วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การกำหนดช่วงฝากครรภ์คุณภาพ

     การกำหนดช่วงฝากครรภ์คุณภาพ ในโปรแกรม HOSxP_PCU ก่อนเวอร์ชั่น 3.57.1.2  โดยตั้งค่าในตาราง person_anc_preg_week  ตามภาพ


     เมื่อบันทึกข้อมูลในระบบบัญชี 2 (หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์) โปรแกรม HOSxP_PCU  จะประมวลผล ดังนี้
        - ถ้ามาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 0-12 นับเป็นการฝากครรภ์ครั้งที่ 1
        - ถ้ามาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 16-20 นับเป็นการฝากครรภ์ครั้งที่ 2
        - ถ้ามาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 24-28 นับเป็นการฝากครรภ์ครั้งที่ 3
        - ถ้ามาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 30-34 นับเป็นการฝากครรภ์ครั้งที่ 4
        - ถ้ามาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 36-48 นับเป็นการฝากครรภ์ครั้งที่ 5

     เมื่อดูข้อมูลในระบบบัญชี 2 (หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์) >> ที่แทบ: การรับบริการตรวจก่อนคลอด ที่ช่อง: อยู่ในช่วงคุณภาพ >> แสดงเป็นกากบาทสีแดง  คือ การมารับบริการฝากครรภ์ที่ไม่อยู่ในช่วงคุณภาพ ทั้ง ๆที่อายุครรภ์อยู่ในช่วงคุณภาพ

     ในโปรแกรม HOSxP_PCU เวอร์ชั่น 3.57.1.2  มีการเพิ่มฟิลด์ week_min_quality  และฟิลด์ week_max_quality  ตามภาพ


     จากการเพิ่มฟิลด์ week_min_quality  และฟิลด์ week_max_quality แต่ยังไม่กำหนดค่า week_min_quality=0 , week_max_quality=0 (ทุกช่อง) ทำให้โปรแกรม HOSxP_PCU ประมวลผล/แสดงการมารับบริการฝากครรภ์ที่ไม่อยู่ในช่วงคุณภาพ (แสดงเป็นกากบาทสีแดง) และการกำหนดค่า  week_min  และฟิลด์ week_max ยังไม่ถูกต้อง

     วิธีการแก้ไขปัญหาให้โปรแกรม HOSxP_PCU ประมวลผล/แสดงการมารับบริการฝากครรภ์ที่อยู่ในช่วงคุณภาพที่ถูกต้อง และส่งออกข้อมูล 21/43 แฟ้มที่ได้คุณภาพ ตามขั้นตอนดังนี้

     1. ที่เมนู Tools  >>  SQL Query



             (1) ที่ช่อง: Open Table  >> พิมพ์  person_anc_preg_week  แล้ว Enter
             (2) คลิกที่ปุ่ม: Run

     2. จะปรากฏหน้าจอตาราง person_anc_preg_week


             (1) ที่ฟิลด์ person_anc_preg_week_id=1 , week_min=0 , week_max=12 , week_min_quality=4 , week_max_quality=12
             (2) ที่ฟิลด์ person_anc_preg_week_id=2 , week_min=13 , week_max=23 , week_min_quality=16 , week_max_quality=20
             (3) ที่ฟิลด์ person_anc_preg_week_id=3 , week_min=24 , week_max=29 , week_min_quality=24 , week_max_quality=28
             (4) ที่ฟิลด์ person_anc_preg_week_id=4 , week_min=30 , week_max=35 , week_min_quality=30 , week_max_quality=34
             (5) ที่ฟิลด์ person_anc_preg_week_id=5 , week_min=36 , week_max=99999 , week_min_quality=36 , week_max_quality=40
             (6) คลิกที่ปุ่ม:  Update
             (7) จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ Confirm: Update Data?  >> คลิกที่ปุ่ม:  Yes

     4. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้ง  Update Done.


             (1) คลิกที่ปุ่ม:  OK

     5. ปิดปรากฏหน้าจอ: SQL Query
     6. ปิดโปรแกรม HOSxP_PCU   เพื่อให้โปรแกรมปรับปรุงตาราง
     เสร็จเรียบร้อยแล้ว ครับ...

     เมื่อได้ดำเนินการปรับปรุงตาราง person_anc_preg_week ตามข้อ 2. แล้วโปรแกรม HOSxP_PCU จะประมวลผล/แสดงการมารับบริการฝากครรภ์  ดังนี้

     ครั้งที่ 1  คือ การมาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 0-12 จะนับเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 4-12
     ครั้งที่ 2  คือ การมาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 13-23 จะนับเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 16-20
     ครั้งที่ 3  คือ การมาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 24-29 จะนับเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 24-28
     ครั้งที่ 4  คือ การมาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 30-35 จะนับเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 30-34
     ครั้งที่ 5  คือ การมาฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 36 ขึ้นไป จะนับเป็นการฝากครรภ์คุณภาพ ต้องฝากครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 36-40

     ทำความเข้าใจกับการประมวลผลของโปรแกรม แล้วคิดเอาว่าจะต้องปรับระบบการนัดผู้รับบริการ ANC อย่างไร?  จึงจะเป็นการมารับบริการฝากครรภ์ที่อยู่ในช่วงคุณภาพ




