วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จิ๊กซอร์ : คุณคิดคม

เมื่อเข้าไปหาข้อมูล OP PP มาประดับความรู้ตัวเอง เลยได้ข้อมูลจากบทความของคุณคิดคม สเลลานนท์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลข้อมูล OPPP Individual ของ สปสช. เล่าเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวไว้น่าสนใจ จึงเอามาฝากพี่น้องชาว HOSxP เมืองเลยค่ะ "
วันก่อนมีท่านหนึ่ง MSN คุยกับผมเกี่ยวกับเรื่องของแฟ้ม PERSON ว่าหากส่งให้ สปสช. แล้วจำเป็นต้องส่งเข้ามาอีกหรือไม่ ผมก็บอกว่าต้องส่งครับ ท่านนั้นก็ยังไม่เข้าใจถามผมต่ออีกว่า "ส่งทั้งที่ข้อมูลไม่มีการ Update น่ะหรือ" การถามลักษณะเช่นนี้ แสดงว่าท่านั้นอาจยังไม่เข้าใจระบบการส่งข้อมูลในปี 2554 ซึ่งก็ไม่ใช้เรื่องผิดอะไร อาจมีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจเช่นนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่กล้าถาม หลายท่านอาจมีภาระกิจเยอะ เพราะหน้าที่ของท่านคงไม่ใช่มานั่งส่งข้อมูลอย่างเดียว ผมพยายามหาคำตอบมาอธิบายท่านนั้นเพื่อให้เข้าใจมากที่สุดในจำกัดหลายๆ อย่าง (เพราะ MSN ต้องพิมพ์ และอธิบายเป็นตัวอักษร) ผมก็พยายามนึกๆๆๆ ก็บังเอิญไปนึกถึง "จิ๊กซอร์" เข้า เพราะจิ๊กซอร์คือการประกอบสิ่งที่ถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ให้เป็นสิ่งที่สมบูรณ์ ก็น่าจะใกล้เคียงกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เพราะเราตัดข้อมูลที่สมบูรณ์ออกเป็นชิ้นๆ เหมือนกัน คือ PERSON เป็นชิ้นส่วนของข้อมูลคน SERVICE เป็นชิ้นส่วนของข้อมูลบริการ DIAG เป็นชิ้นส่วนของสาเหตุการมารับบริการ ส่วน PROCED และ DRUG เป็นชิ้นส่วนขยายความของ SERVICE ว่ามารับบริการแล้วได้อะไรกลับไปบ้าง (ซึ่งบางรายอาจไม่ได้รับอะไรกลับไปเลยก็มี)
ในแนวคิด (Concept) Package ของปี 54 ก็คล้ายๆกับจิ๊กซอร์ โดยมีหน่วยบริการเป็นผู้ผลิตจิ๊กซอร์ ซึ่งก็คือข้อมูลการให้บริการที่กล่าวไป แล้วบรรจุลงกล่องก็คือ Package ส่งมอบให้ สปสช. ดังนั้นในกล่องของจิ๊กซอร์นั้นจึงต้องมีชิ้นส่วนที่ครบถ้วน เพื่อที่จะนำมาประกอบให้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ คือ "ใคร (PERSON) มารับบริการ (SERVICE) ด้วยสาเหตุใด (DIAG) และมีหรือไม่มีบริการเพิ่มเติมอะไร (PROCED,DRUG)" ดังนั้นทุกครั้งที่ส่งจิ๊กซอร์มาก็ต้องมีชิ้นส่วนพื้นฐาน PERSON SERVICE และ DIAG เพราะหากขาดชิ้นใดไปชิ้นหนึ่งก็ไม่สามารถประกอบเป็นสิ่่งที่สมบูรณ์ได้ครับ ที่สำคัญจิ๊กซอร์นั้นแต่ละชิ้นก็ต้องสมบูรณ์ด้วย เพราะหากมันขาด มันแหว่งไปชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ชิ้นอื่นก็ไม่สามารถนำมาประกอบได้ กล่องนี้ก็ไม่ผ่าน QC ก็ต้องทิ้งไปทั้งกล่อง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม PERSON เสีย SERVICE DIAG PROCED และ DRUG จึงเสียตามไปด้วย
หากส่งจิ๊กซอร์มาสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง PERSON SERVICE DIAG ก็หมายความว่าสามารถประกอบให้สมบูรร์ได้ ส่วน PROCED และ DRUG อาจเปรียบได้กับสีที่แถมมาในกล่องเพื่อให้ระบายให้เกิดสีสัน ซึ่งแน่นอนหากท่านลืมใส่สีเข้ามาในกล่อง หรือใส่มาแล้วใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีผลกลับความสมบูรณ์ของจิ๊กซอร์นั้น เป็นอันว่ามันผ่าน QC แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมาท่านอาจนึกได้ว่าลืมใส่สีมาในกล่องหรือใส่มาแล้วใช่ไม่ได้ จะส่งสีนั้นเข้ามา และแน่นอนท่านต้องส่งมาทั้งกล่อง (Package) อีกครั้ง แต่ สปสช. ก็จะบอกว่ากล่องนี้ท่านเคยส่งมาแล้วเราไม่รับ เพราะเราไม่รับสินค้าซ้ำกัน ท่านอาจจะบอกว่างั้นเอาสีที่ใส่มากล่องหลังไปใส่กล่องแรกได้หรือไม่ คำตอบก็คือเราไม่สามารถไปหากล่องแรกท่านเจอได้เพราะจิ๊กซอร์ที่ส่งเข้ามามัน มากมายมหาศาล ถึงทำได้เราก็ต้องลงทุนเยอะ ต้องใช้คน ต้องใช้เครื่องจักร ซึ่งไม่คุ้มทุนสำหรับเรา ดังนั้นจึงเป็นเหตุและผลว่าข้อมูล Add on ควรตรวจสอบให้ดีก่อนส่งครับ"

