พูดถึงเรื่องการตั้งค่าและการใช้งานวัคซีนในโปรแกรม HOSxP เป็นยาขมสำหรับโรงพยาบาลและ รพ.สต.กันพอสมควร ในช่วงที่ผมเริ่มใช้ HOSxP เมื่อปี 2548 เวอร์ชั่นในยุคนั้นยังไม่มีโปรแกรมรองรับระบบงาน PCU แต่ก็มีเมนูบัญชี 1-10 ให้เห็นเป็นความหวังว่าจะมีการพัฒนาในส่วนนี้ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่ 18 แฟ้มเฟื่องฟู จังหวัดร้อยเอ็ดได้ร่วมกับ BMS เพื่อพัฒนา HOSxP PCU ใช้งานทั้งจังหวัด และยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ใช้กันฟรีๆ ทำให้มีการโยกย้ายถ่ายโอนข้อมูลจาก HCIS มาสู่ HOSxP PCU ในหลายพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้หรือเปลี่ยนมาใช้ JHCIS ซึ่งดูเหมือนกว่าจะตอบสนองต่องานของ รพ.สต.ได้ดีกว่า..
ในส่วนของเรื่องวัคซีนหลังจากที่มีการนำเข้ามาใช้ใน HOSxP PCU ซึ่งจะมีระบบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัคซีนอยู่หลายบัญชี เช่น บัญชี 2 ,บัญชี 3 บัญชี 4 และบัญชี 5 ปัญหาของการตั้งค่าวัคซีนที่มีตารางเกี่ยวข้องหลายตัวทำให้แต่ละแห่งมีการตั้งค่าวัคซีนที่แตกต่างกันตามความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งก็พบคำถามในเรื่องของการตั้งค่า การใช้ การแสดงผลในเวปบอร์ดของ HOSxP กันมากมาย แม้กระทั่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2553 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการเปิดห้องสำหรับพูดคุยในหัวข้อเรื่องวัคซีนกันโดยเฉพาะ และเชิญปรมาจารย์อย่างป่าเจดีย์ มาจับเข่าคุยกันแบบเจาะลึกกันทีเดียว..
แต่ถึงกระนั้น ในเรื่องของวัคซีนก็ยังมีคำถามที่ต้องให้คิดให้ตอบกันอีกมากมาย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของวัคซีนรวมและการแสดงผลในโปรแกรม HOSxP ที่ยังไม่ตอบโจทย์ที่ตรงใจผู้ใช้งานมากนัก ผมจึงอยากเขียนบทความในหัวข้อที่เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงวิธีการใช้งานที่ได้จากประสบการณ์ในการทดลองใช้กับฐานข้อมูลของโรงพยาบาล
เอาละครับก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับตารางต่างๆ ใน HOSxP และ HOSxP PCU ด้วยว่ามีตารางที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
ตารางที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
1. vaccine_combination
2. person_vaccine
3. wbc_vaccine
4. baby_items
5. epi_vaccine
6. student_vaccine
7. women_vaccine
8. anc_service
9. provis_vcctype
1. vaccine_combination
ตาราง Vaccine_combination เป็นตารางที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าของวัคซีนโดยเฉพาะตัววัคซีนรวม ช่วงแรกมีการกำหนดค่าในกลุ่มของวัคซีน DTPHB เนื่องจากในช่องการแสดงผลของบัญชี 3 ยังไม่มีช่องแสดงข้อมูลของ DTPHB แต่ว่าในทางปฏิบัติมีการใช้วัคซีนตัวนี้แทน DTP และ HBเพื่อลดจำนวนครั้งในการฉีดให้กับเด็ก ดังนั้นถึงแม้จะมีการเพิ่มข้อมูลวัคซีน DTPHB ในตาราง person_vaccine แต่เวลาประมวลผลความครอบคลุมยังคงคิดในระบบเดิมคือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle ทำให้ต้องกำหนดค่าในvaccine_combination เืพื่อที่เวลาลงการฉีดวัคซีน DTPHB จะมีวันที่ไปแสดงในช่องของวัคซีน DTP และ HB
