วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงานทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล

    การบันทึกข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ในโปรแกรม HOSxP PCU  ดังนี้


     1) แผนก:  ให้ Drop down เลือก อื่นๆ
     2) แทบ: การวินิจฉัย  ICD10 = Z251  Need for immunization agains influenza


     1) แทบ: Vaccine  ให้ Drop down เลือก ไข้หวัดใหญ่
รหัสส่งออก = 815

     รพ.สต. หลายแห่ง ขอรายงานทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล โดยอยากรู้ว่าปีที่ผ่านมา มีใครได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่บ้าง? อยู่บ้านไหน?  นสค. ที่รับผิดชอบคือใคร? อยู่ในความรับผิดชอบของ อสม. ?  จำนวนเท่าไร?

     ผมจึงได้ออกแบบ/เขียนรายงาน  CUSTOM-LRT-ทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล.cds  ตามภาพ



     เป็นรายงานสำหรับใช้เป็นทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล  แสดงข้อมูลผู้มารับบริการที่ได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล  ดึงข้อมูลจากระบบงานเชิงรับ        One stop service แสดงวันที่รับบริการ, ชื่อ - สกุล,  เลขบัตรประชาชน, อายุ(ปี), การวินิจฉัย ICD10 = concat(vs.pdx,"  ", vs.dx0,"  ", vs.dx1,"  ",vs.dx2) as Dx, รหัสส่งออก, วัคซีน,  Lot No. , วันหมดอายุ, วันนัดครั้งต่อไป, บ้านเลขที่, หมู่ที่, ตำบล อำเภอ จังหวัด และ อสม. ที่รับผิดชอบ

    เงื่อนไขที่ใช้ในรายงานนี้ คือ
     1) แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่รับบริการ ที่เลือก
     2) แสดงเฉพาะกลุ่มวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (vaccine_group="Flu")
     3) เรียงลำดับตามรหัสหมู่บ้าน(villagecode) และเรียงตามงวันที่รับบริการ

     รายงานนี้ สามารถส่งออก Excel ได้ ดังนี้
     1) ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้า  Print to File
     2) Type:   ให้ Drop down เลือก Excel File
     3) Where:  ให้ คลิกที่ปุ่ม: ...
     4) คลิกที่ปุ่ม: OK

    ต้องการใช้รายงานนี้ lrt_flu1.rar ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน
หรือดาวโหลดรายงาน ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/

      ระบบรายงาน  >>  รายงาน  Hosxp pcu




วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายงานทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบปี 2558

     การบันทึกข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบปี 2558 ในโปรแกรม HOSxP PCU   ตามภาพ


     1) แผนก:      ให้ Drop down เลือก อื่นๆ
     2) Vaccine:   ให้ Drop down เลือก วัคซีน dTC คอตีบและบาดทะยักรณรงค์ (20-50 ปี)
รหัสส่งออก = 901


     1) แทบ: การวินิจฉัย   ICD10 = Z235  Need for immunization against tetanus alone

     รพ.สต. หลายแห่ง ขอรายงานทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ โดยอยากรู้ว่าปีที่ผ่านมา ใครได้รับการฉีดวัคซีน dT บ้าง? อยู่บ้านไหน?  นสค. ที่รับผิดชอบคือใคร?  อยู่ในความรับผิดชอบของ อสม. ?  จำนวนเท่าไร?

     ผมจึงได้ออกแบบ/เขียนรายงาน  CUSTOM-LRT-ทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ.cds  ตามภาพ



     เป็นรายงานสำหรับใช้เป็นทะเบียนผู้รับบริการการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ แสดงข้อมูลผู้มารับบริการที่ได้รับการฉีดวัคซีน dT ดึงข้อมูลจากระบบงานเชิงรับ One stop service แสดงวันที่รับบริการ, ชื่อ - สกุล,  เลขบัตรประชาชน, อายุ(ปี), การวินิจฉัย ICD10 = concat(vs.pdx,"  ", vs.dx0,"  ", vs.dx1,"  ",vs.dx2) as Dx, รหัสส่งออก, วัคซีน,  Lot No. , วันหมดอายุ, วันนัดครั้งต่อไป, บ้านเลขที่, หมู่ที่, ตำบล อำเภอ จังหวัด และ อสม. ที่รับผิดชอบ

