วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิเทศงาน คปสอ.นาด้วง

28 ก.ค.2554
....
วันสุดท้ายของการนิเทศงานรอบนี้สิ้นสุดที่คปสอ.นาด้วงครับ ในส่วน รพ.สต.เป้าหมายในช่วงเช้าอยู่ที่ รพ.สต.นาดอกคำครับ ตอนที่มาอบรม HOSxP PCU ให้กับอำเภอนาด้วง ใช้ที่นี่เป็นสถานที่ฝึกอบรมกันครับ เป็น รพ.สต.ที่มีความพร้อมหลายๆอย่าง ทั้งระบบอินเตอร์เนตก็ใช้ได้ดีทีเดียว
มีน้องๆเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ต่างๆ 3-4 คน รออยู่ก่อนหน้าแล้ว พวกเราจึงเริ่มพูดคุยกันไปเรื่อยๆก่อนที่จะเข้าเนื้อหาหลักๆของการมาติดตามนิเทศงาน โดยพี่แม้วเปิดรายการแนะนำวัตถุประสงค์ของการมาก่อนจะโยนไมค์ให้ต๋อง  ส่วนพี่เข้และผมปิดท้ายเช่นเคย..

เท่าที่ดูจากข้อมูล ในเรื่องของความสมบูรณ์ รพ.สต.นาดอกคำ ทำได้ค่อนข้างดีครับ ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลงบันทึกข้อมูลที่ทำไม่ทัน ซึ่งเป็นปัญหาคล้ายๆกับหลายๆพื้นที่ ที่ภาระงานในการจัดทำข้อมูลซ้ำซ้อนในงานบริการ 1 งานต้องลงข้อมูลชุดเดียวกันประมาณ 3-4 รายการ ไม่น่าแปลกครับว่าทำไมลงข้อมูลกันไม่ทัน 

ผมถามว่าทำไมไม่ลดการเขียนข้อมูลในทะเบียนและใช้วิธีการพิมพ์รายงานแทน น้องๆให้คำตอบว่าต้องเก็บข้อมูลทะเบียนต่างๆไว้ เพราะเวลาที่"ผู้นิเทศ"ออกมาติดตามจะขอดูทะเบียนรายงานต่างๆ ซึ่งถ้าไม่ลงก็ไม่ได้ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ข้อมูลบริการส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการเขียนทะเบียน และแฟ้มครอบครัวเสร็จแล้วจะเก็บไว้ลงบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในภายหลัง  บางวันมีอัตรากำลังอยู่กันไม่กี่คน จึงต้องเก็บข้อมูลเอาไว้ลงทีหลัง ถ้าดีหน่อยก็ลงได้วัีนต่อวัน ถ้ายุ่งมากหน่อย ก็เก็บไว้รอลงวันถัดไป หรือสัปดาห์ถัดไป..



โอกาสพัฒนา
  1. อบรมเพิ่มเติมรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงบันทึกข้อมูลให้กับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
  2. การปรับวิธีการทำงาน และการจัดทำรายงานเพื่อแสดงผลงานแทนทะเบียนต่างๆ
  3. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้นิเทศงานเวลาที่มาติดตามงานว่า โปรแกรม HOSxP PCU สามารถทำอะไรได้บ้าง และผู้นิเทศควรจะติดตามตรวจสอบคุณภาพของงานตนเองอย่างไร โดยไม่เป็นการไปเพิ่มภาระงานกับผู้ปฏิบัติ


13.30 น.
ช่วงบ่ายทีมเข้านิเทศงานที่ รพ.นาด้วงครับ  มีทีมงานรอรับการนิเทศหลักๆ เป็นผู้ที่เกีี่ยวข้องกับการใช้และดูแลเรื่องคุณภาพของข้อมูล ซึ่งทางทีมได้ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานต่างๆในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการใช้งานพบว่ายังมีปัญหาเรื่องการลงบันทึกข้อมูล


ในส่วนของผู้ป่วยนอกลงบันทึกข้อมูลได้ค่อนข้างดีครับ แต่ยังไม่ได้ใช้ออกใบเสร็จจากโปรแกรม HOSxP ทำให้ยังมีข้อมูลผู้ป่วยรอชำระเงินอยู่ในระบบ สาเหตุเนื่องมาจากระบบผู้ป่วยในยังลงข้อมูลไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องใช้วิธีการสรุปค่าใช้จ่ายเองและออกใบเสร็จด้วยการเขียน

รพ.นาด้วง หลังจากที่อบรมและขึ้นระบบได้ไม่นานก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลระบบ เนื่องจากสอบบรรจุได้ทำให้ต้องรับบุคลากรใหม่ การดูแล การประสานงาน และการสื่อสารทำความเข้าใจกับทีมงานยังทำได้ไม่ค่อยดี บางเรื่อง เช่น การอัพเดต Version ใหม่ของ HOSxP ทำให้ผู้ดูแลเลือกอัพเดตเวอร์ชั่นในบางเครื่องทำให้มีปัญหาการใช้งานเนื่องจากการใช้ Version ที่แตกต่างกัน

โดยสรุปมีประเด็นซึ่งที่ประชุมเห็นพร้อมร่วมกันที่จะต้องรีบดำเนินการในสัปดาห์หน้า คือ
  1. การอัพเดต HOSxP ให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน
  2. การปรับฐานข้อมูลวัคซีนให้เป็นปัจจุบัน
  3. การทำทะเบียนรายงานนัดให้แสดงรายการวัคซีน 
ซึ่งในส่วนของทะเบียนรายงานต่างๆ คงจะต้องทำให้ครอบคลุมของ รพ.สต.ไปพร้อมๆกัน

สรุปประเด็นๆสำคัญจากการนิเทศงาน
งานที่ต้องเร่งดำเนินการ
  1. การติดตั้ง Hardware และขึ้นระบบ HOSxP ให้ รพ.ปากชม
  2. ปรับปรุงและแก้ไข Hardware และ ระบบเครือข่าย ของ สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  3. ฝึกอบรมบุคลากรดูแลให้ รพ.ท่าลี่ ,สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  4. ประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้นิเทศงาน
  5. ปรับฐานข้อมูล และ อัพเวอร์ชั่น HOSxP รพ.นาด้วง,สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  6. จัดทำรายงาน แบบฟอร์มต่างๆ เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่




หลัีกการคิด Performance สำหรับข้อมูล OP/PP Individual ปี 2554

หลังจากที่งาน ICT ร่วมกับ คุณเดชา ได้ออกนิเทศงาน 4 คปสอ. มาแล้ว แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่อง Performace ของข้อมูล OP/PP เลย ดังนั้นจึงขอทบทวนหลักเกณฑ์การคิด Performace ของข้อมูล OPPP Indidual สำหรับปีงบประมาณ 2554 นี้ กันอีกสักหน่อยนะคะ
->การคิดค่า Performace จะคิดแยกจากการประมวลผล Point ของข้อมูลนะคะ โดยค่า Performace เป็นการคิดในเชิงของคุณภาพข้อมูลใน 3 เรื่อง คือ
1. คุณภาพข้อมูล พิจารณาใน 4 ตัวแปร ได้แก่ Person, Diag, Proced และ Drug
โดยที่ทุกตัวแปร หากมีคุณภาพข้อมูลถูกต้อง > 95 % จะได้ Point 0.2 Point
คุณภาพข้อมูลถูกต้อง 90.1-95 % จะได้ Point 0.1 Point
คุณภาพข้อมูลถูกต้อง 85.1-90 % จะได้ Point 0.05 Point
2. ข้อมูลซ้ำซ้อน ถ้าน้อยกว่า 5 % ได้ Point 0.2 Point
3. ความทันเวลา หากทันเวลา > 95 % จะได้ 0.2 Point
ทันเวลา 90.1-95 % 0.1 Point
ทันเวลา 85.1-90 % 0.05 Point
ทั้งนี้ การประมวลผล Performance รอบแรกประมวลผลข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. 2554 สปสช.ได้ประมวลผลและจัดสรรเงินให้ทุกหน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลต่าง ๆ สปสช.เขต 8 โอนตรงให้หน่วยบริการเอง แต่ รพ.สต. ต่าง ๆ โอนผ่าน สสจ. ซึ่ง สสจ.กำลังดำเนินการโอนเงินให้หน่วยบริการต่าง ๆ รายละเอียดข้อมูลและจำนวนงบประมาณที่ได้รับสามารถดูในกล่องหนังสือของทุกหน่วยบริการค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิเทศงาน คปสอ.ภูกระดึง

06.45 น.

