ 3  ใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  บันทึกรายละเอียด การทำ Pap smear และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0   มีขั้นตอน ดังนี้

     1. เปิดเมนูผู้ป่วยนอก  --->  งานส่งข้อมูล Papsmear  --->  ทะเบียนผู้ป่วย PAP Smear


     2. จะแจ้งเตือน ต้องการเชื่อมต่อ Pap(CxS2010) !!  --->  คลิกปุ่ม  OK
     3. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear


             (1) ให้คลิกที่แทบ  ข้อมูลพื้นฐานผู้ตรวจ Pap smear
             (2) ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการ (บันทึกข้อมูลใน HOSxP_PCU ไว้แล้ว)
             (3) คลิกปุ่ม ค้นหา ---> จะปรากฏรายชื่อผู้รับบริการ
             (4) คลิกเลือกรายชื่อผู้รับบริการ ที่ต้องการ
             (5) คลิกปุ่ม บันทึกรายละเอียด

     4. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear


             (1) สิทธิการรักษา  ท่านต้องระบุสิทธิที่ผู้รับบริการมี (ข้อนี้บังคับให้บันทึก)
             (2) เหตุผลที่มารับบริการ ให้ Drop Down เลือกเหตุผลที่มารับบริการ  ครั้งแรกโปรแกรมจะกําหนดให้เป็น Check up screening  แต่ถ้าผู้รับบริการมีอาการมาตรวจ ให้Drop Down เลือก “เหตุผลอื่น ระบุ ”  แล้วเลือกรายการผิดปกติ หากอาการที่ต้องการบันทึกไม่มีให้เลือก ท่านสามารถ กําหนดเพิ่มได้ โดยการกดปุ่ม “กําหนดเหตุผลเพิ่ม"
             (3) Method of Pap Smear โปรแกรมจะแสดงเป็น Conventional  Pap smear (ป้ายเซลล์บนแผ่นสไลด์) เลือกบันทึกชนิดตัวอย่างที่ป้าย โดยใช้ mouse คลิ๊กในช่องกรอบสี่เหลี่ยม หน้าชนิดตัวอย่างป้ายที่ต้องการ
             (4) F6 การวินิจฉัยจากสิ่งที่ตรวจพบ
                    - บันทึกการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ตรวจพบ ... ประวัติด้านนารีเวช...
                    - บันทึก PARA  ตั้งครรภ์กี่ครั้ง, คลอดก่อนกำหนดกี่ครั้ง, แท้งกี่ครั้ง และบุตรมีชีวิตกี่คน
                    - บันทึกข้อมูล LMP (บังคับการบันทึก) ท่านสามารถเลือกได้ 3 กรณี โดย drop down (ลูกศรชี้) จะมี 3 ตัวเลือก คือ ระบุวันที่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุวันที่มีประจําเดือนครั้งสุดท้ายก่อนการป้ายเซลล์), จําไม่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ไม่ต้องระบุเพิ่มเติม),  หมดประจําเดือนแล้ว  (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุว่าหมดประจําเดือนมาแล้วกี่ปี)
            (5) F7 การคุมกําเนิด ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  วิธีการคุมกำเนิด
            (6) F8 ประวัติการรักษา ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  Treatment
            (7) F9 การป้ายเสมียร์ครั้งก่อน เพื่อบันทึกผลตรวจ Pap Smear ครั้งก่อนใน 5 ปี
            (8) ชื่อผู้ทำเสมียร์  ให้ Drop Down เลือกผู้ทำเสมียร์
            (9) หน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง ให้ Drop Down เลือกหน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง
           (10) ชื่อผู้บันทึกข้อมูล  ให้ Drop Down เลือก
           (11) กดปุ่ม บันทึกข้อมูล

     5. จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear
 

            (1)  ให้คลิกที่แทบ ส่งออกข้อมูล Pap smear
            (2) ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการจะส่งออกข้อมูล
            (3) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบ
            (4)  คลิกที่ปุ่ม นำเข้า PAP_TRAN และ PAP_TR
            (5) จะปรากฏไดอะล็อกบ๊อกซ์ แสดงข้อความ  นำเข้าเสร็จแล้ว!  --->  คลิกที่ปุ่ม OK
            (6) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TR
            (7) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TRAN
            (8) คลิกที่ปุ่ม ปิดหน้าจอ

     ในตอนต่อไป... ผมจะนำเสนอวิธีการใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  Export ข้อมูล       ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยอ่านเซลล์ (รพ.เลย) และส่งให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.cxscreening.net)  ครับ