    เงื่อนไขที่ใช้ในรายงานนี้ คือ
     1) แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่รับบริการ ที่เลือก
     2) แสดงเฉพาะกลุ่มวัคซีน dT (vaccine_group="dT")
     3 เรียงลำดับตามรหัสหมู่บ้าน(villagecode) และเรียงตามงวันที่รับบริการ

     รายงานนี้ สามารถส่งออก Excel ได้ ดังนี้
     1) ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้า  Print to File
     2) Type:   ให้ Drop down เลือก Excel File
     3) Where:  ให้ คลิกที่ปุ่ม: ...
     4) คลิกที่ปุ่ม: OK

    ต้องการใช้รายงานนี้ lrt_dt1.rar ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน
หรือดาวโหลดรายงาน ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/

      ระบบรายงาน  >>  รายงาน  Hosxp pcu



วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แจ้งให้ รพ.สต. ปรับปรุงเวอร์ชั่นเป็น HOSxP PCU: 3.57.10.30

     แจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับเวอร์ชั่นของโปรแกรม HOSxP PCU: 3.57.10.30
ได้เลยครับ  ได้เลยครับ...  อย่าลืม Upgrade Structure, Serial Check  และ  Check/Repair Table

What new in:  HOSxP PCU: 3.57.10.30
     - มีตาราง  4,029  tables เพิ่มขึ้น 3  tables ( HOSxP PCU: 3.57.9.29  มี 4,026 tables )
     - ปรับปรุงระบบส่งออกข้อมูล 43 แฟ้ม ให้สามารถติ๊ก เลือก ทุกคน  หรือ ติ๊ก เลือก เฉพาะข้อมูลในเดือน
     - ปรุงตาราง house_regist_type โดยเพิ่มฟิลด์ export_code

สิ่งที่ต้องทำ
     - เปิดตาราง  house_regist_type  เพิ่มข้อมูลในฟิลด์ export_code  ตามภาพ




ดาวโหลดไฟล์   คลิกที่นี่ครับ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ITL-การบันทึกข้อมูลคัดกรองตรวจ ตา เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม

     สวัสดีครับ พี่น้องชาว Blog ทุกท่าน ในช่วงเวลาก่อนเลิกงาน ผมได้รับข้อความทาง Facebook จาก หน่วยบริการนึง ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ คริคริ อยากให้ผมทำขึ้นตอนการบันทึกข้อมูลคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา-เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของโปรแกรม HOSxP
     เนื่องจากมีแฟนคลับถามไถ่กันเข้ามายังผู้ให้ข้อมูลผมครับ ในใจผมคิดอยู่ว่า เรายังมีคนติดตาม blog ของเราอยู่ด้วย แอบดีใจ มาก ที่ยังมีคนนึกถึงเรา ใจนึงก็อยากจะกลับบ้านพักผ่อน แต่ไหนๆ แฟนคลับ ขอมา เราก็ต้อง จัดให้ สิคราฟฟฟฟ ^_^

สืบเนื่องจากปัญหาการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา-เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในปีงบประมาณที่แล้วจากลิงค์นี้ http://bigbird1983.blogspot.com/2014/03/chronicfu-1.html ผมได้เจอปัญหาจากหน่วยบริการที่ได้พบมา คือ ในโปรแกรม HOSxP นั้น system setting ไม่ได้ตั้งค่าไว้ว่า "ตรวจสอบการมารับบริการของผู้ป่วยคลินิกพิเศษ" ทำให้การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ไม่สามารถส่งออกในแฟ้ม CHRONICFU ได้ วันนี้เราก็มาทบทวนอีกครั้งนะครับ

1.ตรวจสอบการตั้งค่าใน system setting ว่าได้ติ๊กเลือกดังรูปหรือไม่ ในขั้นตอนนี้ต้องให้ผู้ดูแลระบบ หรือ admin ครับเป้นคนตรวจสอบให้

