วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การงดจัดสรรงบประมาณชั่วคราว (Pending) ของข้อมูลงวดที่ 1 ปี 55 (ก.ค.-ต.ค.54)

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยบริการในจังหวัดเลยทุกแห่งด้วยนะคะ ที่ไม่ถูก pending ในงวดที่ 1/55 ซึ่ง สปสช. ได้ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://op.nhso.go.th/opdownload/download/file/Pending1_20111219.pdf ค่ะ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การปรับปรุงฐานข้อมูลโปรแกรม HOSxP

    รายงานการให้บริการวัคซีน

    โหลดรายงาน กันได้ที่นี่ครับ **report_vac.zip**

คู่มือการบันทึกข้อมูล ANC

  โหลดคู่มือ กันได้ที่นี่ครับ **key_anc.zip**
คู่มือการบันทึกข้อมูล FP
 โหลดคู่มือ กันได้ที่นี่ครับ **key_fp.zip**

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การบันทึกข้อมูล HOSxP_PCU เพื่อส่งออก 21 แฟ้ม

วันนี้ มีคู่มือการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP_PCU เพื่อส่งออก 21 แฟ้ม สนย. มาฝากครับ เป็นคู่มือที่บอกถึง Definition, ลักษณะแฟ้ม ของแต่ละแฟ้ม การบันทึกข้อมูลต้องคีย์ข้อมูลอะไร คีย์ที่ไหน ข้อมูลจึงจะครบถ้วน สมบูรณ์

โหลดคู่มือการบันทึกข้อมูลฯ ดังกล่าว กันได้ที่นี่ครับ ** data-record 21 file.zip**

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Webborad สสจ.เลย ฟื้นคืนชีพแล้ว

ตอนนี้ webbord สสจ.เลย ได้กลับฟื้นคืนชีพ หลังจาก spam โจมตีมาเมื่อครั้งก่อน
ขอให้ทุกท่านสมัครเป็นสมาชิก และติดตามผลการส่งข้อมูล 21 แฟ้มได้ที่

อัพเดตโปรแกรม OP-PP2010 for 2555541128

โปรแกรม OP-PP2010 for 2555 มีตัวอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่เป็น OP-PP2010_55_541128
ดาวน์โหลดได้ที่ เว็ป สสจ.เลย งาน ICT หรือ http://203.157.173.9/ict/index.php

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เก็บมาฝาก

ตั้งชื่อเรื่องเก็บมาเล่า เนื่องจากไปอ่านในเวปไซต์ OP ของ สปสช. ซึ่งพี่ชัยวัฒน์ ได้เล่าประสบการณ์การตรวจข้อมูลแล้วเก็บมาเล่าอีกที มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เรื่องเล่าจากประสบการณ์การตรวจสอบข้อมูล http://op.nhso.go.th/op/webboard/eBoardView.do?id=4753 และ ตอนที่ 2 ตรวจข้อมูลอย่างไร? ข้อมูลแบบไหนที่น่าสนใจ? http://op.nhso.go.th/op/webboard/eBoardView.do?id=4760 เห็นว่าน่าสนใจอยากให้ทุกท่านได้อ่านและทำความเข้าใจค่ะ เลยเก็บมาฝาก