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันที่ไร้ Microsoft offce




หลังจากเรียนจบคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2539 ผมกลับมาประจำปฏิบัติงานที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย พอดีกับพี่สมศักดิ์ย้ายกลับบ้านที่ผาขาว ผมก็ก้าวขึ้นรั้งตำแหน่งนักวิชาการมือวางอันดับหนึ่งของอำเภอด่านซ้าย แหม..ฟังดูแล้วเหมือนจะเท่ห์ดีนะครับ นักวิชาการของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จะว่าไปก็เปรียบเหมือนงานของเสนาธิการครับ คิด วางแผน จัดการต่างๆ เป็นมือซ้าย มือขวาของสาธารณสุขอำเภอ บางทีก็ควบตำแหน่งผู้ช่วยไปด้วย

คอมพิวเตอร์ยุคนั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในงานสาธารณสุขพอสมควรครับ โดยเฉพาะงานเอกสาร จำได้ว่าก่อนไปเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมยังใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ลงกระดาษไข แล้วเอาไปโรเนียวอยู่เลย โปรแกรมสำหรับพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์ยุค 486 DX4100 ที่ฮิตๆ คงไม่พ้น จุฬาเวิร์ด หรือไม่ก็ราชวิถีเวิร์ด ซึ่งผมได้หัดใช้สมัยที่เรียนปี 1 แต่หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เปลี่ยนจากระบบ DOS เป็น windows 3.11 รุ่นที่ติดตั้งด้วยแผ่น Floppy disk 11 แผ่น พอดีระบบวินโดว์เข้ามาโปรแกรมเอกสารอย่างจุฬาเวิร์ดกลายเป็นของที่ล้าสมัยไปซะแล้วครับ หน่วยงานสาธารณสุขในยุคนั้นจึงเริ่มมีการนำโปรแกรมพิมพ์เอกสารมาใช้อย่าง AMIPRO ซึ่งรันบนวินโดว์ มีรูปร่างหน้า ที่น่าใช้กว่าบน DOS เยอะ การจัดหน้า พิมพ์หนังสือตราครุฑ ฯลฯ สาระพัดประโยชน์ครับ เรียกได้ว่าทั้งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัยในยุคนั้น แห่งที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ต้องติดโปรแกรมนี้กันงอมแงม..


แต่โลกของไอทีไม่เคยหยุดนิ่งครับ ในขณะที่ทุกคนติดกับ amipro ผมกลับมองว่าอนาคตของ amipro ไม่น่าจะไปได้นานนัก เพราะสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัย อ.ผมเคยบอกว่าให้จับตาไมโครซอฟท์ไว้ ซึ่งในระหว่างเรียนผมก็ได้ใช้โปรแกรม Microsoft word 6 อยู่แล้วและคิดว่าดีกว่า amipro ที่ใช้กันอยู่ในตอนนั้น จึงเสนอให้มีการเปลี่ยนโปรแกรมพิมพ์เอกสารเป็น word 6 แน่นอนครับว่า..เสียง(บ่นด่า) ตอบรับดีมาก

word 6 ในยุคนั้นยังคงมีปัญหาเรื่องการบริโภคทรัพยากรค่อนข้างมาก และมีอาการค้างบ่อยๆทำให้คนใช้หงุดหงิดใจได้พอสมควร แต่เวลาก็ช่วยเยียวยาทุกสิ่ง หลังจากที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่นานทุกคนก็เริ่มชินกับการใช้งาน และทิ้งความทรงจำเกียวกับ amipro ไว้เบื้องหลัง

ในยุคระบบปฏิบัติการที่เปลี่ยนจาก windows 3.11 เป็นวินโดว์ 95 วินโดว์ 98 โปรแกรมสำนักงานชุดใหม่ที่ออกมาให้ใช้กันคือ Microsoft office 97 ซึ่งถือว่าเป็นจุดพลิกผันของวงการสาธารณสุขทีเดียวเพราะมีโปรแกรมฐานข้อมูลหลายตัวที่เขียนจาก Accress 97 โดยเฉพาะโปรแกรมสำคัญอย่าง HCIS ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายและยาวนาน..หลายปี แต่สารภาพตรงๆ ผมใช้ HCIS แค่ 3 เดือนเท่านั้นเอง..