แจ้งให้ รพ.สต. ปรับปรุงเวอร์ชั่นเป็น HOSxP_PCU version: 3.57.1.7

     แจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับเวอร์ชั่นของโปรแกรม HOSxP_PCU  เป็นเวอร์ชั่น 3.57.1.7
ได้เลยครับ  ได้เลยครับ...  อย่าลืม Upgrade Structure, Serial Check  และ  Check/Repair Table

What new in:  HOSxP_PCU version: 3.57.1.7

     - ตั้งแต่เวอร์ชั่น 3.57.1.2  มีการปรับปรุงระบบการกำหนดช่วงฝากครรภ์คุณภาพ
โดยฟิลด์ week_min_quality  และฟิลด์ week_max_quality

ดาวโหลดไฟล์   คลิกที่นี่ครับ



วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

การสำรวจประชากรสุนัข, แมว

     รายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว.cds   ตามภาพ



     เป็นรายงานที่แสดงชื่อ รพ.สต. , ตำบล, อำเภอ,  ชื่อ หัวหน้าครอบครัว, บ้านเลขที่, หมู่ที่, ชื่อ อสม. ที่รับผิดชอบ เพื่อใช้ในการสำรวจประชากรสุนัข, แมว ของงานควบคุมโรค สสจ.เลย

     แสดงข้อมูลตาม ชื่อ อสม. ที่รับผิดชอบบ้านนั้น เรียงลำดับตามหมู่บ้าน
บ้านเลขที่ไหนไม่กำหนด อสม. ประจำบ้าน จะไม่แสดงในรายงานนี้

   ต้องการใช้รายงานนี้... ดาวน์โหลดรายงาน ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/

      ระบบรายงาน  >>  รายงาน  HOSXP PCU

     เมื่อดาวน์โหลดไฟล์  loei_report_osm2.rar ได้แล้ว ให้แตกไฟล์ก่อน  นำเข้ารายงาน
ตามขั้นตอน ดังนี้

     1. ที่เมนู Tools  >> Report Designer



     2. จะปรากฏหน้าจอ: Report Designer


             (1) คลิกที่ปุ่ม: Import Report
             (2) คลิก Open เลือกไดรฟ์ และโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ CUSTOM-แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว.cds (ที่แตกไฟล์ไว้)
             (3) คลิกเลือกไฟล์รายงาน: CUSTOM-แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว.cds
             (4) คลิกปุ่ม: Open

     3. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ยืนยันความต้องการ นำเข้ารายงาน....



     4. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้ง  Import Done.



     นำเข้ารายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครับ...

วิธีการใช้รายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว.cds  ส่งออก Excel  File

เมื่อนำเข้ารายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  สามารถใช้รายงานได้   ดังนี้

     1. ที่เมนู รายงาน   >>   Report Central
     2. จะปรากฏหน้าจอ รายงาน



             (1) module:  เลือก  Loei_report
             (2) ชื่อรายงาน: เลือก  CUSTOM-แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว
             (3) คลิกที่ปุ่ม:  พิมพ์รายงาน

    3. จะปรากฏหน้าจอ เตรียมการพิมพ์รายงาน   >>  คลิกที่ปุ่ม:  Print



     4. จะปรากฏหน้าจอ Print Preview



     5. จะปรากฏหน้าจอ Print



             (1) ให้ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ  Print to File
             (2) Type:  ให้ Drop Down เลือก Excel File
             (3) Where:  ให้คลิกเลือกไดร์\โฟล์เดอร์  และให้ตั้งชื่อไฟล์.XLS
             (4) คลิกที่ปุ่ม:  OK   >> คลิกที่ปุ่ม:  Save  >> คลิกที่ปุ่ม:  OK

     ก็จะได้แบบสำรวจประชากรสุนัข, แมว  เป็นไฟล์  Excel  ตามข้อ (3) นำไปจัดการตามหนังสือสั่งการของงานควบคุมโรค ครับ...

     เมื่อได้ดำเนินการให้ อสม. สำรวจข้อมูลมาได้แล้ว ให้นำข้อมูลที่ได้มาบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม HOSxP / HOSxP_PCU  มีขั้นตอนการบันทึก ดังนี้

     1. ที่ระบบบัญชี 1-8    >>  ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)



     2. จะปรากฏหน้าจอ ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)


             (1) เลือกพื้นที่:  ให้คลิกเลือก หมู่บ้าน ที่ต้องการ
             (2) ค้นหาบ้านเลขที่: คีย์บ้านเลขที่ ที่ต้องการ
             (3) คลิกเลือก บ้านเลขที่ ที่ต้องการ (เป็นแถบสีน้ำเงิน)
             (4) คลิกที่ปุ่ม:  แก้ไขบ้าน

     3. จะปรากฏหน้าจอ: ข้อมูลทะเบียนบ้าน



             (1) คลิกที่แทบ:  สัตว์เลี้ยง
             (2) ให้คลิกปุ่ม:  +  (เครื่องหมายบวก)
             (3) ประเภทสัตว์เลี้ยง: ให้ Drop down เลือก สุนัข หรือ แมว
             (4) จำนวน: ให้คีย์จำนวนสุนัข หรือ แมว แล้ว Enter  จะปรากฏวันที่/เวลาบันทึก
             (5) คลิกปุ่ม: บันทึก  

     เสร็จเรียบร้อยแล้ว ครับ...