ใน HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ๆ บัญชี 3 มีช่องแสดงผลของวัคซีน DTPHB ,Measle/MMR และสามารถกำหนดการคำนวนได้ว่าจะใช้วัคซีนตัวในการคำนวนความครอบคลุมทำให้ตาราง vaccine_combination ในปัจจุบันอาจจะไม่ต้องตั้งค่าอะไรที่ซับซ้อนเหมือนแต่ก่อน
2. person_vaccine
ตาราง Person_vaccine เป็นตารางข้อมูลวัคซีน และรหัสต่างๆที่ต้องกำหนดให้ถูกต้องตามมาตรฐานของ สนย.หรือ สปสช. ที่มีการชี้แจงเรื่องการกำหนดค่ามาตรฐานเกี่ยวกับวัคซีนในชุดข้อมูล 18 แฟ้ม หรืออ้างอิงได้จาก http://www.thcc.or.th/download/vaccine.pdf ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานรหัสและ้ข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้ข้อมูลในตารางนี้จึงสามารถอ้างอิงตามชุดข้อมูลมาตรฐานในการกำหนดข้อมูล
3. wbc_vaccine
ตาราง wbc_vaccine เกี่ยวข้องโดยตรงกับบัญชี 3 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเ็ด็ก 0-1 ปี ซึ่งจะมีรายวัคซีนที่ใช้อ้างอิงกับตาราง person_vaccine และ vaccine_combination คือ BCG,HB,DTP,OPV,Measle/MMR, และ DTPHB
วัคซีน DTPHB และ Measle/MMR เป็นวัคซีนรวมที่เพิ่งมีการใช้มาไม่นาน ( DTP ก็เป็นวัคซีนรวมตัวหนึ่ง) ตัววัคซีน DTPHB ก่อนหน้านี้มีการกำหนดใน Vaccine_combination เพื่อให้สามารถแสดงผลใน DTP และ HB ตามที่ผมได้อธิบายใน vaccine_combination แต่ตัว Measle/MMR เป็นวัคซีนที่เริ่มมีการใช้งานในเดือน กรกฎาคม 2553 และกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มกระจายวัคซีน MMR สำหรับให้บริการแก่เด็กอายุ 9-12 เดือน ทดแทนวัคซีน Measle (หัดชนิดเดี่ยว) แต่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ MMR ของนักเรียน ป.1 ที่เดิมทีเข้าใจว่าเป็นรหัสวัคซีนตัวเดียวกัน จึงเรียกกันว่า MMR แต่ใช้รหัสวัคซีนต่างกัน คือ 061 และ 071 ต่อมาจึงมีการปรับชื่อที่ใช้เรียกให้เหมาะสม เป็น Measle/MMR สำหรับเด็ก 0-12 เดือน และ MMR สำหรับเด็ก ป.1 เนื่องจากวัคซีนทั้ง 2 ชนิดผลิดจากเชื้อคางทูมต่างสายพันธุ์กัน และการผลิตวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมีขนาด Single dose (อัตราการสูญเสียวัคซีน 1%) ส่วน MMR ในเด็ก ป.1 มีการผลิตขนาด multiple dose (อัตราสูญเสีย 10 %) ดังนั้นจึงมีข้อห้าม นำวัคซีน MMR ไปฉีดให้กับเด็ก 0-1 ปี แทน Measle/MMR และไม่ควรนำ Measle/MMR ในเด็กเล็กมาฉีดแทน MMR ในนักเรียน ป.1 เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด
4. baby_items
ตาราง baby_items เป็นตารางวัคซีนสำหรับการลงบันทึกข้อมูลกรณีที่มารับบริการโดยผ่านโมดูลของ OPD หรือ ER โดยเฉพาะกับกลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นการฉีดวัคซีน TT ,วัคซีน FLU และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
5. epi_vaccine
epi_vaccine เป็นตารางที่เกี่ยวข้องกับ person_vaccine และใช้ในบัญชี 4 ซึ่งมีรายการวัคซีนที่ใช้ฉีดในเด็ก 1-5 ปี โดยมีรายการวัคซีน คือ JE,DTP,OPV (ซึี่งจะเห็นว่าตัววัคซีน DTP ก็ยังมีใช้อยู่เฉพาะเด็กกลุ่มนี้)