ปั่นจักรยานออกจากบ้านตั้งแต่เช้าเข้าไปเคลียงานเอกสารบนโต๊ะทำงาน ก่อนที่จะขับรถยนต์ออกจากโรงพยาบาลโดยวันนี้ภาระกิจยังเป็นการออกนิเทศงานกับทีม ICT สสจ.เลย ระหว่างเส้นทางก่อนถึงโคกงามหมอกลงจัด อากาศข้างนอกเย็นค่อนข้างหนาว แต่ข้างในรถขับไปกลับร้อนอบอ้าวชอบกล ขนาดผมเปิดเบอร์ 5 สุดๆ แล้ว แค้แอร์ที่เปิดไว้ก็มีลม..แต่ไม่เย็น..

เมื่อวันจันทร์ขับมายังปกติดี ไม่มีปัญหา แต่ไหงวันนี้แอร์ดันมาเสียซะนี่ ด้วยความรีบผมจึงขับไปเรื่อยๆเพราะเกรงว่าจะไปถึงเมืองเลยสาย ดีแต่ว่าอากาศข้างนอกเย็น เลยเปิดหน้าต่างรับแอร์ธรรมชาติดีว่า


มาถึง สสจ.เลยทันตามกำหนดเวลา ระหว่างที่รอดับเครื่องอดไม่ได้ที่จะลองดูที่แอร์อีกครั้งว่าทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่ามันถึงไม่เย็น ปิด เปิด ดูก็ยังเหมือนเดิม จนมาแอะใจกับปุ่ม A/C ที่ปกติมันจะมีไฟสีเขียวติด ...ชะ อุ้ย

ลองกดดูไฟเขียวติด กดอีกทีไฟเขียวดับ..เฮ้อ..ไม่น่าโง่เลยตู







08.45 น.
 

ทีมงานเดินทางออกจาก สสจ.เลย จุดหมายปลายทางในวันนี้ในช่วงเช้าที่ รพ.สต.นาแปนใต้ ของ คปสอ.ภูกระดึง  ผมได้ยินแว่วๆว่า รพ.สต.แห่งนี้กำลังจะส่งประกวดอะไรซักอย่าง สภาพแวดล้อมโดยทั่วๆไปจึงกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทาสี ไล่ลงมาตั้งแต่หลังคาที่ลงทุนทาสีแดงมองเห็นโดดเด่นแต่ไกลๆ ป้ายสถานีอนามัยใหม่เอี่ยม

ทีมงานของ คปสอ.ภูกระดึงรอเตรียมพร้อม นำทีมโดย ประสงค์ ศิษย์เก่าด่านซ้าย เคยทำงานด้วยกันสมัยที่ผมยังเป็นนักวิชาการอยู่ที่ สสอ. ส่วนประสงค์รักษาการหัวหน้า สอ.กกจำปา อยู่หลายปีก่อนจะย้ายกลับมาที่ภูกระดึง  มีการกล่าวต้อนรับและแนะนำตัวกันพอเป็นพิธีก่อนที่เริ่มชี้แจงเนื้อหาสาระสำคัญของการมาติดตามงาน  ซึ่งเป็นหน้าที่ของยอดชายนายต๋องทำหน้าที่ชี้แจงเช่นเคย



ส่วนพี่เข้ และผมทำหน้าที่ในเรื่องการตอบคำถามในส่วนของการใช้ HOSxP PCU รวมถึงการตรวจสอบฐานข้อมูล จากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล  ซึ่งพบปัญหาใสส่วนของบัญชี 1,2 ,3 ที่ไม่สมบูรณ์ มีข้อมูลเก่าและยังไม่ถูกจำหน่ายยังมีอยู่มาก ความเข้าใจในเรื่องของการบันทึกและส่งออกข้อมูลยังเป็นประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากที่อบรมอยู่พอสมควร 

วันนี้ไม่รู้ว่าอากาศร้อน หรือทีมนิเทศอ่อนอกอ่อนใจกับข้อมูลที่ยังมีปัญหาค่อนข้างมาก มองดูสีหน้า แววตาของคนฟัง และบรรยากาศในห้องประชุม ดูแล้วขาดชีวิตชีวายังไงชอบกล... คำถามในห้องประชุมมีไม่มากนัก ทำให้เวลาของการประชุมจบลงแบบไม่ยืดเยื้อ


    มื้อเที่ยงมีข้าวเหนียว ส้มตำ ผัดผัก เกาเหลา และตบตูดด้วยแตงโมเป็นของหวานปิดท้ายรายการ  

    เดินทางออกจาก รพ.สต.นาแปนใต้ มุ่งไปยังจุดหมายต่อไป คือ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติกิ่งอำเภอหนองหิน.. 

     แม้จะเป็นเวลาบ่ายกว่าๆ แล้ว แต่ยังมีคนไข้รอรับบริการจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จึงยังคงวุ่นวายกับการให้บริการ ทีม สสจ.และผมจึงเดินสำรวจพื้นที่ภายในอาคารตามห้องต่างๆ  ดูแล้วสารภาพตรงๆครับว่ารู้สึกเหนื่อย....ยังไงไม่รู้

    สภาพห้องเก็บ server สาย LAN ระโยงระยาง บ่งบอกสภาพระบบเครือข่ายที่วางอย่างหละหลวม หลายจุดใช้กระดาวกาวปิดแปะไว้..

    แม้จะมีสถานะเป็นสถานีอนามัย แต่ที่นี่ใช้ HOSxP แบบเดียวกับที่โรงพยาบาลใช้ เพราะมีแพทย์ พยาบาล เภสัช ห้องบัตร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพ ทันตาภิบาล อยู่ประจำ..