คอมพิวเตอร์ในยุคหลังๆ ก้าวกระโดดเร็วมากครับ ตัวโปรแกรม Microsoft office ก็มีการเปลี่ยนจาก office 97 เป็น office 2003 ตามระบบปฏิบัติการที่เปลี่ยนจาก windows 98 เป็น Widows Me และ Windows XP ที่เป็นยุคเฟื่องฟูของ Mocrosoft เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ XP และ office 2003 มาให้เรียบร้อย ใช้กันเพลินเลยละครับ เพราะโปรแกรมใช้งานค่อนข้างง่ายและมีความคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดี จนผมเคยคิดว่าก็ไม่น่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะงานเอกสารเท่าที่ทำกันทุกวันนี้มีคนว่ากันว่ายังใช้ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ของศักยภาพที่มันมีเลยด้วยซ้ำไป..




แล้วเกิดอะไรขึ้นละครับ..
ปัญหามันเกิดขึ้นมาจาก วันหนึ่งอยู่ผมก็ได้รับไฟล์งานเอกสารที่ดาวโหลดจากอีเมล์เป็นไฟล์แปลกๆ นามสกุล docx เป็นจาก office 2003 ก็ไม่ได้ ทำให้ถึงบางอ้อว่าระบบปฏิบัติการใหม่ๆเริ่มใช้ office 2007 กันแล้ว

จะด้วยความสวยงาม หรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ office 2007 ได้เปลี่ยนโฉมหน้าตาเมนูในโปรแกรมไปมากพอสมควร หลายๆคนที่คุ้นเคยกับ office 2003 ต่างพากันบ่นอุบว่าใช้ยาก หาเมนูก็ลำบาก ฯลฯ



แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ของแบบนี้ไม่ลองฝึกบ่อยๆ ก็คงไม่เป็น นี่ก็เห็นว่า office 2010 โผล่หน้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องกันแล้ว.. แม้จะยังไม่มาก แต่การเปลี่ยนแปลงโปรแกรมใช้งานคงไม่ใช่ปัญหา เพราะผมมีประเด็นหลักสำคัญๆ ที่ต้องคิดมากกว่าคือ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์

ผมเคยคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโปรแกรม Microffice เป็นโปรแกรมปลาดาว มาแล้วครั้งนึง ซึ่งตอนนั้นปัญหาเรื่องของลิขสิทธิ์เริ่มประทุขึ้นมาอีกครั้ง จนมีการพยายามที่จะให้ลีนุกซ์ทะเล และ ปลาดาว เป็น OS และโปรแกรม office ระดับชาติ..แต่แล้วทุกอย่างก็เงียบหายไปกับลมปาก และดากเหม็นๆของนักการเมือง..

จนกระทั่งถึงวันนี้.. มีคนพูดบ่อยๆว่า เรื่องจับลิขสิทธิ์มันจริงเหรอ ก็เห็นขู่กันมาหลายครั้งแล้ว ใช้พวก open source แล้วจะยุ่งยากกว่าเดิม ที่อื่นยังไม่เห็นมีใครเปลี่ยนกันเลย ฯลฯ

อย่าถามผมครับว่าทำไมเลิกใช้ และเปลี่ยนเป็น open source ..
จริงๆ ผมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ บริษัทตรวจจับลิขสิทธิ์ก็ยังไม่เคยเข้า รพ.อื่นๆในจังหวัดเลยหรือที่ไหนๆ ก็ยังไม่เห็นมีใครเขาขยับมาทำเรื่องนี้กันจริงๆ จังๆ..

ถ้าจะถาม..

ถามผมยังงี้ดีกว่าว่า....... ทำไมถึงเลือกใช้ LibreOffice ใช้แล้วมีปัญหาอะไรไหม๊ มีการเตรียมตัวของคนในองค์กรอย่างไร ฯลฯ... แต่ถึงจะอธิบายอย่างไรคุณก็อาจจะยังไม่เข้าใจ จนกว่าคุณจะได้ลองใช้เองจริงๆ





วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การช่วยเหลือสนับสนุน รพ.สต.

ประมาณปลายเดือนที่แล้ว น้องกุ๊กกิ๊ก นักวิชาการสาธารณสุข อยู่ที่สถานีอนามัยโนนป่าซาง อำเภอผาขาว โทรมาประสานกับผมว่าจะขอมาให้ช่วยสอนเกี่ยวกับโปรแกรม HOSxP PCU ด้วยความคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัวเพราะแฟนของกุ๊ก ทำงานอยู่ที่ฝ่ายเอ๊กเรย์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย และผมเพิ่งรู้ว่าน้องเขาได้ไปทำงานที่อำเภอผาขาว..

เนื่องจากพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับระบบงานสาธารณสุข และ HOSxP PCU เป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ โดยเฉพาะการลงบันทึกข้อมูลที่มีความซับซ้อน เชื่อมโยงกันหลายระบบงาน ผมจึงให้ดูวิดิโอสาธิตการลงข้อมูลในแต่ละบัญชีไปก่อน และสอนเกี่ยวกับวิธีการใช้งานโปรแกรมที่จะเอาไว้ติดต่อสื่อสาร หรือช่วยเหลือเวลาที่มีปัญหา จึงได้แนะนำโปรแกรมสำหรับสื่อสารอย่าง Skype และ teamviewer และฝึกให้ใช้โปรแกรมพวกนี้ก่อน ส่วน HOSxP PCU ผมลองให้น้องลองบันทึกข้อมูลเพื่อดูพื้นฐานความรู้ที่มี ก่อนที่จะเสริมในส่วนที่ขาด