รูปที่ 1

2.เมื่อให้ admin ตรวจสอบตามข้อที่ 1 แล้วนั้น เมื่อห้องบัตรส่งตรวจผู้มารับบริการคลินิกพิเศษ จะต้องขึ้นข้อความ popup แสดงขึ้นมา ดังรูปที่ 2 เมื่อแสดง popup ขึ้นมาแล้วทางห้องบัตรต้องเลือกตามรูปที่ 2 ในกรอบสีแดงครับ ย้ำว่าต้องเลือกนะครับ ถ้าไม่เลือก หรือ ไม่มี popup แสดงตามรูปที่ 2 นี้ ให้กลับไปตรวจสอบข้อที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
 2.1 คลินิกที่นัดมา ให้เลือกคลินิกที่ผู้มารับบริการมารับบริกการในครั้งนั้น (ต้องเลือก)
 2.2 ด้านขวามือในกรอบสีแดงรูปที่ 2 ให้เลือกข้อ 1 หรือ 2 เท่านั้น ครับ  ถ้าผู้มารับบริการมาตามนัด ก็ให้เลือกข้อแรก ถ้ามาผิดนัด ก็ให้เลือกข้อ 2 (ต้องเลือก)



รูปที่ 2

3.ระบบผู้ป่วยนอก > คลินิกพิเศษ > ทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง


รูปที่ 3

4.บันทึกข้อมูลการคัดกรองให้เรียบร้อย ข้อมูลที่ต้องบันทึก มีดังนี้

  • น้ำหนัก
  • รอบเอว
  • อุุณหภูมิ
  • อัตราชีพจร
  • อัตราหายใจ
  • ความดันโลหิต BP
  • ส่วนสูง
  • การสูบบรี่
  • การดื่มสุรา
  • การแพ้ยา



รูปที่ 4


5.ค้นหาผู้มารับบริการที่ต้องการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ดังรูปที่ 5


รูปที่ 5

6.เมื่อเลือกผู้มารับบริการแล้ว ให้คลิกปุ่ม เพิ่มการคัดกรอง ดังรูปที่ 6


รูปที่ 6

7.เลือกวันที่ผู้มารับบริการ ในที่นี้ต้องส่งตรวจและบันทึกข้อมูลภายในวันนะครับ ข้อมูลถึงจะตรงไปตรงมาเป็นธรรมชาติของข้อมูล ดังรูปที่ 7


รูปที่ 7

8.บันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ให้ครบถ้วน ดังรูปที่ 8


รูปที่ 8

9.บันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ให้ครบถ้วน ดังรูปที่ 9


รูปที่ 9

10.เมื่อบันทึกข้อมูลคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา และ เท้า เรียบร้อยแล้วนั้น จะได้ข้อมูลการคัดกรองดังรูปที่ 10


รูปที่ 10

เรียบร้อยแล้วครับในการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ในการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา-เท้า คราวนี้ผมทดสอบส่งออก 43 แฟ้ม มาตรฐาน เอามาตรวจสอบดูนะครับว่าจะมี Error ในแฟ้ม CHRONICFU หรือไม่ เรามาดูกันนะครับ

ส่งออก 43 แฟ้ม ถูกต้อง


ลองนำไฟล์ 43 แฟ้ม ไปตรวจสอบกับโปรแกรม OPPP2010 ของ อ.รังสรรค์ ดูครับจะถูกต้องบ่น้อ อิอิ


เย้ๆๆๆ  No Error ครับ เรียบร้อยโรงเรียนแบบ เบิร์ดๆ ครับ คริคริ

ส่วนรหัส ICD10 ในการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา - เท้า ดังนี้

ตรวจตา
Z010 = Examination Of Eyes And Vision

ตรวจตา แบบ Fundus Camera
Z135 = Special screening examination for eye and ear disorder

ขอบคุณท่านที่ถามหาและติดตาม blog ของผมอยู่ และ ผู้ให้ความรู้แก่ผมในการเขียน blog ในคัร้งนี้ด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูง บ๊ายบาย ^_^

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

43 แฟ้ม-ITL-20-ACCIDENT

20-ACCIDENT

Definition
    ข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน (ER) ของโรงพยาบาล และแผนกทั่วไปของ รพ.สต. ประกอบด้วย

1) ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มารับบริการในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิ

หมายเหตุ
  -  ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มารับบริการ หมายถึง ทั้งที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ และนอกเขตรับผิดชอบ
  -  ผู้ป่วย 1 ราย ที่มารับบริการแต่ละครั้ง มี 1 record โดยสามารถเชื่อมโยงกับแฟ้ม SERVICE ด้วยเลขที่ SEQ ข้อมูลวินิจฉัยโรคอยู่ในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD หัตถการและผ่าตัด อยู่ในแฟ้ม PROCEDURE_OPD หากมีการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลจะเชื่อมกับแฟ้ม ADMISSION, DIAGNOSIS_IPD, PROCEDURE_IPD ด้วย AN ในแฟ้ม SERVICE

ลักษณะแฟ้ม  :  แฟ้มบริการ

   จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มารับบริการ  และส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างแฟ้ม ACCIDENT




ในโครงสร้าง 43 แฟ้ม ของแฟ้ม accident ในช่องสีเขียว เป็นข้อมูลที่ ต้อง บันทึกลงในฐานข้อมูล ผ่านโปรแกรม HOSxP หรือ HIS อื่นๆ ที่หน่วยบริการเลือกใช้ครับ

1.รหัสสถานบริการ :: ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
2,ทะเบียนบุคคล  ห้ามเป็นค่าว่าง (ทะเบียนของบุคคลที่มาขึ้นทะเบียนในสถานบริการนั้นๆ)
3.ลำดับที่  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
4.วันที่และเวลามารับบริการ  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
5.วันที่และเวลาเกิดอุบัติเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
6.ประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
7.สถานที่เกิดอุบัติเหตุ  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
8.ประเภทการมารับบริการกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
9.ประเภทผู้บาดเจ็บ (อุบัติเหตุจราจร)   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
10.ประเภทยานพาหนะที่เกิดเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
11.การดื่มแอลกอฮอลล์   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
12.การใช้ยาสารเสพติดขณะเกิดอุบัติเหตุ   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
13.การคาดเข็มขัดนิรภัย  ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
14.การสวมหมวกนิรภัย   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
15.การดูแลการหายใจ  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
16.การห้ามเลือด  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
17.การใส่ splint/ slab   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
18.การให้น้ำเกลือ   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
19.ระดับความเร่งด่วน   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
20.ระดับความรู้สึกทางด้านตา   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
21.ระดับความรู้สึกทางด้านการพูด   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
22.ระดับความรู้สึกทางด้านการเคลื่อนไหว   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
23.วันเดือนปีที่ปรับปรุงข้อมูล  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)

การบันทึกข้อมูลให้ได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ มีขั้นตอนดังนี้

ระบบผู้ป่วยนอก > Emergency Room > ระบบห้องฉุกเฉิน > เลือกผู้มารับบริการ > เลือกแถบ วินิจฉัย[F2] > อุบัติเหตุ




ข้อมูลในช่องสีแดง ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง) เพื่อวส่งออก 43 แฟ้ม ของแฟ้ม ACCIDENT
ข้อมูลในช่องสีเขียว ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล) 

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รายงานทะเบียนการคัดกรองทะเบียนการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยคลินิกพิเศษ(DM-HT)

     จากกการที่ผมได้มีโอกาสเป็นเป็นกรรมการประเมิน รพ.สต.ดิดดาว ของเขตบริการสุขภาพที่ 8 จึงได้รู้ว่า การประเมินระบบงาน NCD รพ.สต. จะต้องรู้ว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า ไต แล้ว รพ.สต. ต้องบอกได้ว่า ผู้ป่วยมี CKD Stage ไหน?  CKD Stage 3 , 4 , 5 มีจำนวนเท่าไร?  อยู่บ้านไหน?  นสค. ที่รับผิดชอบคือใคร?  อยู่ในความรับผิดชอบของ อสม. ?