6. student_vaccine
student_vaccine เป็นตารางวัีคซีนที่เกี่ยวข้องกับบัญชี 5 กลุ่มเด็กนักเรียน ซึ่งมีรายการวัคซีนพื้นฐานประกอบด้วย BCGs, dT,MMR, OPVs (โดยวัคซีนกลุ่มนี้จะเห็นว่ามีวัีคซีน dT ที่เป็นวัคซีนสำหรับฉีดในเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์)
7. women_vaccine และ 8. anc_service
ทั้ง 2 ตารางมีความเกี่ยวข้องกับวัีคซีนป้องกันบาดทะัยักในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซี่งต้องมาทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนครับ
1. วัคซีน TT เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันบาดทะยักในในบาดแผล และหญิงตั้งครรภ์ (แต่ก่อนก็ใช้ TT ตัวเดียวนี่แหละครับ)
2. วัคซีน dT เป็นวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ(d) และบาดทะยัก(T) ในฉีดในกลุ่มเด็กนักเรียน และหญิงตั้งครรภ์โดยมีเหตุผลในทางวิชาการสนับสนุนว่าควรกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบซึ่งลดต่ำลงในผู้ใหญ่ที่ไม่มีการติดเชื้อทางธรรมชาติจึงให้ฉีด dTตั้งแต่ปี 2548 เพื่อที่จะได้มีภูมิคุ้มกันทั้งคอตีบและบาดทะยัก ทางสำนักงานควบคุมโรคติดต่อจึงสนับสนุนวัคซีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียน คือ วัคซีน dT แต่ในกลุ่มอื่นเช่น กรณีมีบาดแผลมาที่ห้องฉุกเฉินต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก วัคซีนตัวนี้ไม่มีสนับสนุนโรงพยาบาลจะต้องจัดซื้อเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจจะจัดซื้อเป็น TT อย่างเดียว และมีการกำหนดรหัสขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความชัดเจนออกเป็น dTANC ซึ่งใช้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็สร้างความสับสนให้กับการตั้งค่าฐานข้อมูลพอสมควรดังนั้นในช่วงแรกจึงมีการกำหนดข้อมูลในตาราง women_vaccine และ anc_service เป็น TT/dT บ้าง หรือ dTANC/TT บ้าง ทั้งๆที่วัคซีนสองตัวนี้เป็นคนละชนิดกัน
ในโปรแกรม HOSxP บัญชี 2 ช่องข้อมูลวัคซีน จึงมีช่องสำหรับแสดงวันที่รับวัคซีนของ TT และ dTANC ที่แยกออกจากกันชัดเจนดังนั้นในการเซตค่าฐานข้อมูลของวัคซีน TT และ dT (หรือ dTANC ) ควรเป็นคนละชนิดกันครับ เพราะอาจจะมีบางครั้งที่สถานบริการไม่มีวัคซีน dT ฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์แต่สามารถนำ TT มาฉีดทดแทนได้ เพื่อป้องกันการสับสนจึงควรกำหนดฐานข้อมูลวัคซีนให้ตรงกับการให้บริการจริง โดยสรุปคือ ในตาราง women_vaccine และ anc_service จะมีข้อมูลวัคซีนเพียงแค่ TT และ dTANC
9. provis_vcctype
ตาราง provis_vcctype เป็นตารางสำหรับกำหนดค่าส่งออก 18 แฟ้มครับ
ในตอนต่อไปผมจะนำวิธีการเซตค่าของข้อมูลในต่างๆ มาให้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับว่าควรจะเซตค่าอย่างไรที่จะสามารถทำให้การแสดงผลของวัคซีนถูกต้องในบัญชีต่างๆ ของโปรแกรม HOSxP
ภาพที่ 1 ตารางรหัสวัคซีนมาตรฐาน
ภาพที่ 2 ตารางการเก็บและการบริหารวัคซีน