วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตอนที่ 3

    เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 ผมได้นำเสนอวิธีการบันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูก  โดยใช้โปรแกรม HOSxP_PCU  บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการรับบริการ  และการสั่ง Lab ในตอนที่ 1-2 ไปแล้ว...

     วันนี้ผมมาเขียนต่อ ตอนที่ 3 สาเหตุที่ทิ้งระยะห่างไว้นาน... เนื่องจากโปรแกรม DSHOS_Service  เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ ยังไม่สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear  และส่งออกไฟล์ข้อมูลไม่ได้

     ต้องขอขอบคุณ อ.อาร์ม คนเก่งของเรา ที่กรุณาแก้ error  จนโปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  สามารถพิมพ์ใบนำส่งไสด์ตรวจ Pap Smear  และส่งออกไฟล์ข้อมูลได้สมบูรณ์แล้ว
เริ่มกันเลย นะครับ...

ตอนที่ 3  ใช้โปรแกรม DSHOS_Service Version: 1.55.3.29  บันทึกรายละเอียด การทำ Pap smear และส่งออกข้อมูล Pap smear ให้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0   มีขั้นตอน ดังนี้

     1. เปิดเมนูผู้ป่วยนอก  --->  งานส่งข้อมูล Papsmear  --->  ทะเบียนผู้ป่วย PAP Smear


     2. จะแจ้งเตือน ต้องการเชื่อมต่อ Pap(CxS2010) !!  --->  คลิกปุ่ม  OK
     3. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear


             (1) ให้คลิกที่แทบ  ข้อมูลพื้นฐานผู้ตรวจ Pap smear
             (2) ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการ (บันทึกข้อมูลใน HOSxP_PCU ไว้แล้ว)
             (3) คลิกปุ่ม ค้นหา ---> จะปรากฏรายชื่อผู้รับบริการ
             (4) คลิกเลือกรายชื่อผู้รับบริการ ที่ต้องการ
             (5) คลิกปุ่ม บันทึกรายละเอียด

     4. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear


             (1) สิทธิการรักษา  ท่านต้องระบุสิทธิที่ผู้รับบริการมี (ข้อนี้บังคับให้บันทึก)
             (2) เหตุผลที่มารับบริการ ให้ Drop Down เลือกเหตุผลที่มารับบริการ  ครั้งแรกโปรแกรมจะกําหนดให้เป็น Check up screening  แต่ถ้าผู้รับบริการมีอาการมาตรวจ ให้Drop Down เลือก “เหตุผลอื่น ระบุ ”  แล้วเลือกรายการผิดปกติ หากอาการที่ต้องการบันทึกไม่มีให้เลือก ท่านสามารถ กําหนดเพิ่มได้ โดยการกดปุ่ม “กําหนดเหตุผลเพิ่ม"
             (3) Method of Pap Smear โปรแกรมจะแสดงเป็น Conventional  Pap smear (ป้ายเซลล์บนแผ่นสไลด์) เลือกบันทึกชนิดตัวอย่างที่ป้าย โดยใช้ mouse คลิ๊กในช่องกรอบสี่เหลี่ยม หน้าชนิดตัวอย่างป้ายที่ต้องการ
             (4) F6 การวินิจฉัยจากสิ่งที่ตรวจพบ
                    - บันทึกการวินิจฉัยโรคจากสิ่งที่ตรวจพบ ... ประวัติด้านนารีเวช...
                    - บันทึก PARA  ตั้งครรภ์กี่ครั้ง, คลอดก่อนกำหนดกี่ครั้ง, แท้งกี่ครั้ง และบุตรมีชีวิตกี่คน
                    - บันทึกข้อมูล LMP (บังคับการบันทึก) ท่านสามารถเลือกได้ 3 กรณี โดย drop down (ลูกศรชี้) จะมี 3 ตัวเลือก คือ ระบุวันที่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุวันที่มีประจําเดือนครั้งสุดท้ายก่อนการป้ายเซลล์), จําไม่ได้ (ถ้าเลือกข้อนี้ไม่ต้องระบุเพิ่มเติม),  หมดประจําเดือนแล้ว  (ถ้าเลือกข้อนี้ ท่านต้องระบุว่าหมดประจําเดือนมาแล้วกี่ปี)
            (5) F7 การคุมกําเนิด ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  วิธีการคุมกำเนิด
            (6) F8 ประวัติการรักษา ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  Treatment
            (7) F9 การป้ายเสมียร์ครั้งก่อน เพื่อบันทึกผลตรวจ Pap Smear ครั้งก่อนใน 5 ปี
            (8) ชื่อผู้ทำเสมียร์  ให้ Drop Down เลือกผู้ทำเสมียร์
            (9) หน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง ให้ Drop Down เลือกหน่วยเซลล์ฯที่ต้องการส่ง
           (10) ชื่อผู้บันทึกข้อมูล  ให้ Drop Down เลือก
           (11) กดปุ่ม บันทึกข้อมูล

     5. จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลผู้ป่วยที่ pap smear
 

            (1)  ให้คลิกที่แทบ ส่งออกข้อมูล Pap smear
            (2) ให้ Drop Down เลือก วันที่  ถึง วันที่ ที่ต้องการจะส่งออกข้อมูล
            (3) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบ
            (4)  คลิกที่ปุ่ม นำเข้า PAP_TRAN และ PAP_TR
            (5) จะปรากฏไดอะล็อกบ๊อกซ์ แสดงข้อความ  นำเข้าเสร็จแล้ว!  --->  คลิกที่ปุ่ม OK
            (6) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TR
            (7) คลิกที่ปุ่ม ตรวจสอบตาราง PAP_TRAN
            (8) คลิกที่ปุ่ม ปิดหน้าจอ

     ในตอนต่อไป... ผมจะนำเสนอวิธีการใช้โปรแกรม CxS_2010 Build 2.0  Export ข้อมูล       ชุดข้อมูลที่ 1 (P) ข้อมูลพื้นฐานการตรวจ Pap smear  เพื่อส่งข้อมูลให้หน่วยอ่านเซลล์ (รพ.เลย) และส่งให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (www.cxscreening.net)  ครับ