     ผมจึงได้ออกแบบ/เขียนรายงาน  CUSTOM-LRT-ทะเบียนการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยคลินิกพิเศษ(DM-HT).cds  ตามภาพ



     เป็นรายงานสำหรับใช้เป็นทะเบียนติดตามการตรวจการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน (ตา, เท้า, ไต) ในผู้ป่วยคลินิกพิเศษ(DM-HT) เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ค่าระดับ CKD Stage  ว่าผู้ป่วยมีควบคุมการทำงานของไตได้หรือไม่

    เงื่อนไขที่ใช้ในรายงานนี้ คือ
     1) ผู้รับบริการต้องลงทะเบียนในคลินิกพิเศษ  และยังไม่จำหน่ายออกจากทะเบียน
     2) ไม่ใช่บุคคลที่เสียชีวิตแล้ว
     3) แสดงข้อมูลตามคลินิกที่เลือก: (คลินิกเบาหวาน หรือ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง)
     4) แสดงข้อมูลตามปีงบประมาณที่เลือก >> โดยดึงข้อมูลจากวันที่มารับบริการในคลินิก(คลินิกเบาหวาน หรือ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง)
     5) แสดงข้อมูลตามสถานะที่เลือก: (ยังรักษาอยู่ , ส่งต่อไปรับการรักษาที่อื่น)
     6) เรียงลำดับตามรหัสหมู่บ้าน

     รายงานนี้ สามารถส่งออก Excel ได้  ตามภาพ



     1) ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้า  Print to File
     2) Type:   ให้ Drop down เลือก Excel File
     3) Where:  ให้ คลิกที่ปุ่ม: ...  (เลือกโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์)
     4) คลิกที่ปุ่ม: OK

     ขอ ขอบคุณ อ.สุพัฒนา  ปิงเมือง ที่ให้คำแนะนำในการเขียนคำสั่ง SQL ครับ... 
 
    ต้องการใช้รายงานนี้ lrt_cormobidity_scr1.rar ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน หรือดาวโหลดรายงาน ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/

      ระบบรายงาน  >>  รายงาน  HOSXP PCU



43 แฟ้ม-ITL-9-PROVIDER

9 - PROVIDER
     หมายถึง ข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล ประกอบด้วย

Definition
     1)  แพทย์และทันตแพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ป่วย
     2)  บุคลากรสาธารณสุขที่ทำหน้าที่ตรวจรักษา หรือให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
     3)  บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยฯ ที่ให้บริการ
     4)  บุคลากรสาขาอื่น (ที่กำหนด) ที่ทำหน้าที่ให้บริการ
     5)  อาสาสมัครสาธารณสุข

หมายเหตุ
     -  บุคลากรผู้ให้บริการ หมายถึง ทั้งที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิ
     -  บุคลากร 1 คน จะมี 1 record หากมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลของบุคลากรผู้ให้บริการ จะบันทึกใน record เดิม ของบุคลากรคนนั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

     1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
     2. กรณีที่มีผู้ให้บริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้บริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง ภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างแฟ้ม


ตารางที่เกี่ยวข้อง 

provider_type รหัสประเภทบุคลากร

01= แพทย์
02= ทันตแพทย์,
03= พยาบาลวิชาชีพ (ที่ทำหน้าที่ตรวจรักษา),
04= เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
05= นักวิชาการสาธารณสุข,
06=เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
07= อสม. (ผู้ให้บริการในชุมชน),
08= บุคลากรแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน แพทย์ทางเลือก (ที่มีวุฒิการศึกษาหรือผ่านการอบรมตามเกณฑ์)
09= อื่นๆ


การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ให้ส่งออกแฟ้ม PROVIDER


การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ในช่องสีแดง ต้องบันทึกข้อมูลลงไปให้ครบถ้วน  เพราะเป็นฟิลด์ตรวจสอบข้อมูลของแฟ้มนี้ ซึ่งไม่สามารถให้เป็นค่าว่างได้ครับ

43 แฟ้ม-ITL-8-DISABILITY

8-DISABILITY
    หมายถึง ข้อมูลผู้พิการ ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย

Definition
   1)  ผู้พิการ ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
   -  ตาม พรบ. มาตรา 4  ผู้พิการ หมายถึง คนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย  ทางสติปัญญา  หรือจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในกฎกระทรวง  หรือบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่อง ทางการเห็น  การได้ยิน  การเคลื่อนไหว  การสื่อสาร  จิตใจ  อารมณ์ พฤติกรรม  สติปัญญา  การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ
   -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
   -  ข้อมูลผู้พิการในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับการวินิจฉัยและ/หรือรักษาโดยสถานพยาบาลอื่น จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลผู้พิการในเขตรับผิดชอบที่ครบถ้วน
   -  ผู้พิการที่มี 1 ประเภทความพิการ จะมี 1 record หากมีมากกว่า 1 ประเภทความพิการ ก็จะมีมากกว่า 1 record และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะบันทึกการแก้ไขใน record เดิม สำหรับความพิการนั้น ของผู้พิการรายนั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

    1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
    2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง ภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างตาราง


ตารางที่เกี่ยวข้อง  คลิก

person_deformed
  ตารางนี้เก็บข้อมูลประชากรที่ขึ้นทะเบียนผู้พิการที่หน่วยบริการได้บันทึกข้อมูลไว้


person_deformed_type (ประเภทความพิการ) เก็บข้อมูลประเภทความพิการ 7 ประเภท ได้แก่
  1-ความพิการทางการมองเห็น
  2-ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
  3-ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
  4-ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
  5-ความพิการทางสติปัญญา
  6-ความพิการทางการเรียนรู้
  7-ความพิการทางออทิสติก



person_deformed_cause_type (สาเหตุความพิการ)
  1.ความพิการแต่กำเนิด
  2.ความพิการจากการบาดเจ็บ
  3.ความพิการจากโรค



การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP

ระบบงานอื่นๆ > ระบบบัญชี 1-8 > ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ) > เลือกบุคคลที่ต้องการบันทึกข้อมูล




วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

43 แฟ้ม - ITL - 4 - CHRONIC

4-CHRONIC

    หมายถึง ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย

Definition

     1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาล ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
   -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
   -  ข้อมูลผู้ป่วยโรครื้อรังในเขตรับผิดชอบ ที่ได้รับการวินิจฉัยและ/หรือรักษาโดยสถานพยาบาลอื่น จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบที่ครบถ้วน
   -  ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง 1 โรค จะมี 1 record หากมีมากกว่า 1 โรค ก็จะมีมากกว่า 1 record และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะบันทึกการแก้ไขใน record เดิมสำหรับโรคนั้น ของผู้ป่วยรายนั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

     1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
     2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างตาราง CHRONIC



ตารางที่เกี่ยวข้อง

ตาราง clinic_member_status

ในตารางนี้ ต้อง  map รหัสส่งออกให้ถูกต้องตามโครงสร้างของแฟ้ม CHRONIC ครับ



ตาราง provis_typedis
   01 = หาย
   02 = ตาย
   03 = ยังรักษาอยู่
   04 = ไม่ทราบ(ไม่มีข้อมูล) ,
   05 = รอจำหน่าย/เฝ้าระวัง
   06 = ขาดการรักษาไม่มาติดต่ออีก (ทราบว่าขาดการรักษา)
   07 = ครบการรักษา
   08  =โรคอยู่ในภาวะสงบ (inactive) ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา
   09 = ปฏิเสธการรักษา
   10 = ออกจากพื้นที่



เพิ่มเติมจาก พี่ทัช รพ.นาเชือก

รหัส icd10 ที่กำหนดตามนี้ครับ



clinic ใดที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ต้องกำหนดให้ถูกต้อง ว่าเป็นคลีนิก ที่จะส่งออกได้หรือไม่ ดูตามตารางด้านบนเป็นหลัก



วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

43 แฟ้ม-ITL-3-DEATH

3 – DEATH (บันทึกใน โรงพยาบาลเท่านั้น)

    หมายถึง ข้อมูลประวัติการเสียชีวิตของประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ และผู้ป่วยที่มารับบริการ ประกอบด้วย

Definition
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้ป่วยที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
    -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
    -  กรณีเสียชีวิตในสถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้บันทึกข้อมูล
    -  สถานบริการระดับปฐมภูมิจะบันทึกข้อมูลประชาชนในเขตรับผิดชอบที่เสียชีวิต เฉพาะกรณีเสียชีวิตนอกสถานพยาบาล และ กรณีเสียชีวิตในสถานพยาบาลที่อยู่นอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ลักษณะแฟ้ม แฟ้มสะสม