    ต๋องใช้เวลาชี้แจงเรื่องปัญหา และวิธีการตรวจสอบและส่งข้อมูลไม่นานนัก ก่อนจะที่โยนไมค์ให้ผม..ร้องเพลง เอ๊ย..อธิบายต่อ

    โดยส่วนตัวแล้วผมเองวันนี้ค่อนข้างหนักใจกับปัญหาการใช้งานของที่นี่ เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจวิธีการลงบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องค่อนข้างมาก ระบบเครือข่ายที่ยังมีปัญหา รวมถึงระบบงานที่ยังต้องทำงานซ้ำซ้อนกันอย่างมาก.. ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่ายที่จะแก้ไข


    ผมใช้วิธีการเรียนจากคำถาม การให้เจ้าหน้าที่ลองทำให้ดู และการสอบถาม ซึ่งหลายๆปัญหาต้องเรียนกันตามตรงครับว่าที่นี่ต้องมาฝึกอบรมบุคลากรเรื่องการใช้งาน HOSxP แบบชุดใหญ่ ปัญหาที่พบ อย่างแรกคือการใช้งาน HOSxPของเครื่องลูกข่ายมีมากกว่า 4 เวอร์ชั่้น ตั้งแต่เวอร์ชั่นปี 53ก็ยังมี และฐานข้อมูลอัพเดตล่าสุดที่เวอร์ชั่น 3.54.2.2  ส่วนการใช้งานยังทำคู่ขนานกับระบบ Manual ระบบทะเบียนรายงานยังอยู่แบบครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นทะเบียนนัด ทะเบียนส่งต่อ ฯลฯ หลายโมดูลไม่ได้ใช้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทันตกรรม การลงข้อมูลเป็นหน้าที่ของน้องเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ซึ่งแน่นอนครับว่าข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้แค่ Dx ยา และค่าใช้จ่ายที่ไม่ครบถ้วน.. ทางทีมจึงให้แบงค์อัพสอนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอัพเวอร์ชั่นให้เป็นตัวเดียวกัน และสอนเรื่องการใช้โปรแกรม teamviewer โปรแกรม join.me เพื่อใช้ในการติดต่อสอบถามการใช้งานโปรแกรม  ในส่วนเรื่องอื่นๆผมไม่ได้ตอบคำถามมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จะเริ่มตอบจากตรงไหนก่อนดี  และภาพจากโปรเจคเตอร์วันนี้ดูแล้วทรมานสายตามากกว่าที่จะช่วยเรื่องการนำเสนอ

    ผม...

    ขับรถกลับด้วยความรู้สึกหลายๆอย่าง..มีหลายเรื่องยังคงค้างคาใจ..แค่คิดปรุงแต่งไปว่าจะต้องทำโน้น ทำนี่ อีกเยอะแค่นี้ก็เหนื่อยแล้วครับ  หลายๆเรื่องบางอย่างก็ยากเกินไปเพราะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ความใส่ใจ ให้ความสำคัญของผู้บริหารและคนที่ทำงานเอง...




    บทส่งท้าย...

    นักดนตรีคนหนึ่ง ยืนอยู่บริเวณทางเข้า สถานีรถไฟใต้ดิน " L‘Enfant Plaza” (วอชิงตัน ดี ซี) สักพักใหญ่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในวันอันแสนหนาว เมื่อเดือน มกราคม  เขาเล่นดนตรีหลายเพลง นานถึง 45 นาทีขณะนั้น เป็นเวลา ประมาณ 8.00 น. ผู้โดยสารนับพัน นับหมื่น รีบเร่งเดินทางไปทำงาน การแสดงผ่านไป 3 นาที ชายกลางคนชลอความเร็วลง หยุดฟังไม่กี่วินาที แล้วเร่งฝีเท้าเดินจากไป เวลาผ่านไปอีก 1 นาที นักดนตรี ได้รับเงิน 1 ยูเอส ดอลล่าร์ แรก จากหญิงสาวคนหนึ่ง แต่หล่อนก็ไม่ได้หยุดฟัง เวลาผ่านไปหลายนาที

    มีผู้โดยสารคนหนึ่งหยุดดูอยู่ฝั่งตรงข้าม หลังจากเหลือบดูนาฬิกาข้อมือแล้วก็เดินจากไป สิ่งที่ทำให้ให้นักคนตรีคนนี้ประทับใจก็คือ เด็กชาย อายุ 3 ขวบ หยุดฟังการแสดงอย่างสนใจ แต่มารดา ทั้งฉุดทั้งดึงให้ลูกชายเดินต่อไปแต่เด็กชาย เดินไปพลาง เหลียวหลังหันมาดู จนเดินลับตาไป

    ตลอดเวลา การแสดง 45 นาที นั้น มีเพียง 7 คน ที่หยุดดูการแสดง
    เขาได้รับเงินจากการแสดง 32 ยูเอสดอลล่าร์
    เมื่อเขาจบการแสดง ไม่มีคนสนใจ ไม่มีใครปรบมือให้ ในจำนวนคนนับพันที่ผ่านไปมา
    มีเพียง 1 คน เท่านั้น
    ที่สนใจการแสดงของเขาจริงๆ

    ไม่มีใครรู้ว่า แท้จริงแล้ว เขาคือ Josbua Bell
    หนึ่งในนักดนตรีไวโอลินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน

    เขาเลือกเล่นเพลงที่จัดว่าเล่นยากที่สุดในโลก มาแสดงในวันนั้น
    ที่สถานีรถไฟใต้ดิน นอกจากนั้น ไวโอลินที่ใช้เล่น
    เป็นไวโอลินอิตาลีที่ผลิตในปี ค.ศ. 1713 มีมูลค่าสูงถึง 3 ล้าน 5 แสน
    ยูเอสดอลล่าร์ (ประมาณ 117 ล้าน บาท)


    ก่อนหน้าการแสดงที่สถานีรถไฟใต้ดิน 2 วัน เขาได้เข้าร่วมการแสดงดนตรีที่
    บอสตัน ถึงแม้บัตรจะราคาหลายร้อยเหรียญสหรัฐ แต่บัตรก็ขายจนหมด
    นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง

    การที่ Joshua Bell ไปเล่นไวโอลิน ที่สถานีรถไฟใต้ดินนั้น
    ทีมงานหนังสือพิมพ์ออนไลน์วอชิงตัน จัดทำขึ้น วัตถุประสงค์
    เพื่อทดสอบพฤติกรรมของคน ในการรับรู้ รสนิยม และ ปฎิกิริยา

    เพื่อต้องการคำตอบที่ว่า ขณะที่คนเราอยู่ในที่สาธารณะ
    อยู่ในเวลาที่รีบเร่ง คนเราจะยังสามารถรับรู้ความสุนทรีย์รอบข้างได้หรือไม่
    เราสามารถหยุด เพื่อรับรู้ความสวยงามเหล่านี้ได้หรือไม่
    เราสามารถค้นพบอัจฉริยะในสภาพแวดล้อมที่รีบเร่งหรือไม่

    อาจจะมีบทสรุปคือ .....
    หากคนเราคิดว่า ไม่มีเวลาที่จะหยุดลงสักครู่
    เพื่อฟังดนตรีที่บรรเลงโดยนักดนตรีที่มีความสามารถเล่นเพลงที่แต่งอย่างสละสลวย
    ไม่รู้ว่า.... ยังมีคนอีกมากมายเท่าไร
    ที่พลาดสิ่งดีๆรอบตัวไปอย่างน่าเสียดาย ....
    คัดลอกจาก วินบุ๊คคลับ


    วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    นิเทศงาน คปสอ.ท่าลี่

    วันนี้ผมมีโปรแกรมออกไปนิเทศงานร่วมกับทีม ICT ของจังหวัดเลย เดินทางออกจากด่านซ้ายตั้งแต่หกโมงครึ่งกะว่าจะเบิ่งรถไปให้ทันเคารพธงชาติเวลาแปดนาฬิกา..แต่พอวิ่งเลยผ่านตำบลสานตม ฝนก็เทกระหน่ำสร้างบรรยากาศพิศวงราวกับว่าขับรถเข้าสู่แดนสนธยา จึงต้องค่อยๆคืบคลานขับรถด้วยความเร็ว ประมาณ 40-50 กม./ชม.

    นานมากแล้วครับที่ไม่เคยมา สสจ.แต่เช้าอย่างนี้ จนรู้สึกแปลกๆที่มีจอดรถเหลือเฟือให้เลือกช่องจอดได้สบายๆมีเวลาทักทายกับพี่ๆหลายท่าน จนกระทั่งทีมมาพร้อมกันล้อรถจึงเริ่มหมุนออกจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย..