ผ่านไปหลายวัน ผมก็ไม่ได้ติดตามต่อว่าน้องจะมีปัญหาการใช้งานอะไรอีกหรือเปล่า จนกระทั่งเมื่่อวันก่อนได้รับ Call มาจาก สอ.โนนป่าซาง ซึ่งมีคำถามเกี่ยวกับการลงบันทึกข้อมูลแพทย์แผนไทย ผมจึงสอนผ่านโปรแกรม Skype ซึ่งโปรแกรมนี้ผมมักเลือกใช้กรณีที่ต้องการพูดคุยเป็นส่วนตัวและต้องดูหน้าจอของอีกฝ่าย หรือแนะนำเฉพาะเรื่องเป็นรายบุคคล โดยขอดูหน้าจอและให้ทดลองลงข้อมูลให้ดูก่อน

ได้เห็นความพยายาม และความตั้งใจของน้องๆที่ทำงานในระดับ รพ.สต. ในขณะเดียวกันก็ได้เห็นปัญหาว่าการวางระบบเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนคนทำงานระดับพื้นที่ยังคงต้องคิดกันต่อว่าจะทำอย่างไรดี..เพราะถึงแม้ว่าในระบบเทคโนโลยีในปัจจุบันจะช่วยได้เยอะ แต่ก็ยังเป็นระดับที่ไกลเกินไป ถ้าเป็นเกมส์ฟุตบอลเหมือนทีมจะขาดกองกลางยังไงไม่รู้นะครับ..


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คู่มือตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 5 บัญชี 3 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค


บัญชี 3 งานโภชนาการ งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค งานอนามัยแม่และเด็กอายุ 0-11 เดือน มีตารางวัคซีนที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ wbc_vaccine ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ person_vaccine และ vaccine_combination ดังนั้นหากจะข้อมูลในตารางนี้ควรตรวจสอบข้อมูลใน 2 ตารางดังกล่าวด้วยครับ

ตาราง wbc_vaccine ประกอบด้วย
1.wbc_vaccine_id
2.wbc_vaccine_name
3.wbc_vaccine_code
4.age_min
5.age_max
6.export_vaccine_code
7.check_code
8.vaccine_in_use (หากกำหนด=Y ใช้ในการคำนวน %ความครอบคลุมของวัคซีน)
9.hos_guid
10.icode รหัสเวชภัณฑ์ วัคซีน ในตาราง drugitems
11.price ราคาเวชภัณฑ์
12.combine_vaccine (กำหนด=Y เป็นวัคซีนรวม)

ซึ่งวัคซีนที่ใช้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ประกอบด้วย
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค
HB วัคซีนป้องกันตับอักเสบ
DTP วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
Measle วัคซีนป้องกันโรคหัด
Measle/MMR วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
DTPHB วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบ

การกำหนดค่าต่างๆของตาราง wbc_vaccine เนื่องจากผมยกเลิกการกำหนดค่าวัคซีนรวม DTPHB เป็นวัคซีนเดี่ยวตามเหตุผลที่ผมได้อธิบายแล้วในตอนที่ 2 ในตาราง Vaccine_combination
ดังนั้นในตารางนี้ฟิลด์ combine_vaccine ผมจึงกำหนดให้มีค่า= N

การคำนวนความครอบคลุมของวัคซีนในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี มีวัคซีนที่ยังคงใช้ในกลุ่มนี้คือ
BCG,HB1,OPV1-3,DTPHB1-3, Measle/MMR ดังนั้นจึงกำหนดค่า vaccine_in_use ในวัคซีนกลุ่มนี้=Y ส่วนรายการอื่นๆที่ไม่ใช้คำนวนความครอบคลุมให้กำหนดค่า=N


ภาพที่ 1 ตาราง wbc_vaccine


ภาพที่ 2 การลงบันทึกวัคซีนที่ได้รับจากที่อื่น

ใน HOSxP เวอร์ชั่น 3.54.6.XX ระบบบัญชี 3 มีรายการวัคซีนที่รับจากที่อื่นโดยสามารถบันทึกข้อมูลเพื่อให้เกิดความครอบคลุม โดยไม่ต้องส่งตรวจออก visit ใหม่ เพื่อให้ % ความครอบคลุมแสดงผลที่ถูกต้อง โดยกรณีของวัคซีนที่รับมาจากที่อื่นๆจะไม่เพิ่ม visit ผู้ป่วยใหม่


ภาพที่ 3 สรุปรายการวัคซีนที่ได้รับ

หลังจากที่ได้ทดลองลงบันทึกข้อมูลทั้งในส่วนของวัคซีนที่รับจากที่อื่น และวัคซีนอื่นๆที่มารับบริการปกติ รวมถึงวัคซีนรวมอย่าง DTPHB ซึ่งผมไม่ได้กำหนดตาราง vaccine_combination ให้มีความสัมพันธ์กับวัคซีน DTP และ HB ดังนั้นเมื่อลงข้อมูลวัคซีน DTPHB จะไม่มีข้อมูลวันที่แสดงในวันที่ได้รับของวัคซีน DTP และ HB