    1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1  ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
    2. กรณีที่มีผู้เสียชีวิตหลังเดือนสิงหาคม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้นๆ
    3. กรณีที่มีผู้มารับบริการแล้วเสียชีวิตรายใหม่ หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการที่เสียชีวิตรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง

โครงสร้างตาราง DEATH






ตารางที่เกี่ยวข้อง

ตาราง Death_place  :  1=ในสถานพยาบาล, 2=นอกสถานพยาบาล


43 แฟ้ม-ITL-2-ADDRESS

2 – ADDRESS  
        หมายถึง ข้อมูลที่อยู่ของผู้ที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ หรือประชาชนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย

Definition
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

หมายเหตุ
    -  เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ
    -  ประชาชนผู้ที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ ข้อมูลที่อยู่ จะอยู่ในแฟ้ม HOME สำหรับข้อมูลที่อยู่ในแฟ้ม ADDRESS จะบันทึกเฉพาะข้อมูลที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เฉพาะกรณีที่ทะเบียนบ้านไม่ตรงกับที่อยู่จริงในเขตรับผิดชอบเท่านั้น

ลักษณะแฟ้ม : แฟ้มสะสม

    1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
    2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลาง ภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างตาราง ADDRESS


ในกรอบสีแดง คือข้อมูลที่ ต้อง บันทึกลงไปในฐานข้อมูลนะครับ
 ส่วนของ รหัสสถานบริการ (HOSPCODE) ,ทะเบียนบุคคล PID ,วันเดือนปีที่เก็บข้อมูล D_UPDATE ทางโปรแกรมจะทำการเพิ่มข้อมูลให้อัตโนมัติ

ในกรอบสีน้ำเงิน คือข้อมูลที่ ควร บันทึก หมายถึง ต้องสอบถามข้อมูลจากแหล่งข้อมูลนั้นๆด้วย หากมีข้อมูล ควรบันทึกข้อมูลลงไป เช่น ประเภทที่อยู่ , ลักษณะที่อยู่ , หมู่ที่ , ตำบล , อำเภอ , จังหวัด

ตารางที่เกี่ยวข้อง

House
    ตารางเก็บข้อมูลของแฟ้ม ADDRESS  เช่น เลขห้อง , ชื่ออาคาร , บ้านเลขที่ , ซอย , ถนน , หมู่ที่ , ตำบล , อำเภอ , จังหวัด เป็นต้น

ตาราง House_subtype
    1 = บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
    2 = ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม
    3 = คอนโดมิเนียม
    4 =อพาร์ทเมนท์ หอพัก
    5= บ้านพักคนงาน
    8 = อื่นๆ
    9 = ไม่ทราบ




     การบันทึกข้อมูลที่อยู่ประชากรที่มาอาศัยในเขตรับผิดชอบ ใน 43 แฟ้ม ของโปรแกรม hosxp นั้นต้องบันทึกข้อมูลของประชากรทั้ง Ttpearea 3,4 เพราะ 

Typearea 3 = มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
Typearea 4 = ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ

Definition ของแฟ้ม ADDRESS กล่าวไว้ว่า
  ข้อมูลที่อยู่ของผู้ที่มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ หรือประชาชนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ ประกอบด้วย
    1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบแต่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    2)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ

ดังนั้นการบันทึกข้อมูล แฟ้ม ADDRESS ของโปรแกรม HOSxP นั้นทำได้ดังนี้

ระบบงานอื่นๆ >> ระบบงานบัญชี 1-8 >> ระบบบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ) >> เลือกหมู่บ้านนอกเขตรับผิดชอบ (หมู่ 0) และประชากร Typearea 3 แล้วบันทึกข้อมูลที่อยู่ดังรูป


