วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทดสอบ HOSxP PCU Offline Mode


ผมกับพี่อำนวยมีนัดทดสอบระบบ HOSxPPCU Mode offiine ที่ รพ.สต.บ้านผึ้ง ตำบลวังยาว พี่อำนวยแวะมารับผมที่โรงพยาบาล ระหว่างทางเราพูดคุยกันถึงเรื่องกิจกรรมที่จะทำการทดสอบกันในวันนี้ รวมถึงปัญหาการใช้งาน HOSxP PCU ของ รพ.สต.แห่งอื่นๆ ที่พี่อำนวยกับตั้มออกไปติดตามงานในช่วงที่ผ่านมา

อากาศค่อนข้่างดีครับ สบายๆ ไม่ร้อน ฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตกใช้เวลาเดินทางจากโรงพยาบาลถึง รพ.สต.บ้านผึั้งประมาณ 30นาที วันนี้มีคลินิกสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ่อแม่พาเด็กๆนั่งรอกันอยู่หลายคน ระหว่างที่รอหนุ่ย ผู้อำนวยการ รพ.สต.กำลังบริการฉีดวัคซีน พี่อำนวยสำรองข้อมูลและอัพเดตHOSxP PCU เป็นเวอร์ชั่น 3.54.7.4 และไม่ลืม Backup ข้อมูลไว้ก่อนที่จะทำอะไรกับข้อมูลในช่วงต่อไป

วัตถุประสงค์ของการมาทดสอบภาคสนามในวันนี้ มีหลายประเด็นที่ผมสนใจมากกว่าเรื่องของ Offline Mode เพราะถ้าแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวนั่งทดสอบอยู่ที่โรงพยาบาลน่าจะสะดวกสบายมากกว่าและมีข้อมูลการทดสอบ คู่มือเขียนไว้ในบอร์ดของ HOSxPกันพอสมควรอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของวิธีการทำงานต่างหากที่ผมสนใจและอยากรู้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องเอาโน๊ตบุ๊คออกไปให้บริการ มีความยากง่ายมากน้อยแค่ไหนในทางปฏิบัติจริงๆ มีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง ฯลฯ

ระหว่างที่รอการอัพเดตโครงสร้าง ผมสังเกตการลงบันทึกข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสอบถามวิธีการทำงาน ซึ่งผมเข้าใจว่า รพ.สต.แห่งอื่นๆ ก็น่าจะคล้ายๆ กัน คือ เมื่อผู้รับบริการยื่นสมุดสีชมพู เจ้าหน้าที่จะลงบันทึกข้อมูลการเข้ารับบริการผ่านทะเบียนการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และในสมุดสีชมพูให้เรียบร้อยก่อนที่ฉีดวัคซีนให้เด็ก

ซึ่งจากการสังเกตพบว่าเจ้าหน้าที่ต้องลงบันทึกข้อมูลต่างๆเฉพาะการให้บริการฉีดวัคซีน ดังนี้
  1. สมุดสีชมพู
  2. ทะเบียนการรับบริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  3. แฟ้มครอบครัว
  4. โปรแกรม HOSxP PCU
ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน แต่วิธีการทำงานในรูปแบบเดิมทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานซ้ำซ้อน เมื่อลงบันทึกเอกสารต่างๆ ครบเรียบร้อยแล้วก็จะนำข้อมูลบริการไปลงบันทึกในโปรแกรม HOSxP PCU เป็นขั้นตอนสุดท้าย ดังนั้นไม่น่าแปลกใจครับว่าทำไมข้อมูลลงครบบ้าง ไม่ครบบ้าง..


หลังจากที่ผมอัพเดต HOSxP PCU เป็นเวอร์ชั่นใหม่ และทำการสำรองข้อมูลเข้าไปในโน๊ตบุ๊คตัวที่จะนำไปใช้ออกสำรวจข้อมูลภาคสนามเรียบร้อย จับเวลาการตั้งแต่ Backupจนถึงนำเข้าข้อมูลในโน๊ตบุ๊คใช้เวลาประมาณ 30นาที เมื่อข้อมูลทุกอย่างพร้อมแล้ว พวกเราจึงออกเดินทางโดยหนุ่ย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านผึ้ง ออกไปติดตามเยี่ยมบ้านและลงบันทึกข้อมูลจริง

บ้านเป้าหมายที่ออกติดตาม เป็นบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และในครอบครัวนี้มีเด็กที่ต้องติดตามวัคซีน/ภาวะโภชนาการ อุปกรณ์ที่นำออกไป มีมอเตอร์ไซด์ 1 คัน โน๊คบุ๊ค 1 ตัว กล้องดิจิตอล อีก 1 ตัว และเครื่องอ่านบัตรประชาชน 1 ตัว หลังจากการพูดคุยทักทายกับเจ้าของบ้าน หนุ่ยเปิดโน๊ตบุ๊คเพื่อลงบันทึกข้อมูล โดยเริ่มตั้งแต่พูดคุยสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการสำรวจบ้าน เท่าที่สังเกตวิธีการทำงานก็ยังดูไม่ค่อยสะดวกนัก อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่ง หนุ่ยไม่คุ้นกับการใช้ mouseและคีย์บอร์ดของโน๊ตบุ๊คมากนัก และแสงสว่างที่จ้ามากเกินไปของบริเวณสถานที่นั่งพูดคุยกันก็มีผลต่อการลงบันทึกข้อมูลพอสมควร