ภาพที่ 4 ข้อมูลการได้รับวัคซีนระบบงานบัญชี 3
เมื่อย้อนกลับมาดูข้อมูลในบัญชี่ 3 จะพบว่าการประมวลผลความครอบคลุมได้ 100 % ตามเกณฑ์(ตามค่าที่ตั้งไว้ในตาราง wbc_vaccine ฟิลด์ vaccine_in_use) โดยในช่องสีน้ำเงินเป็นวัคซีน BCG และ HB1 ซึ่งลงข้อมูลจาก Tab การรับบริการจากที่อื่นๆ ส่วนในกรอบสีแดงเป็นวัคซีนที่บันทึกผ่านระบบบริการปกติของโปรแกรม ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อลงบันทึกข้อมูล DTPHB 1-3 จะไม่มีข้อมูลวันที่แสดงในช่อง DTP 1-3 และ HB 2-3 แต่ในส่วนของข้อมูล Measle/MMR ในหน้าจอสรุปข้อมูล ภาพที่ 3 มีข้อมูลวันที่ของรับบริการแสดงแต่ในหน้าจอนี้ยังพบว่ายังมีปัญหาเรื่องการแสดงผลอยู่

หมายเหตุ ทดสอบจาก HOSxP PCU 3.54.6.1

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คู่มือตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 4 บัญชี 2 หญิงตั้งครรภ์ฯ





ภาพที่ 1 ตาราง anc_vaccine และ women_vaccine

บัญชี 2 หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด มีตารางวัคซีนที่เกี่ยวข้องคือ anc_vaccine และ women_vaccine ซึ่งทั้งสองตารางจะมีฟิลด์ที่แตกต่างกัน โดยตาราง anc_service เป็นตารางวัคซีนที่จะแสดงให้เลือกในหน้าจอบริการ Tab Vaccine/Lab


ภาพที่ 2 การลงบันทึกข้อมูลวัคซีนในบัญชี 2

การกำหนดวัคซีนตามภาพที่ 1 มีประเด็นที่ยังหาข้อสรุปกันว่าควรจะกำหนดให้มีวัคซีน dTANC และ TT ในตารางนี้ไม่ แต่จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน วัคซีน TT เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันบาดทะยักในบาดแผลและหญิงตั้งครรภ์ แต่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าควรกระตุ้มภูมิคุ้มกันโรคคอตีบซึ่งลดต่ำลงในผู้ใหญ่ที่ไม่มีการติดเชื้อทางธรรมชาติจึงใช้ dT แทนมาตั้งแต่ปี 2548 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยทางสำนักงานควบคุมโรคติดต่อสนับสนุนวัคซีน dT ในกลุ่มนักเรียนและหญิงตั้งครรภ์ แต่ในกลุ่มอื่นที่มาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โรงพยาบาลต้องจัดซื้อเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจัดซื้อเฉพาะ TT โดยที่วัคซีนสองตัวนี้สามารถทดแทนกันได้ เช่น กรณีหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์แต่วัคซีน dT หมดสามารถนำวัคซีน TT มาฉีดแทนได้
ดังนั้นผมจึงกำหนดให้มีวัคซีน TT และ dTANC และหากมีผู้มารับบริการวัคซีนตัวใด ให้เจ้าหน้าที่ลงบันทึอขข้อมูลตามความเป็นจริง


ภาพที่ 3 แสดงข้อมูลการให้บริการวัคซีน
จากภาพที่ 3 ผมทดลองกำหนดให้ครั้งแรกของการมาฝากครรภ์ได้รับบริการ TT และในครั้งที่ 3 ได้รับบริการฉีด dTNC ซึ่งเมื่อลงวัคซีนที่ให้บริการตามความเป็นจริง ข้อมูลที่แสดงในหน้าจอบัญชี 2 จะมีข้อมูลวัคซีนในส่วนของ TT และ dTANC ครับ


ภาพที่ 4 แสดงทะเบียนบัญชี 2 ของผู้รับบริการที่ได้รับวัคซีน TT และ dTANC

คู่มือการตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 3 การตั้งค่า person_vaccine





ภาพที่ 1 ตาราง person_vaccine

ตาราง person_vaccine เป็นตารางสำคัญที่เป็นข้อมูลวัคซีนทุกตัวที่ใช้และเป็นตารางสำหรับอ้างอิง code ของตารางอื่นๆ ซึ่งมีฟิลด์ที่ประกอบด้วย
1.person_vaccine_id
2.vaccine_name สามารถกำหนดเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ครับ
3.vaccine_code ฟิลด์นี้อ้างอิงกับชื่อมาตรฐานของวัคซีน โดยที่ผมกำหนดจะพิมพ์ตัวอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ตามชื่อมาตรฐาน
4.vaccine_group ฟิลด์นี้เป็นกลุ่มของวัคซีนที่จะแสดงในเมนูการขอเบิกวัคซีนซึ่งจะจัดเป็น group ไว้ ดังนั้นหากวัคซีนรายการใดไม่มีรายชื่อในการเบิกวัคซีน ให้กำหนดตรงฟิลด์นี้ครับ
5.export_vaccine_code รหัสส่งออกวัคซีนให้กำหนดตามมาตรฐานรหัสส่งออกของ สนย.
6.hos_guid เป็นค่าทีีกำหนดโดยโปรแกรมครับหากมีการลงบันทึกวัคซีนจะมีตัวเลขและข้อความอัตโนมัติแต่ถ้ากำหนดรายการเพิ่มขึ้นมาใหม่ไม่ต้องใส่ข้อมูลอะไรครับ
7.combine_vaccine หากวัคซีนตัวใดมีการกำหนดในตาราง vaccine_combination เป็นวัคซีนรวม ให้มากำหนดในฟิลด์นี้ = Y ครับ