แผนงานปี 55 ชาว ICT

หลาย ๆ คนถามว่า ทำไม สสจ.เลย รวมทั้งงาน ICT เงียบหายกันไปหมด จึงขอแจ้งให้ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม blog HOSxP ทีมเมืองเลย ทุกท่านค่ะว่า ระหว่างนี้จังหวัดกำลังทบทวนยุทธศาสตร์ จัดทำแผนงาน โครงการ และตัวชี้วัดงาน อาจก้าวล่วงไปถึงตัวชี้วัดรายบุคคลในหลาย ๆ งาน รวมทั้งงาน ICT ด้วยค่ะ ซึ่งแผนงานของงาน ICT ในปีนี้นั้นเรามีเข็มมุ่งคือการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่วยนอกและส่งเสริมป้องกันโรค และการพัฒนาคลังข้อมูลสุขภาพระดับจังหวัด เพื่อตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสาธารณสุขจังหวัดเลย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 (พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ) ในเป้าประสงค์ที่ 4 (หน่วยงานทุกระดับมีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ) กลยุทธ์ที่ S4.4 (พัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ) รวมทั้งตอบโจทย์ของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพในเรื่องคุณภาพชุดข้อมูลมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขไปพร้อม ๆ กันค่ะ
ทั้งนี้ในช่วงต้นปีงบประมาณนี้ เราได้มีการบูรณาการกับงานต่าง ๆ ใน สสจ. ทั้งเรื่องการจัดอบรมด้าน IT และความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งจะส่งผลถึงการที่จะต้องปรับกระบวนงานบางเรื่องบางอย่าง โดยหัวหน้างานและนักวิชาการใน สสจ. จะมีการเรียนรู้โปรแกรม HOSxP/HOSxP_PCU ไปพร้อม ๆ กับการซักถามกันเรื่องระบบข้อมูล และกระบวนงานที่ควรปรับปรุง ทั้งนี้ผู้นิเทศจะต้องช่วยให้หน่วยบริการนำ IT มาใช้ประโยชน์ในการทำงาน ไม่ใช่สร้างภาระในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลถึงค่าตอบแทนที่หน่วยบริการจะได้รับจากเรื่องคุณภาพข้อมูล และ PP Special group ต่าง ๆ รวมทั้งเรื่อง OP Visit ด้วยนะ
งานนี้ผู้บริหารไฟเขียวเต็มที่ ขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน งานนี้ "เอาอยู่" แน่นอน

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายงานทะเบียนผู้รับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก

วันนี้มีรายงานมาแจกครับ คือ รายงาน CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก

รายงานนี้ ทีมนิเทศงาน EPI สสจ.เลย (พี่ป้อม) จะใช้ตรวจสอบผู้มารับบริการในวัน... (คลินิกฝากครรภ์) ว่า มีใครบ้าง, อยู่ที่ไหน, ได้รับวัคซีน TT เข็มที่... หรือ dTANC เข็มที่... , Lot no. อะไร ครับ..

(ขวดที่...) ในโปรแกรมยังไม่มีที่ให้บันทึกข้อมูล นะครับ..


โหลดรายงาน CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก.cds
กันได้ที่นี่ครับ ** anc-vac.zip**


เมื่อโหลดไฟล์ได้แล้ว ให้แตกไฟล์ก่อน แล้วนำเข้ารายงาน
ที่เมนู Tools == Report Designer == Import Report

หรือ สามารถโหลดคู่มือการนำเข้ารายงาน ได้ที่นี่ครับ** import-report.zip**

เมื่อนำเข้ารายงานเสร็จแล้ว สามารถเข้าไปดูรายงานได้
ที่เมนู รายงาน == Report Central == ที่ module : Loei_report
นะครับ..

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การโอนคนไข้จาก person_chronic ไปยัง clinicmember ปีงบ 2555

การบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในโปรแกรม HOSxP_PCU

ให้บันทึกข้อมูลที่เมนูระบบงานเชิงรับ === เมนู ทะเบียนคลินิกพิเศษ เบาหวาน/ความดัน

จะปรากฏหน้าจอทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวาน / ความดัน ซึ่งไม่มีข้อมูลเลย
ทั้ง ๆ ที่ รพ.สต. ได้ลงทะเบียนเบาหวาน/ความดัน ไว้ในบัญชี 1 ในข้อมูลบุคคล ที่เมนู โรคประจำตัว(เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) แล้ว
ทำให้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วยได้ ถ้าไม่ทำการลงทะเบียนใหม่

มีวิธีการโอนข้อมูลโรคประจำตัว(เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) จากบัญชี 1 ไปไว้ในทะเบียนคลินิกพิเศษ เบาหวาน/ความดัน ใช้ได้เฉพาะโปรแกรม HOSxP_PCU เท่านั้น และต้องเป็น โปรแกรม HOSxP_PCU Version 53.9.25 ขึ้นไปนะครับ

ทำตามขั้นตอนแล้วกันนะครับ ทำทีละชุดนะครับ
ก่อนทำก็อย่าลืม Backup ข้อมูล ไว้ก่อนนะครับ.. จะได้ไม่ว่ากัน

ให้ copy คำสั่ง 3 ชุดนี้ไป Run ใน SQL Query ในโปรแกรม HOSxP_PCU ทีละชุดคำสั่ง
ให้ copy คำสั่งทีละชุด แล้ววางใน SQL Query แล้วกดปุ่ม Exec ทำทีละคำสั่ง จนครบทั้ง 3 ชุด นะครับ..