    ทีมที่ไปด้วยกันวันนี้มีพี่จ๋อย พี่แม้ว พี่เข้ ผม ต๋อง และแบงค์ ระหว่างทางที่นั่งรถตู้มีเรื่องราวมากมายที่พูดคุยกันไปตั้งแต่เรื่องเบาๆอย่างแชร์ลอตเตอรี่จนถึงเรื่องหนักๆอย่างเรื่องการบ้านการเมือง.. ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอท่าลี่ประมาณ 40 กม.กว่าๆ ใช้เวลาไม่นานนัก พวกเราไปถึงที่ รพ.สต.บ้านเมี่ยง ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของการนิเทศงานกันในช่วงเช้า...


    เริ่มต้นรายการโดยต๋องชี้แจงเิ่รื่องของคุณภาพการส่งออกข้อมูลในภาพรวมของจังหวัด และแยกรายอำเภอ โดยเฉพาะข้อมูลของอำเภอท่าลี่ ที่ยังมีปัญหา error อยู่บ้าง จริงๆจะว่าไปภาพรวมของข้อมูลในระดับ รพ.สต.ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี เพียงแต่เทคนิควิธีการคีย์ข้อมูล การตรวจสอบ และการส่งออกที่ยังคงต้องเพิ่มเติมกันอีกสักหน่อย

    ในส่วนของ สสอ.ท่าลี่ มีอาคมเป็นทีม Admin ที่ยังคงไว้ใจได้ และมีบทบาทอย่างมากในสมัยที่ยังใช้งานโปรแกรม HCIS  จากการสังเกตและพูดคุย พบประเด็นที่น่าสนใจที่คงต้องช่วยกันคิดต่อครับ


    ข้อชื่นชม

    1. ข้อมูลส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างดีครับ ถ้าให้คะแนนแบบกะด้วยสายตาน่าจะมากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งหากตรวจสอบในรายละเอียด วิธีการลงบันทึก และส่งออกอีกนิดหน่อยคงจะเฉียดๆ ร้อยได้สบายๆ
    2. ระบบ internet ใช้ได้ดี เหมาะแก่การประชุมทางไกล และการรีโมท
    3. การสำรองข้อมูลทำแบบ Auto ทุกวัีนครับ ถือว่าทำได้ดี
    โอกาสพัฒนา
    1. Server ยังใช้ระบบปฏิบัติการเป็น Windows server ด้วยเหตุผลและความจำเป็น แต่เป็นประเด็นที่น่าจะแก้ไขโดยด่วน
    2. การลงบันทึกข้อมูลส่วนใหญ่ ใช้วิธีการลงย้อนหลัง และรูปแบบการทำงานเดิมๆ.. แต่มีเหตุผลเด็ดๆที่ทีมงานของ รพ.สต.พูดไว้ คือ "ไม่ไว้(วาง)ใจระบบคอมพิวเตอร์" ซึ่งนี้เป็นเรื่องที่ำสำคัญเพราะถ้าหากใดที่คนใช้ยังไม่ไว้ใจโอกาสที่จะเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานจะยังอยู่ในรูปแบบเดิมๆ
    3. ข้อมูลที่สำรองไว้ ผมไม่แน่ใจว่าเคยเอามาทดสอบหรือเปล่าว่ามันใช้ได้จริง..เพราะบางทีมันอาจจะใช้ไม่ได้..ใครจะไปรู้ ถ้าไม่ลองนำมาใช้ restore ดู
    4. ใช้ HOSxP PCU ที่ไม่อัพเดตครับ ทำให้ไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นใหม่ๆได้..
    ช่วงท้ายๆรู้สึกว่าคำถามคำตอบกำลังได้ที่เริ่มมันส์..ทำให้กว่าจะได้กินข้าวเที่ยงกันปาเข้าไปเกือบบ่ายโมง หลังจากอิ่มหนำสำราญด้วยอาหารกล่อง ลำใย และเงาะสถานีอนามัย(ที่อร่อยกว่าเงาะโรงเรียน) พวกเราจึงมุ่งหน้าไปต่อที่โรงพยาบาลท่าลี่..

     

    ระหว่างทางผ่านสถานที่กำลังก่อสร้างพระพุทธรูป ลองใช้มือถือ แชะ เก็บภาพแบบด่วนๆ


     

    โรงพยาบาลท่าลี่..เท่าที่ทราบยังไม่มี Admin ประจำเป็นของตัวเอง มีแต่ฝาก..และฝังไว้กับทีมงานบางคนให้ช่วยดูแลระบบคอมพิวเตอร์แบบห่างๆอยู่..

    ผ่านห้องฟาร์ม Server แว๊ปๆ นึกว่าโชว์รูมขายคอมพิวเตอร์มือสอง เพราะมองเห็นเคสวางเรียงราย ในขณะที่ใช้เครื่องสำรองไฟ(UPS)อยู่ไม่กี่เครื่อง ซึี่งผมไม่ค่อยแน่ใจว่าถ้าไฟดับมันจะคงยังทำหน้าที่ได้อย่างห้าวหาญ..ต่อสู้กับ Server ไำด้หลายเครื่องพร้อมๆกัน.ได้หรือเปล่า

    เนื่่องจากยังขาดแคลน admin ทำให้การประสานงานเรื่องนิเทศงานยังติดขัดทำให้ไม่ีมีสัญญานตอบรับจากหมายเลขที่เรียก แต่ก็โชคดีทีี่ท่าน ผอ.สั่งการ ตามทีมงานหลักๆ เข้ามาร่วมประชุมพร้อมกันโดยใช้เวลาไม่นานนัก..

    ทีมงาน รพ.ท่าลี่และทีม สสจ.แลกเปลี่ยนพูดคุยประเด็นปัญหากันในหลายๆเรื่อง ในส่วนของข้อมูล PP พบว่าการส่งออกเป็น 0 ซึ่งทีมงานยืนยันว่าลงข้อมูลจริงแท้แน่นอน.. ทำให้ต้องช่วยกันตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากอะไร


    จากการตรวจสอบข้อมูลในโปรแกรม HOSxP รพ.ท่าลี่ใช้ 3.54.2.22 และมีห้องแลปใช้เวอร์ชั่น 3.53.7.18 ที่ยังแอบโบ..อยู่เพียงเครื่องเดียว ผลการตรวจสอบข้อมูลในส่วนบัญชี 1 พบว่ายังมีปัญหาเรื่อง CID และการเชื่อมข้อมูลด้วย patient link ในส่วนบัญชี 2-3 มีการลงบันทึกข้อมูลครบถ้วนครับ แต่ไม่บังคับส่งออกทำให้ข้อมูล MCH และ PP ไม่มีข้อมูลออกไป และการส่งออก 18 แฟ้ม ก็ส่งออกแบบ "รพ." ไม่ได้เลือก "รพ.+PCU" ทำให้ผลงานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

    ในส่วนของฐานข้อมูลยังมีปัญหาอยู่หลายตาราง รวมถึงวิธีการบันทึก และ FLOW การทำงานที่น่าจะต้องทำความเข้าใจและปรับกันพอสมควร..
      