ภาพที่ 2 แสดงความเชื่อมโยงของตาราง person_vaccine กับ ข้อมูลเบิกจ่ายวัคซีน

คู่มือการตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 2 การตั้งค่าวัคซีนรวม

ตามที่ได้กล่าวถึงในตอนที่ 1 เกี่ยวกับความรู้ในเรื่องการตั้งค่าวัคซีน และตารางต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในตอนที่ 2 เราจะพูดกันถึงเรื่องการตั้งค่าวัคซีนรวมในตาราง Vaccine_combination โดยผมจะยกตัวอย่างกรณีของวัคซีน DTPHB ซึ่งเป็นวัคซีนรวม DTP และ HB เผื่อว่าในอนาคตอาจจะมีัวัคซีนรวมเพิ่มขึ้นใหม่ และจำเป็นต้องมากำหนดค่าวัคซีนรวม



ภาพที่ 1 ตาราง Vaccine_combination ที่กำหนดในปัจจุบัน

ข้อมูลในตารางนี้ จะมีฟิลด์ที่เกี่ยวข้อง คือ
1.vaccine_combination_id
2.vaccine_code
3.vaccine_combine_code

ซึ่งการกำหนดข้อมูลทั่วไปๆจะมีรายการวัคซีนในช่อง Vaccine_code เหมือนกับตาราง person_vaccine แต่ถ้าวัคซีนตัวใดเป็นวัคซีนรวม เช่น DTPHB จะกำหนดเพิ่มดังภาพที่ 2โดยต้องบันทึกวัคซีน DTPHB1 ในฟิลด์ vaccine_code 2 reocrd แต่ในฟิลด์ vaccine_combine_code จะแตกต่างกันโดยจะลงข้อมูลเป็น DTP1 และ HB2 ดังนี้



ภาพที่ 2 ตัวอย่างการเซตค่าวัคซีนรวม

จากภาพที่ 2 จะเห็นว่าถ้าเป็นวัีคซีนเฉพาะ เช่น DTP หรือวัคซีนตัวอื่นๆ จะลงข้อมูลเพียง 1 record เท่านั้นแต่ถ้าเป็นวัคซีนรวมอย่าง DTPHB1 จะต้องลงบันทึก 2 record โดยในฟิลด์ vaccine_code มีข้อมูลเหมือนกันต่างกันเพียงฟิลด์ vacvine_combination_code

การกำหนดวัคซีนรวม DTPHB
- DTPHB1 = DTP1, HB2
- DTPHB2 = DTP2, HB3
- DTPHB3 = DTP3, HB4

แต่ HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ๆ ตั้งแต่ 3.54.5.XX โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ต้องกำหนดวัคซีนรวมในลักษณะนี้อีกแล้ว เพราะวัคซีนแต่ละตัวมีความจำเป็นที่ต้องระบุ Lot ของวัคซีน และในเวอร์ชั่นใหม่ จะมีช่องแสดงผลสำหรับวัคซีนแต่ละตัวโดยเฉพาะ**

คู่มือการตั้งค่าวัคซีน ตอนที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับตารางวัคซีน



พูดถึงเรื่องการตั้งค่าและการใช้งานวัคซีนในโปรแกรม HOSxP เป็นยาขมสำหรับโรงพยาบาลและ รพ.สต.กันพอสมควร ในช่วงที่ผมเริ่มใช้ HOSxP เมื่อปี 2548 เวอร์ชั่นในยุคนั้นยังไม่มีโปรแกรมรองรับระบบงาน PCU แต่ก็มีเมนูบัญชี 1-10 ให้เห็นเป็นความหวังว่าจะมีการพัฒนาในส่วนนี้ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่ 18 แฟ้มเฟื่องฟู จังหวัดร้อยเอ็ดได้ร่วมกับ BMS เพื่อพัฒนา HOSxP PCU ใช้งานทั้งจังหวัด และยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ใช้กันฟรีๆ ทำให้มีการโยกย้ายถ่ายโอนข้อมูลจาก HCIS มาสู่ HOSxP PCU ในหลายพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้หรือเปลี่ยนมาใช้ JHCIS ซึ่งดูเหมือนกว่าจะตอบสนองต่องานของ รพ.สต.ได้ดีกว่า..