ในการลงบันทึกข้อมูลหลังคาเรือนทดลองเก็บภาพโดยการใช้กล้องจากมือถือถ่ายรูปและตั้งชื่อเป็นรหัสประจำบ้านแต่พบว่าถ้าจะนำเข้าภาพในขณะนั้นเลยอาจจะไม่สะดวกนัก จึงควรถ่ายเก็บภาพไว้ก่อนแล้วจึงเอาไปนำเข้าภายหลังข้อมูลบุคคลมีการตรวจสอบและแก้ไขโดยใช้ร่วมกับเครื่องอ่าน Smart card เพื่อดึงข้อมูลจากบัตรประชาชน พบว่าการนำเข้าข้อมูลสามารถนำเข้าได้ตามปกติทำให้ได้ภาพถ่ายจากบัตรประชาชน แต่ที่ไม่มีข้อมูลของลายนิ้วมือนำเข้ามาด้วยเหมือน HOSxP เมื่อดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนเรียบร้อยก็จะลงข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ สำหรับคนที่ยังไม่มีบัตรประชาชนต้องมีการถ่ายภาพเพิ่มเติม พบว่าถ้าใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพแล้วจะนำรูปมาใส่เรียบร้อยทีเดียวเลยนั้น คงต้องถอด Memory card เข้าๆออกๆ หรือใช้สายเชื่อมต่อกล้องกับโน๊ตบุ๊คแล้วค่อยนำเข้ารูปของในแต่ละคน ดูแล้วไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ ถ้ามีเวปแคมติดตามด้วยอีกสักตัวน่าจะดีกว่า


ในกรณีนี้ถ้ามีเวปแคมน่าจะทำให้การเก็บภาพบุคคลสะดวกมากขึ้น และเพื่อที่จะเก็บภาพบุคคลได้ทันที เราจึงให้หนุ่ยลองใช้กล้องเวปแคมของโน๊คบุ๊คไปพลางๆก่อน


แต่ผลก็อย่างเห็นในภาพแหละครับไม่ค่อยสะดวกนัก เวลาที่จะใช้งานจริงๆ หลังจากนั้นเป็นการลงบันทึกข้อมูลการรักษา ข้อมูลการเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเยี่ยมติดตามภาวะโภชนาการของเด็ก โชคไม่ค่อยดีนักมีฝนตกหนักทำให้ต้องเปลี่ยนแผนจากที่ต้องออกไปเก็บข้อมูลเยี่ยมบ้าน ข้อมูลชุมชน ร้านค้า ฯลฯ อื่นๆ เพิ่มเติมต้องพักเอาไว้ก่อน จึงกลับมาที่ รพ.สต.เพื่อโอนข้อมูลกลับเข้าไปในฐานจริง

ในระหว่างที่ให้หนุ่ยกำลังสอบถามและบันทึกข้อมูล ผมก็เก็บภาพและจดบันทึกว่ามีการแก้ไขข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่จะเอาไว้เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลเวลาที่ทำการ Synchronize กลับเข้าฐานเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่เก็บตัวอย่างมามีดังนี้
  1. การสำรวจข้อมูลบ้าน/สุขาภิบาล
  2. การแก้ไขข้อมูลบุคคล Patient /person
  3. การตรวจรักษา
  4. การเยี่ยมบ้านคลินิกพิเศษ และเยี่ยมบ้านทั่วไป
การ Synchronize ข้อมูลกับฐานจริงใช้เวลาไม่นานนัก อาจจะเป็นเพราะปริมาณข้อมูลที่ไม่ได้เยอะมาก โดยก่อนที่จะ Synchronize ข้อมูลโปรแกรมจะสอบถามให้เลือกวันที่ที่ต้องการก่อน และหลังจากนำเข้าไปเรียบร้อยจึงทำการตรวจสอบข้อมูลในฐานจริง ซึ่งพบว่าข้อมูลที่ทดสอบไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการตรวจรักษา,การสำรวจสุขาภิบาล การเยี่ยมบ้าน ฯลฯ ข้อมูลสามารถ Synchronize ได้สมบูรณ์ยกเว้นเพียงแค่ภาพถ่าย ทั้งภาพถ่ายบ้านและภาพถ่ายบุคคลไม่ถูกนำเข้ามาด้วย

บทสรุป
ารใช้ HOSxP PCU offline Mode สามารถนำไปใช้งานโดยลงบันทึกข้อมูลลงในโน๊ตบุ๊ค และนำมา Synchronize กลับเข้าฐานข้อมูลจริงสามารถทำได้ดี และข้อมูลที่ทดสอบมีความครบถ้วน ยกเว้นข้อมูลภาพถ่ายต่างๆ แต่ต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเข้าใจวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง และหากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.แห่งใดจะนำไปใช้จริงควรเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ให้พร้อม และเหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อที่จะช่วยในการเก็บบันทึกข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น

การนำคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊คใส่ฐานข้อมูลของ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ออกไปให้บริการประชาชนในหมู่บ้านและติดตามงาน ใช้ข้อมูลในการดูประวัติและบันทึกข้อมูลผ่าน เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของงานสาธารณสุขเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในยุคนี้ไอที ซึ่ง ณ วันนี้พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าในส่วนของ Hardware Software ในปัจจุบันมีความพร้อมใช้และเพียงพอ

แต่ที่สำคัญที่ต้องมาคิดกันต่อ คือ "คน" ที่จะลงไปทำงานในพื้นที่เท่านั้นเองว่ามีความพร้อมกับวิธีการทำงานแบบไฮเทคโนโลยีแบบใหม่กันมากน้อยแค่ไหน???