    ช่วงสุดท้ายของการประชุม ผู้อำนวยการเข้ามาร่วมรับฟังปัญหา และรับปากเรื่องที่จะช่วยเร่งพลักดันการสนับสนุนต่างให้โดยเร็วซึ่งผมขอสรุปประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ครับ

    1. ปัญหาใหญ่ที่สุดของ รพ.ท่าลี่ ในขณะนี้น่าจะเป็นเรื่องการขาดผู้ดูแลระบบ ทำให้การช่วยประสานงานและแแก้ไขปัญหาทางด้านเทคนิคต่างๆให้กับทีมงาน ซึ่งผู้อำนวยการรับปากจะให้ผู้ที่ดูแลอยู่ในขณะนี้มาทำงานเต็มเวลา และในตำแหน่งงานเดิมจะจ้างคนมาทดแทน ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งทีมจังหวัดเองต้องจัดอบรมความรู้ให้กับ Admin ใหม่โดยด่วน
    2. ปัญหาเรื่อง Network  ที่จะต้องมีการรื้อและวางระบบใหม่เพื่อให้บริหารจัดการเครือข่ายมีความเสถียรและความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจำเป็นที่ต้องใช้ทีมชุดใหญ่มาช่วยกันทำเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งทำโดยเร็วเช่นกัน
    3. ปัญหาเรื่องการแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด ในระยะสั้นสามารถใช้ tools ของ DsHOS แก้ไขได้บางส่วนแต่ในระยะยาวคงต้องอบรมชี้แจงทีมงานของ รพ.ท่าลี่เพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการลงบันทึกข้อมูล โดยเฉพาะ รพ.ที่อยู่ติดชายแดนและมีผู้ป่วยจาก สปปล.มาใช้บริการ ซึ่งได้แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้ครับ
      • ใช้เครื่องอ่าน smartcard มาช่วยในการตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำเข้ารูปและลายนิ้วมือ
      • ในส่วนของผู้ป่วย สปปล.ให้สแกนลายนิ้วมือทุกราย
      • เร่งเคลียปัญหา CID ซ้ำซ้อนซึ่งมีประมาณ 800 กว่า
    4. การตรวจสอบข้อมูลและส่งออก คงต้องฝึกอบรมและทำความเข้าใจกับทีมงานอีกพอสมควร ซึ่งอาจจะยังคงมีปัญหาอีกหลาย รพ. ที่อาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องการตรวจสอบ และการส่งออกข้อมูล
    5. การปรับปรุง FLOW และวิธีการทำงานของ รพ.ท่าลี่ คงต้องมาวิเคราะห์กันอีกครั้งให้เหมาะสมตามบริบทขององค์กร
    สี่โมงเย็นกว่าๆ..
    พวกเราร่ำลาทีมงาน รพ.ท่าลี่ และเดินทางออกจาก รพ.ท่าลี่ ท้องฟ้าในยามนี้สว่างสดใสไม่เหมือนกับเมื่อเช้าที่อึมครึมเต็มไปด้วยเมฆและสายฝน ระหว่างขากลับพวกเราพูดคุยกันอย่างสบายๆปัญหาหลายอย่างรู้ว่ามันเป็นปัญหาและรู้วิธีแก้แล้ว ส่วนตัวผมมีเรื่องที่น่าพอใจอย่างแรกคือ ผมเห็นผู้บริหารอย่างพี่จ๋อย พี่แม้ว ออกมาร่วมนิเทศงานด้วย เพราะหลายๆเรื่องมันไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์กับโปรแกรม HOSxP มันยังมีเรื่องการจัดการหลายๆ อย่างที่ทำได้ในเชิงบริหารซึ่งทั้งสองท่านจะต้องช่วยพลักดัน อย่างที่สองได้เห็นคุณหมอนิ่ม..ผอ.รพ.ท่าลี่ ซึ่งเข้ามาร่วมรับฟังสรุปและรับปากในการที่จะช่วยผลักดันในการแก้ไขปัญหาตามที่ทีมงานเสนอ..ส่วนจะช้าหรือเร็วก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป..

    บทส่งท้าย..
    น้องที่เข้าร่วมประชุมที่ รพ.สต.บ้านเมี่ยง ถามผมประโยคหนึ่งที่น่าสนใจว่า "ทำครั้งนี้แล้วมันจะจบไหม๊"  และสะท้อนถึงความในใจของผู้ปฏิบัติที่ต้องทำข้อมูลซ้ำๆ ตั้งแต่ยุคบัญชี 1-10 เปลี่ยนมาเป็น HCIS และ HOSxP PCU ซึ่งหลายปีที่วนเวียนทำกับฐานข้อมูลเดิมๆ

    ..................

    ผม : พรุ่งนี้ออกนิเทศที่ไหนครับ
    ต๋อง : อ.ปากชมครับพี่
    พี่จ๋อย : พรุ่งนี้พี่รออยู่ที่เดิมนะ
    พี่เข้ : ส่วนพี่จะรออยู่นาอ้อ
    ผม : งั้น..ผมก็จะรออยู่ด่านซ้ายละกันครับ (มุกๆ)
    ที่ม : ฮา..
    พี่จ๋อย : โอเคเลย งั้นพี่จะส่งเฮลิคอปเตอร์ไปรับ (ฮิ้ว)
    ผม : !!! เอ่อ..ขอบคุณครับ งั้นผมว่า ผมขับรถมาเองดีกว่าครับ
    ทีม..ฮา...



    19.00 น. ถึงบ้าน..หิวข้าวสุดๆ เยยย..

    วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    ทดสอบ HOSxP PCU Offline Mode


    ผมกับพี่อำนวยมีนัดทดสอบระบบ HOSxPPCU Mode offiine ที่ รพ.สต.บ้านผึ้ง ตำบลวังยาว พี่อำนวยแวะมารับผมที่โรงพยาบาล ระหว่างทางเราพูดคุยกันถึงเรื่องกิจกรรมที่จะทำการทดสอบกันในวันนี้ รวมถึงปัญหาการใช้งาน HOSxP PCU ของ รพ.สต.แห่งอื่นๆ ที่พี่อำนวยกับตั้มออกไปติดตามงานในช่วงที่ผ่านมา

    อากาศค่อนข้่างดีครับ สบายๆ ไม่ร้อน ฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตกใช้เวลาเดินทางจากโรงพยาบาลถึง รพ.สต.บ้านผึั้งประมาณ 30นาที วันนี้มีคลินิกสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ่อแม่พาเด็กๆนั่งรอกันอยู่หลายคน ระหว่างที่รอหนุ่ย ผู้อำนวยการ รพ.สต.กำลังบริการฉีดวัคซีน พี่อำนวยสำรองข้อมูลและอัพเดตHOSxP PCU เป็นเวอร์ชั่น 3.54.7.4 และไม่ลืม Backup ข้อมูลไว้ก่อนที่จะทำอะไรกับข้อมูลในช่วงต่อไป

    วัตถุประสงค์ของการมาทดสอบภาคสนามในวันนี้ มีหลายประเด็นที่ผมสนใจมากกว่าเรื่องของ Offline Mode เพราะถ้าแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวนั่งทดสอบอยู่ที่โรงพยาบาลน่าจะสะดวกสบายมากกว่าและมีข้อมูลการทดสอบ คู่มือเขียนไว้ในบอร์ดของ HOSxPกันพอสมควรอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของวิธีการทำงานต่างหากที่ผมสนใจและอยากรู้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องเอาโน๊ตบุ๊คออกไปให้บริการ มีความยากง่ายมากน้อยแค่ไหนในทางปฏิบัติจริงๆ มีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง ฯลฯ

    ระหว่างที่รอการอัพเดตโครงสร้าง ผมสังเกตการลงบันทึกข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสอบถามวิธีการทำงาน ซึ่งผมเข้าใจว่า รพ.สต.แห่งอื่นๆ ก็น่าจะคล้ายๆ กัน คือ เมื่อผู้รับบริการยื่นสมุดสีชมพู เจ้าหน้าที่จะลงบันทึกข้อมูลการเข้ารับบริการผ่านทะเบียนการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และในสมุดสีชมพูให้เรียบร้อยก่อนที่ฉีดวัคซีนให้เด็ก

    ซึ่งจากการสังเกตพบว่าเจ้าหน้าที่ต้องลงบันทึกข้อมูลต่างๆเฉพาะการให้บริการฉีดวัคซีน ดังนี้
    1. สมุดสีชมพู
    2. ทะเบียนการรับบริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
    3. แฟ้มครอบครัว
    4. โปรแกรม HOSxP PCU
    ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน แต่วิธีการทำงานในรูปแบบเดิมทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานซ้ำซ้อน เมื่อลงบันทึกเอกสารต่างๆ ครบเรียบร้อยแล้วก็จะนำข้อมูลบริการไปลงบันทึกในโปรแกรม HOSxP PCU เป็นขั้นตอนสุดท้าย ดังนั้นไม่น่าแปลกใจครับว่าทำไมข้อมูลลงครบบ้าง ไม่ครบบ้าง..