code ชุดที่1 เป็นการเพิ่มคอลัมน์ hn ในตาราง person_chronic (ชุดคำสั่งนี้ใช้กับฐานข้อมูล HN 7 หลัก)

ALTER TABLE `person_chronic`
ADD COLUMN `hn` varchar(7) NULL FIRST

อย่าลืมตรวจสอบว่า รพ.สต. ท่านใช้ฐานข้อมูล HN กี่หลัก
ถ้าใช้HN 8 หลัก ก็ให้แก้ชุดคำสั่งข้างบนจาก `hn` varchar(7) ให้เป็น `hn` varchar(8)


code ชุดที่2

UPDATE person_chronic pc
INNER JOIN person p on p.person_id=pc.person_id
set pc.hn=p.patient_hn

code ชุดที่3

INSERT INTO clinicmember(clinicmember_id,clinic,hn,regdate,lastvisit,begin_year,clinic_member_status_id)
SELECT person_chronic_id,clinic,hn,regdate,last_update,begin_year,clinic_member_status_id
from person_chronic
WHERE clinic in("001","002")

อันดับสุดท้ายก็สามารถเข้าใช้เมนูนี้ได้แล้วครับ
อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนที่โอนมาว่าครบถ้วนหรือไม่ (บางฟิลด์ขาดไป)
ในส่วนที่เกินมา หรือผู้ป่วยเสียชีวิต ก็จะลืมจำหน่ายออกจากทะเบียน... นะครับ

คู่มือการบันทึกข้อมูลระบบงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคเบาหวาน

กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) ได้ปรับปรุงรายละเอียดโครงสร้างฐานข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก ฐานข้อมูลการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในรูปแบบ 21 แฟ้มมาตรฐาน (ตามมาตรฐาน 18 แฟ้ม) ปีงบประมาณ 2555

พิ่มมาใหม่ 3 แฟ้ม คือ NCDCREEN (19) , CHRONICFU (20) , LABFU (21)

ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP_PCU ก็มีการปรับปรุงระบบการบันทึกการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในกลุ่มประชากรทั่วไป, ระบบการจัดบริกลดเสี่ยง ในประชากรกลุ่มเสี่ยง, ระบบการส่งต่อเพื่อรับการขึ้นทะเบียนโรคเรื้อรัง, ทะเบียนคนไข้เบาหวาน ความดันใหม่ครับ สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน สามารถแสดงกราฟผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และที่สำคัญสามารถ export ข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน ความดัน เพื่อส่งให้ สปสช. ได้อีกด้วย


โหลดคู่มือ NCD For HOSxP กันได้ที่นี่ครับ ** NCD For HOSxP.zip**

โหลดคู่มือ NCD For HOSxP_PCU กันได้ที่นี่ครับ ** NCD For HOSxP_PCU.zip**

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การทำ Mapping รหัสอาชีพ ทีมด่านซ้าย

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รหัสอาชีพปรับตามโครงสร้าง สนย.ปี 2555


การปรับข้อมูลรหัสอาชีพให้ตรงตามโครงสร้างของ สนย. ปี 2555 ทำเอาหลายๆท่านปวดเศียรเวียนเกล้าไม่น้อยนะครับว่าจะปรับยังไง เพราะอาชีพค่อนข้างจะแยกย่อยและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ชื่อก็ไม่ตรงกับที่มีอยู่เดิมในตาราง HOSxP วันนี้มีคำอธิบายในเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนกับครับ..


ตารางที่เกี่ยวข้องกับรหัสอาชีพมี 2 ตารางคือ occupation และ provis_occupa ตาราง occupation เป็นข้อมูลอาชีพเดิมที่เป็นรหัสอาชีพของมหาดไทย ซึ่งเมื่อเราติดตั้ง HOSxP หรือ HOSxP PCUตารางนี้คงไม่ได้แก้ไขอะไรกันอยู่แล้วละครับ มีให้ใช้ยังไงก็ใช้กันแบบนั้น พอปี 2555 สนย.มีการปรับโครงสร้างของตารางอาชีพใหม่ ทำให้แอดมึนต้องกินยาแก้ปวดหัวกันบ่อยๆ โดยเฉพาะที่จะต้องไป mapรหัสให้ตรงกันซึ่งมีการใช้ภาษาเทพมากขึ้น เลือกยากเสียจริงๆ ครับ แต่หนทางก็ไม่ถึงกับเจอทางตันซะทีเดียว ทาง สปสช.มีเอกสารชี้แจงรายละเอียดโครงสร้างอาชีพตามรหัสอาชีพ ที่เรียกกันว่า ISCO-08 กับรหัสของมหาดไทยให้ทุกท่านได้นำไปเปรียบเทียบกันดูง่ายขึ้น..

