แจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับเวอร์ชั่นของโปรแกรม HOSxP_PCU เป็นเวอร์ชั่น 3.56.10.11
ได้เลยครับ ได้เลยครับ... อย่าลืม Upgrade Structure, Serial Check และ Check/Repair Table
What new in : HOSxP_PCU version: 3.56.10.11
- ปรับปรุงระบบการส่งข้อมูล 21 แฟ้ม ให้สามารถส่งออกโรคเรื้อรัง แฟ้ม Chronic
โดยติ๊กเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก All PP data
และติ๊กเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ส่งเฉพาะ TypeArea 1,3 ตาราง Person,Chronic
ดาวโหลดไฟล์ คลิกที่นี่ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
การสำรวจข้อมูลโรคเรื้อรัง CHRONIC
แฟ้ม CHRONIC ลักษณะแฟ้ม : เป็นแฟ้มสะสม เก็บข้อมูลโดยการสำรวจ กำหนดให้ทำการสำรวจปีละ 1 ครั้ง ส่งข้อมูลปีละ 1 ครั้ง
ปัญหา/ข้อบกพร่องของการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรัง (CHRONIC)
1) มีวันที่ลงทะเบียน แต่ไม่มีข้อมูลปีที่เริ่มเป็น, โรค, สถานะ, ICD10
2) มี วันที่ลงทะเบียน, โรค แต่ไม่มีข้อมูลปีที่เริ่มเป็น, สถานะ, ICD10
ปัญหา/ข้อบกพร่องของการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรัง (CHRONIC)
1) มีวันที่ลงทะเบียน แต่ไม่มีข้อมูลปีที่เริ่มเป็น, โรค, สถานะ, ICD10
2) มี วันที่ลงทะเบียน, โรค แต่ไม่มีข้อมูลปีที่เริ่มเป็น, สถานะ, ICD10
1) มีการจำหน่ายออก Person (สถานะปัจจุบัน: เสียชีวิต, มีวันที่จำหน่าย, ติ๊กในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เสียชีวิต)
2) แต่ไม่มีข้อมูลการจำหน่ายออก Chronic แทบ: โรคประจำตัว (ไม่ติ๊กในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ จำหน่ายออก, วันที่จำหน่าย: ไม่คีย์ข้อมูล)
เมื่อส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม ตามภาพ
1) ฟิลด์ chronic: ว่าง คือ ไม่มีคีย์ข้อมูล ICD10
2) ฟิลด์ chronic: รหัส ICD10 โรคเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคเรื้อรัง
3) ฟิลด์ typedis: 02 = ตาย แต่ไม่มีวันที่จำหน่าย ฟิลด์ datedis: ว่าง
เมื่อตรวจสอบข้อมูล 21 แฟ้มด้วยโปรแกรม OP-PP2010 version 4.0.31 For 2557 (30-09-2556) ตามภาพ
โปรแกรมจะแจ้ง รายการตรวจข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ
วิธีแก้ปัญหา
กรณีที่ (1) มีวันที่ลงทะเบียนฯ ให้ตรวจสอบความถูกต้อง
- ถ้าเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง (CHRONIC) ให้คีย์ข้อมูลปีที่เริ่มเป็น, ICD10, โรค: ให้เลือกกลุ่มโรค, สถานะ ให้ถูกต้อง
- ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยเรื้อรัง (CHRONIC) ให้ลบรายการนั้นลงทะเบียนออก
กรณีที่ (2) มีการจำหน่ายออก ให้คีย์ข้อมูลสถานะ และ วดป.ที่จำหน่าย ด้วย
กรณีที่ (3) มีวันที่ลงทะเบียน แต่ข้อมูล ICD10 ไม่ถูกต้อง >> ให้ตรวจสอบรหัสโรคเรื้อรัง ICD10 TM จากไฟล์ ChronicCode.xlsx หรือ รหัสมาตรฐาน ในโปรแกรม OP-PP2010 for 2556
นำรหัส ICD10 ไปใช้บันทึกข้อมูลในบัญชี 1 ---> เมนูโรคประจำตัว ---> ICD10 ---> บันทึก
การบันทึกข้อมูลโรคเรื้อรัง จะต้องบันทึกให้ครบทุกช่อง (ข้อ 1 – 5)
1) คีย์วันที่ลงทะเบียน
2) ปีที่เริ่มเป็น ให้คีย์ปี พ.ศ. เช่น 2551
3) โรค ให้เลือกคลินิก เบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูง หรือ อื่น ๆ
4) สถานะ ให้เลือก 01 = หาย , 02 = ตาย , 03 = ยังรักษาอยู่ , 04 = ไม่ทราบ(ไม่มีข้อมูล) , 05 = รอจำหน่าย/เฝ้าระวัง, 06=ขาดการรักษาไม่มาติดต่ออีก (ทราบว่าขาดการรักษา), 07=ครบการรักษา, 08=โรคอยู่ในภาวะสงบ (inactive)ไม่มีความจำเป็นต้องรักษา, 09=ปฏิเสธการรักษา, 10 = ออกจากพื้นที่
5) ICD10 ให้คีย์รหัสโรคเรื้อรัง โดยตรวจสอบรหัสโรคเรื้อรัง จากไฟล์ ChronicCode.xlsx หรือ รหัสมาตรฐาน ในโปรแกรม OP-PP2010 for 2556
การจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังออกจากทะเบียน
6) จำหน่ายออก ให้ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
7) วันที่จำหน่าย ให้คีย์วันที่จำหน่าย
8) ถ้ามีการลงทะเบียนไม่สมบูรณ์ทุกช่อง(ข้อ 1-5) ให้ลบข้อมูลการลงทะเบียนออก
โดยคลิกที่หัวแถวที่ไม่สมบูรณ์ แล้วคลิกที่เครื่องหมายลบ ที่แทบล่างปุ่มนำทาง Nevigator
รหัสมาตรฐานโรคเรื้อรัง ที่จะใช้ในปีงบประมาณ 2557 ตามโครงสร้างฐานข้อมูลฯ 21 แฟ้มมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2557 สามารถโหลดไฟล์ ***ChronicCode.rar*** ได้ที่่เว็บไซต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
ระบบรายงาน >> รายงาน Hosxp pcu
ระบบรายงาน >> รายงาน Hosxp pcu
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)