    หลังจากที่ผมอัพเดต HOSxP PCU เป็นเวอร์ชั่นใหม่ และทำการสำรองข้อมูลเข้าไปในโน๊ตบุ๊คตัวที่จะนำไปใช้ออกสำรวจข้อมูลภาคสนามเรียบร้อย จับเวลาการตั้งแต่ Backupจนถึงนำเข้าข้อมูลในโน๊ตบุ๊คใช้เวลาประมาณ 30นาที เมื่อข้อมูลทุกอย่างพร้อมแล้ว พวกเราจึงออกเดินทางโดยหนุ่ย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านผึ้ง ออกไปติดตามเยี่ยมบ้านและลงบันทึกข้อมูลจริง

    บ้านเป้าหมายที่ออกติดตาม เป็นบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และในครอบครัวนี้มีเด็กที่ต้องติดตามวัคซีน/ภาวะโภชนาการ อุปกรณ์ที่นำออกไป มีมอเตอร์ไซด์ 1 คัน โน๊คบุ๊ค 1 ตัว กล้องดิจิตอล อีก 1 ตัว และเครื่องอ่านบัตรประชาชน 1 ตัว หลังจากการพูดคุยทักทายกับเจ้าของบ้าน หนุ่ยเปิดโน๊ตบุ๊คเพื่อลงบันทึกข้อมูล โดยเริ่มตั้งแต่พูดคุยสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการสำรวจบ้าน เท่าที่สังเกตวิธีการทำงานก็ยังดูไม่ค่อยสะดวกนัก อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่ง หนุ่ยไม่คุ้นกับการใช้ mouseและคีย์บอร์ดของโน๊ตบุ๊คมากนัก และแสงสว่างที่จ้ามากเกินไปของบริเวณสถานที่นั่งพูดคุยกันก็มีผลต่อการลงบันทึกข้อมูลพอสมควร



    ในการลงบันทึกข้อมูลหลังคาเรือนทดลองเก็บภาพโดยการใช้กล้องจากมือถือถ่ายรูปและตั้งชื่อเป็นรหัสประจำบ้านแต่พบว่าถ้าจะนำเข้าภาพในขณะนั้นเลยอาจจะไม่สะดวกนัก จึงควรถ่ายเก็บภาพไว้ก่อนแล้วจึงเอาไปนำเข้าภายหลังข้อมูลบุคคลมีการตรวจสอบและแก้ไขโดยใช้ร่วมกับเครื่องอ่าน Smart card เพื่อดึงข้อมูลจากบัตรประชาชน พบว่าการนำเข้าข้อมูลสามารถนำเข้าได้ตามปกติทำให้ได้ภาพถ่ายจากบัตรประชาชน แต่ที่ไม่มีข้อมูลของลายนิ้วมือนำเข้ามาด้วยเหมือน HOSxP เมื่อดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนเรียบร้อยก็จะลงข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ สำหรับคนที่ยังไม่มีบัตรประชาชนต้องมีการถ่ายภาพเพิ่มเติม พบว่าถ้าใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพแล้วจะนำรูปมาใส่เรียบร้อยทีเดียวเลยนั้น คงต้องถอด Memory card เข้าๆออกๆ หรือใช้สายเชื่อมต่อกล้องกับโน๊ตบุ๊คแล้วค่อยนำเข้ารูปของในแต่ละคน ดูแล้วไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ ถ้ามีเวปแคมติดตามด้วยอีกสักตัวน่าจะดีกว่า


    ในกรณีนี้ถ้ามีเวปแคมน่าจะทำให้การเก็บภาพบุคคลสะดวกมากขึ้น และเพื่อที่จะเก็บภาพบุคคลได้ทันที เราจึงให้หนุ่ยลองใช้กล้องเวปแคมของโน๊คบุ๊คไปพลางๆก่อน


    แต่ผลก็อย่างเห็นในภาพแหละครับไม่ค่อยสะดวกนัก เวลาที่จะใช้งานจริงๆ หลังจากนั้นเป็นการลงบันทึกข้อมูลการรักษา ข้อมูลการเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเยี่ยมติดตามภาวะโภชนาการของเด็ก โชคไม่ค่อยดีนักมีฝนตกหนักทำให้ต้องเปลี่ยนแผนจากที่ต้องออกไปเก็บข้อมูลเยี่ยมบ้าน ข้อมูลชุมชน ร้านค้า ฯลฯ อื่นๆ เพิ่มเติมต้องพักเอาไว้ก่อน จึงกลับมาที่ รพ.สต.เพื่อโอนข้อมูลกลับเข้าไปในฐานจริง

    ในระหว่างที่ให้หนุ่ยกำลังสอบถามและบันทึกข้อมูล ผมก็เก็บภาพและจดบันทึกว่ามีการแก้ไขข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อที่จะเอาไว้เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลเวลาที่ทำการ Synchronize กลับเข้าฐานเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่เก็บตัวอย่างมามีดังนี้
    1. การสำรวจข้อมูลบ้าน/สุขาภิบาล
    2. การแก้ไขข้อมูลบุคคล Patient /person
    3. การตรวจรักษา
    4. การเยี่ยมบ้านคลินิกพิเศษ และเยี่ยมบ้านทั่วไป
    การ Synchronize ข้อมูลกับฐานจริงใช้เวลาไม่นานนัก อาจจะเป็นเพราะปริมาณข้อมูลที่ไม่ได้เยอะมาก โดยก่อนที่จะ Synchronize ข้อมูลโปรแกรมจะสอบถามให้เลือกวันที่ที่ต้องการก่อน และหลังจากนำเข้าไปเรียบร้อยจึงทำการตรวจสอบข้อมูลในฐานจริง ซึ่งพบว่าข้อมูลที่ทดสอบไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการตรวจรักษา,การสำรวจสุขาภิบาล การเยี่ยมบ้าน ฯลฯ ข้อมูลสามารถ Synchronize ได้สมบูรณ์ยกเว้นเพียงแค่ภาพถ่าย ทั้งภาพถ่ายบ้านและภาพถ่ายบุคคลไม่ถูกนำเข้ามาด้วย

    บทสรุป
    ารใช้ HOSxP PCU offline Mode สามารถนำไปใช้งานโดยลงบันทึกข้อมูลลงในโน๊ตบุ๊ค และนำมา Synchronize กลับเข้าฐานข้อมูลจริงสามารถทำได้ดี และข้อมูลที่ทดสอบมีความครบถ้วน ยกเว้นข้อมูลภาพถ่ายต่างๆ แต่ต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเข้าใจวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง และหากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.แห่งใดจะนำไปใช้จริงควรเตรียมข้อมูล และอุปกรณ์ให้พร้อม และเหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อที่จะช่วยในการเก็บบันทึกข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น

    การนำคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊คใส่ฐานข้อมูลของ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ออกไปให้บริการประชาชนในหมู่บ้านและติดตามงาน ใช้ข้อมูลในการดูประวัติและบันทึกข้อมูลผ่าน เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของงานสาธารณสุขเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ในยุคนี้ไอที ซึ่ง ณ วันนี้พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าในส่วนของ Hardware Software ในปัจจุบันมีความพร้อมใช้และเพียงพอ

    แต่ที่สำคัญที่ต้องมาคิดกันต่อ คือ "คน" ที่จะลงไปทำงานในพื้นที่เท่านั้นเองว่ามีความพร้อมกับวิธีการทำงานแบบไฮเทคโนโลยีแบบใหม่กันมากน้อยแค่ไหน???


    วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    การทำ COCKPIT ง่ายๆ ด้วยสเปรตชีตของ google


    เอกสารใน Goolgel อย่าง สเปรตชีต นอกจากจะมีรูปร่างหน้าตาและวิธีการทำงานคล้ายๆกับ Excel แล้ว ยังมีลูกเล่นในการทำกราฟอย่าง COCKPIT ได้อย่างน่าสนใจ และสามารถใน Code มาแปะเพื่อแสดงผลงานในหน้าเวปได้ง่ายๆอีกด้วย

    มีผู้สนใจเมล์มาสอบถามผมว่า วิธีทำกราฟแบบ COCKPIT แบบที่แสดงในหน้าเวปของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายทำอย่างไร ผมเลยถือโอกาสนำมาเป็นหัวข้อในการเขียน Blog ในวันนี้ ไปดูวิธีทำกันครับ

    1.เริ่มต้นกันด้วยการจัดทำเอกสาร สเปรตชีต โดยตัวอย่างตามภาพผมลงบันทึกข้อมูลตัวชี้วัด และใช้สูตรคำนวณในบางเซลล์เหมือนการใช้งาน Excel ตามปกติครับ โดยเซล์ตัวอย่างที่ผมจะนำไปใช้ในการทำกราฟแบบ COCKPIT คือ C3 ที่มีค่าเท่ากับ 18.00
    ภาพที่ 1

    2. ให้เพิ่ม sheet เปล่าขึ้นมาอีก 1 sheet ปรับขนาดของเซลล์ตามความต้องการที่จะวางกราฟ เสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่มแทรกแผนภูมิ

    ภาพที่ /
    3. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างเครื่องมือแก้ไขแผนภูมิให้เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการนำมาแสดงผลในกราฟ (4) ข้อมูลตัวอย่างที่ผมนำมาแสดงคือ ข้อมูลใน sheet ของ KPI เซลล์ C3 หลังจากนั้นให้เลือกประเภทของกราฟที่ต้องการนำมาแสดง (5) โปรแกรมจะแสดงตัวอย่างของกราฟ COCKPIT แต่เป็นกราฟสีขาวแต่ยังไม่มีสีแสดงความก้าวหน้าของงาน ให้เลือก Tabกำหนดค่า (6)

    ภาพที่ 3

    4. การกำหนดค่าในแผนภูมิ COCKPIT จะมีช่องให้กำหนดชื่อแผนภูมิ และช่วงของข้อมูลต่ำสูดและสูงสุดของมาตรวัดที่จะเป็นข้อมูลสเกลในกราฟ ส่วนการกำหนดสีสามารถเลือกกำหนดได้ 3 สี โดยมีสีแดง สีเหลือง และสีเขียว

    ภาพที่ 4


    เมื่อกำหนดค่าต่างๆในกราฟเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มแทรก จะได้กราฟนำเสนอผลงานแบบ COCKPIT ในส่วนของเข็มในกราฟจะแสดงผลขึ้นหรือลงตามตัวเลขในช่องข้อมูลที่กำหนด ซึ่งตัวอย่างในกราฟตัวเลขที่นำมาแสดงคือ 18.00 แต่ช่วงของมาตรวัดต่ำสุดคือ 70 ทำให้เข็มอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของช่วงสีแดง..

    ซึ่งจากผลที่ทดลองทำดูก็สามารถนำมาใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง ถ้าหากกำลังมองหาโปรแกรมที่เกี่ยวกับ COCKPIT มาใช้แต่ยังติดตรงราคาแพงเกินไป หรือยังไม่แน่ใจว่าซื้อมาใช้แล้วจะคุ้มค่าหรือเปล่า ลองใช้ของฟรีใน Gmail ดูก่อนก็เป็นทางเลือกที่ทำได้ง่ายๆ และประหยัดดีครับ

    หากมีข้อสงสัยหรือมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในบทความนี้ ติดต่อผมได้ทางอีเมล์ decha015@gmail.com ครับ


    วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    ลบข้อมูลได้หรือไม่ : คุณคิดคม

    เมื่อได้ออกนิเทศ รพ.สต. ร่วมกับการประเมิน ontop payment ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ได้แลกเปลี่ยนการทำงานกับพี่ เพื่อน น้อง ในรพ.สต.ต่าง ๆ บางคนก็ถามว่าทำไมส่งข้อมูลแล้วข้อมูลไม่ปรากฎใน list ของ สปสช. บางคนก็ถามว่าจะบันทึกข้อมูลแล้วส่งข้อมูลใหม่ได้หรือไม่ จึงนำบทความของคุณคิดคม สปสช. มาฝากอีกเรื่องค่ะ อ่านแล้วอาจเห็นใจคนทำงานในระดับจังหวัด และ สปสช.มากขึ้นนะคะ

    "หลายวันมานี้ผมเริ่มเห็นตามกระทู้ต่างๆ หรือบางครั้งก็มีการโทรศัพท์เข้ามาบ้างเกี่ยวกับการขอยกเลิกข้อมูลและลบ ข้อมูล คำตอบของผมก็คือ ไม่สามารถลบหรือยกเลิกได้ครับ หลาย ท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงไม่ได้ ก็ในเมื่อข้อมูลของเรา เราส่งไป เราก็น่าที่จะลบหรือยกเลิกได้ แต่คำตอบของผมอีกเช่นเดียวกันคือ เมื่อข้อมูลเข้ามาที่ สปสช. แล้ว มันไม่ได้เป็นของท่านคนเดียวครับ เพราะมีข้อมูลของที่อื่นๆ ส่งเข้ามาด้วย ดังนั้นอาจเรียกได้ว่ามันเป็นของทุกหน่วยบริการ สาเหตุหลักๆ ที่ไม่สามารถยกเลิกหรือลบข้อมูลได้เนื่องจากระบบการประมวลผลต้องเดินหน้า ตลอดครับ ข้อมูลของแต่ละหน่วยบริการก็รอเข้าคิวตรวจ ท่านลองนึกซิครับสมมุติว่าท่านเข้าคิวเพื่อซื้ออาหารที่ยาวเหยียด เมื่อถึงคิวท่าน ท่านก็สั่งอาหารแล้วนำกลับไปนั่งกิน สักพักท่านรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อยอยากเปลี่ยนใหม่ แล้วท่านก็ไปบอกทุกคนที่รอคิวอยู่ว่า "หยุดก่อน ขอให้พ่อครัวทำอาหารให้ท่านใหม่ก่อน" อะไรจะเกิดขึ้นครับ

    ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง สมมุติว่าท่านถูกมอบหมายให้ทาสีอะไรสักอย่าง โดยต้องทาทั้งหมด 7 ชั้น เมื่อสีแห้งท่านรู้สึกว่าสีชั้นที่ 3 ทาไม่สวยไม่ดี ท่านต้องการทาชั้นที่ 3 ใหม่ คำถามคือท่านทำได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ ก็ต้องรื้อทาใหม่หมด เช่นเดียวกันกับการประมวลผล หากมองเฉพาะหน่วยบริการเดียว เมื่อประมวลผลไฟล์แรกไปแล้ว ไฟล์ที่สองที่ส่งมาก็ต้องนำไปตรวจสอบกับไฟล์แรก และไฟล์ถัดๆ ไปก็เช่นเดียวกัน บางท่านบอกก็เพิ่งส่งมาไฟล์เดียว คำตอบก็คือให้ไปดูในตัวอย่างแรกครับ

    นอกจากนี้หากมีการยอมให้ลบได้ยกเลิกได้จะเกิดอะไรขึ้นครับ ความโกลาหล หน่วยบริการนี้ส่งไฟล์มาแล้วผ่านบ้าง ไม่ผ่านบ้าง ผลงานไม่ดี อยากขอยกเลิก หน่วยบริการนี้ก็อยากทำบ้าง หน่วยบริการโน้นก็อยากทำ สรุปคือการประมวลผลไม่ไปไหน ถอยหน้า ถอยหลัง หรือไม่ก็อยู่กับที่ แล้วหน่วยบริการที่ตั้งใจทำ ตั้งใจพัฒนา ก็ได้แต่นั่งมองตาปริบๆ บางท่านบอกว่าแล้วถ้าส่งมาแล้วผิดหมดล่ะ ก็ยิ่งง่ายครับ ท่านก็ดู Error ที่เกิดขึ้นแล้วแก้ไขส่งมาใหม่ทั้งหมดครับ เพราะตราบใดที่ข้อมูล Record นั้นไม่ถูกต้องท่านก็สามารถแก้ไขและส่งมาได้ตลอดจนกว่าข้อมูลจะถูกต้อง ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ต้องการจะบอกว่าขอให้ระมัดระวังเรื่องการส่งข้อมูลหน่อย ครับ เพราะระบบไม่ใช่ของท่านคนเดียว มีหน่วยบริการนับหมื่นแห่งที่ส่งข้อมูลเข้ามาครับ"

    วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    Welcome โรงพยาบาลน้ำหนาว


    สองปีกว่าแล้วมั้งครับ..ที่ Admin รพ.น้ำหนาวมาฝึกอบรม HOSxP ที่ รพร.ด่านซ้าย ซึ่งในช่วงแรกดูเหมือนว่าหลังจากฝึกอบรมเสร็จจะกลับไปเตรียมทีมเพื่อขึ้นระบบ แต่หลังจากนั้นไม่นานผมได้ข่าวว่ามีการเปลี่ยนผู้บริหารทำให้นโยบายของโปรแกรมการใช้งานถูกเปลี่ยนไปใช้โปรแกรม HOS OS ได้ระยะหนึ่ง .. จนกระทั่งทิศทางเริ่มชัดเจนว่า HOSxP น่าจะเป็นคำตอบ ทำให้ต้องกลับมารื้อฟื้นกันอีกรอบก่อนที่จะได้ขึ้นระบบใช้งานจริง..

    โรงพยาบาลน้ำหนาว เป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 2 ของการช่วยเหลือ แบ่งปัน และให้คำแนะนำผ่านระบบ Internet ครับ โดยที่ผม,อาร์ม ยังไม่มีโอกาสได้ไปยลโฉมโรงพยาบาลน้ำหนาวเลยแม้แต่น้อย เช่นเดียวกับอุ้ม Admin โรงพยาบาลแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่นที่ผ่านการขึ้นระบบด้วยวิธีนี้เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก และได้นำความรู้ ประสบการณ์ที่ผ่านมาช่วยทีมโรงพยาบาลน้ำหนาวในการโอนฐานข้อมูลและขึ้นระบบ

    เราใช้เวลาในการสอน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผ่านระบบออนไลน์เป็นเวลากว่า 1 เดือน เข้าอบรมได้บ้าง ไม่ได้บ้างตามแต่สถานการณ์ของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของการสอนให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด..ซึ่งนอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลจิตเวชเลย,โรงพยาบาลภูผาม่านที่เข้าร่วมฟังการใช้งานHOSxP และเตรียมที่จะขึ้นระบบในเร็วๆนี้..

    การเตรียมความพร้อมของคน โดยเฉพาะการ"เปิดใจ" ให้ได้เห็น เพราะถ้าใครได้ลองใช้ HOSxP ใหม่ๆจะรู้สึกว่าต้องลงบันทึกอะไรมากมาย หลายคนปฏิเสธการใช้ เพียงแค่ฟังเขาเล่ามา.. หรือแค่คิดว่าตัวเองต้องลงบันทึกมากขึ้น.. หรือบางทีเมมโมรีในสมองยังคงยึดติดกับโปรแกรมเก่าๆ ทำให้ไม่อยากลองของใหม่ๆ ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องหนักอกหนักใจของ Admin มากที่สุด.. แต่ถ้าอธิบายเหตุผลให้เข้าใจและมีโอกาสได้ทดลองใช้ ส่วนใหญ่จะยอมรับถึงประสิทธิภาพของ HOSxP ที่มีการทำงานตรงใช้ผู้ใช้งานอย่างมาก..


    วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาโรงพยาบาลน้ำหนาวได้ขึ้นระบบใช้งาน HOSxPอย่างเป็นทางการแล้วครับ แม้ว่าจะเตรียมตัวเตรียมใจมาอย่างดี เชื่อเถิดครับว่าสัปดาห์ที่ 1-2 ของการขึ้นระบบ เหนื่อยแน่ๆ แต่จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อผู้ใช้คุ้นเคยและปรับตัวได้แล้วหลังจากนั้นทุกอย่างก็จะเริ่มสบายขึ้น..

    พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทีม รพ.น้ำหนาวได้รับในช่วงที่ผ่านมา หากจะเป็นประโยชน์กับใคร จงอย่าลังเลใจที่จะแบ่งปันนะครับ..

    Welcome to HOSxP








    การนิเทศ รพ.สต. ร่วมกับการประเมิน ontop payment

    ช่วงนี้พี่ได้ออกนิเทศ รพ.สต. ร่วมกับการประเมิน ontop payment ทำให้ได้เห็นการทำงานของ รพ.สต. ต่าง ๆ ชื่นชมชาว รพ.สต. มาก ๆ เลยค่ะ ว่าสามารถดำเนินการได้ดี หากเป็นประชาชนที่มารับบริการก็ชื่นใจค่ะ คุณหมอน่ารัก ที่ทำงานก็น่าอยู่ (ยกเว้นบางกรณีที่ทางคณะกรรมการได้ให้คำแนะนำไว้เนอะ) ในส่วนของระบบข้อมูลยังเป็นห่วงบางพื้นที่ค่ะ โดยเฉพาะโรงพยาบาล และโรงพยาบาลจำเป็นเช่น สอ.หนองหินเฉลิมพระเกียรติค่ะ เนื่องจากยังไม่มี admin ดูแลระบบงานโรงพยาบาล สิ่งที่พบคือ DS HOSxP ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ความเข้าใจระบบงานโรงพยาบาลยังไม่ดีค่ะ ฝากประเด็นสำหรับ admin โรงพยาบาลค่ะ



    ดูที่ตั้ง server ซิคะ