รูปที่ 1 การบันทึกข้อมูลที่อยู่ของประชากร typearea 3 , 4

เครดิตการบันทึก พี่อาม รพร.ด่านซ้าย

43 แฟ้ม-ITL-1-PERSON

 สวัสดีครับ พี่น้องทีม It-thailoei ทุกท่าน หลายท่านคงทราบแล้วว่า ทาง สนย.(สำนักนโยบายและยุทธศาตร์) ได้ประกาศโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม อย่างเป็นทางการแล้ว และผมได้ติดตามข่าวของโครงสร้าง 43 แฟ้ม มาตลอด ผมจึงได้ทำสรุปของแต่ละแฟ้ม ออกมาให้ทางเพื่อนๆ It-thailoei ได้เข้าใจและได้ตรวจสอบฐานข้อมูล ตามมาตรฐานโครงส้ราง 43 แฟ้ม ครับ เรามาเริ่มกันที่ แฟ้มแรกเลย

1 - PERSON 
        หมายถึง ข้อมูลทั่วไปของประชาชนในเขตรับผิดชอบและผู้ที่มาใช้บริการ ประกอบด้วย
Definition
        1)   ประชาชนทุกคนที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ
        2)   ประชาชนทุกคนที่อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ
        3)   ผู้มารับบริการที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
หมายเหตุ
        เขตรับผิดชอบ ในส่วนของโรงพยาบาล หมายถึง ตำบลที่ตั้งของโรงพยาบาล หรือพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของบริการระดับปฐมภูมิ

ลักษณะแฟ้มแฟ้มสะสม

        1. เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ  กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคม  และปรับฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่  1 ตุลาคม ของทุกปี
        2. กรณีที่มีผู้มารับบริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน หรือมีการปรับแก้ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการรายเดิม ให้ปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

ตารางที่เกี่ยวข้อง

Provis_typearea (สถานะบุคคล)
    1= มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบและอยู่จริง
    2= มีชื่ออยู่ตามทะเบีบนบ้านในเขตรับผิดชอบแต่ตัวไม่อยู่จริง
    3= มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ(ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ)แต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
    4= ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและทะเบียนบ้านไม่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เข้ามารับบริการหรือเคยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
    5=มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น 
(เดิม  ๒๑ แฟ้ม)  (0=มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น  )

  มีการปรับเปลี่ยนรหัสจาก 21 แฟ้ม คือ จาก 0 เป็น 5


รูปที่ 1 typearea 43 แฟ้ม


Provis_pname (คำนำหน้าชื่อ) :  คำนำหน้าชื่อ อ้างอิงมาตรฐานตามกรมการปกครอง

Provis_sex (เพศ) :  1 = ชาย , 2 = หญิง

Provis_occupa (อาชีพ) : รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
    เดิมใช้รหัส 3 หลัก (21 แฟ้ม)
    รหัสอาขีพใหม่ 4 หลัก (43 แฟ้ม)

Provis_race (เชื้อชาติ)  :  รหัสมาตรฐานตามกรมการปกครอง

Provis_religion (ศาสนา) :  รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์


รูปที่ 2 รหัสศาสนา 43 แฟ้ม


Provis_nation (สัญชาติ) : รหัสมาตรฐานตามกรมการปกครอง ถ้าไม่ทราบให้ระบุ 999 ตามรหัสมาตรฐาน

Provis_education (การศึกษา) : รหัสมาตรฐานสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ 

    เดิม 21 แฟ้ม ใช้ 1 หลัก 43 แฟ้ม ใช้ 2 หลัก ซึ่งในฐานข้อมูลของ HOSxP คงต้องรอทาง Provider ปรับในเวอร์ชั่นหลังจากที่ประกาศ Standard Data Set แล้วครับ 


รูปที่ 3  รหัส การศึกษา 43 แฟ้ม


Provis_fstatus (สถานะครอบครัว)  :   1 = เจ้าบ้าน  , 2 = ผู้อาศัย

Provis_dischar (สถานะการจำหน่าย) : 1 = ตาย , 2 = ย้าย  , 3 = สาบสูญ , 9 =ไม่จำหน่าย


รูปที่ 4 รหัส สถานะการจำหน่าย 43 แฟ้ม


Provis_bgroup (หมู่เลือด) :  1 = A , 2 = B , 3 = AB , 4 = O


รูปที่ 5 รหัสหมู่เลือด 43 แฟ้ม


Blood_rh : 1 = positive , 2 = negative


รูปที่ 6 รหัส หมู่เลือด 43 แฟ้ม

ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะแนวทางอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