รายละเอียดโครงสร้างอาชีพ ISCO-08 เปรียบเทียบกับของมหาดไทย


แต่ไหนๆ ทางทีมด่านซ้ายก็เสียเวลาทำไปเกือบครึ่งค่อนวัน ไม่อยากให้พวกเราต้องเสียเวลา ไปเริ่มกันใหม่ เลยขออนุญาตแจกเอาไปให้ใช้กันได้เลย ในตารางที่แจกให้ดาวโหลดมีด้วยกัน 3ไฟล์ครับ คือ occupation , provis_occupa และ รายละเอียดโครงสร้างอาชีพที่เป็น pdf เผื่อบางท่านไม่แน่ใจจะลองตรวจสอบดูอีกทีก็ไม่ว่ากัน


โหลดกันได้ที่นี่ครับ ** รหัสอาชีพ 21 แฟ้ม ปี2555.zip**

HOSxPMAN

สำหรับแห่งที่ยังไม่ได้ทำ หลังจากโหลดไฟล์ --- ให้แตกไฟล์ก่อน แล้วทำตามขั้นตอน ดังนี้
1) ไปที่เมนู Tools --- SQL Query
2) ที่ช่อง Open Table พิมพ์ occupation กดปุ่ม Run
3) แก้คำสั่ง select * from occupation เป็น delete from occupation
4) กดปุ่ม Exec --- Confirm คลิก Yes จะปรากฏ Execute done คลิก OK
5) แก้ไขคำสั่ง delete from occupation เป็น select * from occupation
6) กดปุ่ม Run (ข้อมูลในตาราง occupation จะหายไป
7) กดปุ่ม Open เลือกไฟล์ occupation.cds จากไฟล์ที่แตกไฟล์ไว้ (ทีมด่านซ้าย)
8) กดปุ่ม Append --- รอจน... เสร็จ
9) กดปุ่ม Update---- Confirm คลิก Yes --- รอจน...Update done --- OK

แล้วทำ ตามข้อ 2 - 9 กับตาราง provis_occupa.cds

การทำ Mapping (กำหนดรหัสพื้นฐาน ศาสนา การศึกษา สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง)

ตอนที่แล้วได้ทำการ Mapping รหัสอาชีพกันแล้ว หวังว่าคงทำเสร็จแล้วนะครับ ในตอนนี้มาว่ากันต่อในการทำ Mapping รหัสศาสนา การศึกษา สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีขั้นตอน ดังนี้

1) คลิกเมนู Tools --- ส่งออก 18 แฟ้ม --- ส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม สนย. ปีงบประมาณ 2555

2) คลิกที่ปุ่ม : กำหนดรหัสพื้นฐาน

การกำหนดรหัสส่งออกศาสนา

1) คลิกที่เมนู : ศาสนา

ข้อสังเกต รหัสส่งออกเป็น 1 หลัก และยังไม่มีชื่อส่งออก

2) คลิกเลือกชื่อส่งออก จาก list menu (ตามภาพ)
ข้อสังเกต พราหมณ์ไม่มี ให้เลือกฮินดูแทน

3) คลิกปุ่ม : บันทึก

การกำหนดรหัสส่งออกการศึกษา

1) คลิกที่เมนู : การศึกษา

ข้อสังเกต ยังไม่มีรหัสส่งออก

2) คลิกเลือกรหัสส่งออก จาก list menu (ตามภาพ)

ข้อสังเกต มัธยมศึกษาตอนต้น ไม่มี ให้เลือกมัธยมศึกษาแทน, ปวส. ไม่มี ให้เลือกปริญญาตรีแทน

3) คลิกปุ่ม : บันทึก

การกำหนดรหัสส่งออกสถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

1) คลิกที่เมนู : สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ข้อสังเกต ยังไม่มีรหัสส่งออก