ในส่วนของเรื่องวัคซีนหลังจากที่มีการนำเข้ามาใช้ใน HOSxP PCU ซึ่งจะมีระบบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนอยู่หลายบัญชี เช่น บัญชี 2 ,บัญชี 3 บัญชี 4 และบัญชี 5 ปัญหาของการตั้งค่าวัคซีนที่มีตารางเกี่ยวข้องหลายตัวทำให้แต่ละแห่งมีการตั้งค่าวัคซีนที่แตกต่างกันตามความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งก็พบคำถามในเรื่องของการตั้งค่า การใช้ การแสดงผลในเวปบอร์ดของ HOSxP กันมากมาย แม้กระทั่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2553 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการเปิดห้องสำหรับพูดคุยในหัวข้อเรื่องวัคซีนกันโดยเฉพาะ และเชิญปรมาจารย์อย่างป่าเจดีย์ มาจับเข่าคุยกันแบบเจาะลึกกันทีเดียว..

แต่ถึงกระนั้น ในเรื่องของวัคซีนก็ยังมีคำถามที่ต้องให้คิดให้ตอบกันอีกมากมาย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของวัคซีนรวมและการแสดงผลในโปรแกรม HOSxP ที่ยังไม่ตอบโจทย์ที่ตรงใจผู้ใช้งานมากนัก ผมจึงอยากเขียนบทความในหัวข้อที่เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงวิธีการใช้งานที่ได้จากประสบการณ์ในการทดลองใช้กับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล

เอาละครับก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตารางต่างๆ ใน HOSxP และ HOSxP PCU ด้วยว่ามีตารางที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

ตารางที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
1. vaccine_combination
2. person_vaccine
3. wbc_vaccine
4. baby_items
5. epi_vaccine
6. student_vaccine
7. women_vaccine
8. anc_service
9. provis_vcctype

1. vaccine_combination
ตาราง Vaccine_combination เป็นตารางที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าของวัคซีนโดยเฉพาะตัววัคซีนรวม ช่วงแรกมีการกำหนดค่าในกลุ่มของวัคซีน DTPHB เนื่องจากในช่องการแสดงผลของบัญชี 3 ยังไม่มีช่องแสดงข้อมูลของ DTPHB แต่ว่าในทางปฏิบัติมีการใช้วัคซีนตัวนี้แทน DTP และ HBเพื่อลดจำนวนครั้งในการฉีดให้กับเด็ก ดังนั้นถึงแม้จะมีการเพิ่มข้อมูลวัคซีน DTPHB ในตาราง person_vaccine แต่เวลาประมวลผลความครอบคลุมยังคงคิดในระบบเดิมคือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle ทำให้ต้องกำหนดค่าในvaccine_combination เืพื่อที่เวลาลงการฉีดวัคซีน DTPHB จะมีวันที่ไปแสดงในช่องของวัคซีน DTP และ HB

ใน HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ๆ บัญชี 3 มีช่องแสดงผลของวัคซีน DTPHB ,Measle/MMR และสามารถกำหนดการคำนวนได้ว่าจะใช้วัคซีนตัวในการคำนวนความครอบคลุมทำให้ตาราง vaccine_combination ในปัจจุบันอาจจะไม่ต้องตั้งค่าอะไรที่ซับซ้อนเหมือนแต่ก่อน

2. person_vaccine
ตาราง Person_vaccine เป็นตารางข้อมูลวัคซีน และรหัสต่างๆที่ต้องกำหนดให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ สนย.หรือ สปสช. ที่มีการชี้แจงเรื่องการกำหนดค่ามาตรฐานเกี่ยวกับวัคซีนในชุดข้อมูล 18 แฟ้ม หรืออ้างอิงได้จาก http://www.thcc.or.th/download/vaccine.pdf ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานรหัสและ้ข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้ข้อมูลในตารางนี้จึงสามารถอ้างอิงตามชุดข้อมูลมาตรฐานในการกำหนดข้อมูล

3. wbc_vaccine
ตาราง wbc_vaccine เกี่ยวข้องโดยตรงกับบัญชี 3 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเ็ด็ก 0-1 ปี ซึ่งจะมีรายวัคซีนที่ใช้อ้างอิงกับตาราง person_vaccine และ vaccine_combination คือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle/MMR, และ DTPHB

วัคซีน DTPHB และ Measle/MMR เป็นวัคซีนรวมที่เพิ่งมีการใช้มาไม่นาน ( DTP ก็เป็นวัคซีนรวมตัวหนึ่ง) ตัววัคซีน DTPHB ก่อนหน้านี้มีการกำหนดใน Vaccine_combination เพื่อให้สามารถแสดงผลใน DTP และ HB ตามที่ผมได้อธิบายใน vaccine_combination แต่ตัว Measle/MMR เป็นวัคซีนที่เริ่มมีการใช้งานในเดือน กรกฎาคม 2553 และกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มกระจายวัคซีน MMR สำหรับให้บริการแก่เด็กอายุ 9-12 เดือน ทดแทนวัคซีน Measle (หัดชนิดเดี่ยว) แต่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ MMR ของนักเรียน ป.1 ที่เดิมทีเข้าใจว่าเป็นรหัสวัคซีนตัวเดียวกัน จึงเรียกกันว่า MMR แต่ใช้รหัสวัคซีนต่างกัน คือ 061 และ 071 ต่อมาจึงมีการปรับชื่อที่ใช้เรียกให้เหมาะสม เป็น Measle/MMR สำหรับเด็ก 0-12 เดือน และ MMR สำหรับเด็ก ป.1 เนื่องจากวัคซีนทั้ง 2 ชนิดผลิดจากเชื้อคางทูมต่างสายพันธุ์กัน และการผลิตวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมีขนาด Single dose (อัตราการสูญเสียวัคซีน 1%) ส่วน MMR ในเด็ก ป.1 มีการผลิตขนาด multiple dose (อัตราสูญเสีย 10 %) ดังนั้นจึงมีข้อห้าม นำวัคซีน MMR ไปฉีดให้กับเด็ก 0-1 ปี แทน Measle/MMR และไม่ควรนำ Measle/MMR ในเด็กเล็กมาฉีดแทน MMR ในนักเรียน ป.1 เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด

4. baby_items
ตาราง baby_items เป็นตารางวัคซีนสำหรับการลงบันทึกข้อมูลกรณีที่มารับบริการโดยผ่านโมดูลของ OPD หรือ ER โดยเฉพาะกับกลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นการฉีดวัคซีน TT ,วัคซีน FLU และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

5. epi_vaccine
epi_vaccine เป็นตารางที่เกี่ยวข้องกับ person_vaccine และใช้ในบัญชี 4 ซึ่งมีรายการวัคซีนที่ใช้ฉีดในเด็ก 1-5 ปี โดยมีรายการวัคซีน คือ JE,DTP,OPV (ซึี่งจะเห็นว่าตัววัคซีน DTP ก็ยังมีใช้อยู่เฉพาะเด็กกลุ่มนี้)

6. student_vaccine
student_vaccine เป็นตารางวัีคซีนที่เกี่ยวข้องกับบัญชี 5 กลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งมีรายการวัคซีนพื้นฐานประกอบด้วย BCGs, dT,MMR, OPVs (โดยวัคซีนกลุ่มนี้จะเห็นว่ามีวัีคซีน dT ที่เป็นวัคซีนสำหรับฉีดในเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์)

7. women_vaccine และ 8. anc_service
ทั้ง 2 ตารางมีความเกี่ยวข้องกับวัีคซีนป้องกันบาดทะัยักในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซี่งต้องมาทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนครับ
1. วัคซีน TT เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันบาดทะยักในในบาดแผล และหญิงตั้งครรภ์ (แต่ก่อนก็ใช้ TT ตัวเดียวนี่แหละครับ)
2. วัคซีน dT เป็นวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ(d) และบาดทะยัก(T) ในฉีดในกลุ่มเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์โดยมีเหตุผลในทางวิชาการสนับสนุนว่าควรกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบซึ่งลดต่ำลงในผู้ใหญ่ที่ไม่มีการติดเชื้อทางธรรมชาติจึงให้ฉีด dTตั้งแต่ปี 2548 เพื่อที่จะได้มีภูมิคุ้มกันทั้งคอตีบและบาดทะยัก ทางสำนักงานควบคุมโรคติดต่อจึงสนับสนุนวัคซีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียน คือ วัคซีน dT แต่ในกลุ่มอื่นเช่น กรณีมีบาดแผลมาที่ห้องฉุกเฉินต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก วัคซีนตัวนี้ไม่มีสนับสนุนโรงพยาบาลจะต้องจัดซื้อเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจจะจัดซื้อเป็น TT อย่างเดียว และมีการกำหนดรหัสขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความชัดเจนออกเป็น dTANC ซึ่งใช้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็สร้างความสับสนให้กับการตั้งค่าฐานข้อมูลพอสมควรดังนั้นในช่วงแรกจึงมีการกำหนดข้อมูลในตาราง women_vaccine และ anc_service เป็น TT/dT บ้าง หรือ dTANC/TT บ้าง ทั้งๆที่วัคซีนสองตัวนี้เป็นคนละชนิดกัน

ในโปรแกรม HOSxP บัญชี 2 ช่องข้อมูลวัคซีน จึงมีช่องสำหรับแสดงวันที่รับวัคซีนของ TT และ dTANC ที่แยกออกจากกันชัดเจนดังนั้นในการเซตค่าฐานข้อมูลของวัคซีน TT และ dT (หรือ dTANC ) ควรเป็นคนละชนิดกันครับ เพราะอาจจะมีบางครั้งที่สถานบริการไม่มีวัคซีน dT ฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์แต่สามารถนำ TT มาฉีดทดแทนได้ เพื่อป้องกันการสับสนจึงควรกำหนดฐานข้อมูลวัคซีนให้ตรงกับการให้บริการจริง โดยสรุปคือ ในตาราง women_vaccine และ anc_service จะมีข้อมูลวัคซีนเพียงแค่ TT และ dTANC

9. provis_vcctype
ตาราง provis_vcctype เป็นตารางสำหรับกำหนดค่าส่งออก 18 แฟ้มครับ

ในตอนต่อไปผมจะนำวิธีการเซตค่าของข้อมูลในต่างๆ มาให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับว่าควรจะเซตค่าอย่างไรที่จะสามารถทำให้การแสดงผลของวัคซีนถูกต้องในบัญชีต่างๆ ของโปรแกรม HOSxP







ภาพที่ 1 ตารางรหัสวัคซีนมาตรฐาน


ภาพที่ 2 ตารางการเก็บและการบริหารวัคซีน