2) คลิกเลือกรหัสส่งออก จาก list menu (ตามภาพ)

ข้อสังเกต ออกจากพื้นที่ ไม่มี ให้เลือกไม่ทราบ(ไม่มีข้อมูล)แทน


3) คลิกปุ่ม : บันทึก

เสร็จขั้นตอนการทำ Mapping รหัสศาสนา การศึกษา สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กำหนดรหัสพื้นฐาน (Mapping) ในโปรแกรม HOSxP_PCU

ก่อนส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม สนย. ปีงบประมาณ 2555 จะต้องไปทำการ Mapping (กำหนดรหัสพื้นฐานอาชีพ ศาสนา การศึกษา สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) ในโปรแกรม HOSxP_PCU ก่อน เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งออกมามีโครงสร้างฐานข้อมูลถูกต้อง ตามมาตรฐาน มีขั้นตอน ดังนี้

คลิกเมนู Tools --- ส่งออก 18 แฟ้ม --- ส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม สนย. ปีงบประมาณ 2555

คลิกที่ปุ่ม : กำหนดรหัสพื้นฐาน

การกำหนดรหัสส่งออกอาชีพ

เป็นการกำหนดให้รหัสอาชีพ จากที่บันทึกข้อมูลในโปรแกรม 3 หลัก ให้ส่งออกเป็น 4 หลัก ตามโครงสร้าง สนย. ปี 2555

1) คลิกที่เมนู : อาชีพ
ข้อสังเกต รหัสส่งออกเป็น 3 หลัก และ ชื่อส่งออกยังไม่มี

2) คลิกที่ปุ่ม : Auto match
ข้อสังเกต รหัสส่งออกเป็น 4 หลัก และ มีชื่อส่งออกแล้ว แต่ยังไม่ครบทุกรหัสอาชีพ

3) การกำหนดรหัสส่งออก (ที่ยังว่างอยู่) กรณีมีการกรอกข้อมูลอาชีพนั้น ๆ ต้องกำหนดเอง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย, เกษตรกรรม, กสิกรรม ( สามารถค้นรหัสส่งออก ได้จากไฟล์ รหัสอาชีพที่เทียบรหัสมหาดไทย_1-08-2011.pdf )

อาจารย์มหาวิทยาลัย ได้รหัส 2310
เกษตรกรรม, กสิกรรม ได้รหัส 6111

4) นำรหัส ที่ค้นได้ บันทึกลงในช่องรหัสส่งออก เมื่อได้บันทึกรหัสส่งออก ครบทุกตัวตามที่ต้องการแล้ว คลิกปุ่ม : บันทึก
เสร็จขั้นตอนการทำ Mapping (กำหนดรหัสพื้นฐาน อาชีพ) ให้ส่งออกข้อมูลเป็น 4 หลัก ตามโครงสร้าง สนย. ปี 2555

ส่วนการทำ Mapping (กำหนดรหัสพื้นฐาน ศาสนา การศึกษา สถานะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) ติดตามในตอนต่อไป


รายการมาตรฐานอาชีพ

นฤพล, 28 ตุลาคม 2554 เวลา 12:44:20 น.

สอบถามข้อมูลรายการมาตรฐานอาชีพ

ตอนนี้ทำการจับคู่อาชีพ ให้กับโปรแกรมที่ใช้อยู่ในรพ. แต่ไม่พบในรายการอาชีพมาตรฐาน ที่สปสช และ สนย กำหนดมาให้ จะทำอย่างไร

ตัวอย่างอาชีพที่มีในโปรแกรมแต่ไม่มีในรายการมาตรฐาน


-ในปกครอง

-นักเรียน

-นักศึกษา

-ข้าราชการบำนาญ

-ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นๆ

-ข้าราชการอื่นๆ

-อื่นๆ


ล้วนแต่เป็นอาชีพหลักๆทั้งสิ้น แต่กลับไม่มีให้จับคู่รหัส

และกรณีที่ไม่มีอาชีพ จะทำยังไง เพราะหา รายการมาตรฐานที่ระบุว่า ไม่มีอาชีพ หรืออาชีพอื่นๆ ก็ไม่พบ

ใครรู้ช่วยตอบไหน

ชัยวัฒน์ ดลยวัฒนา , 2 พฤศจิกายน 2554 เวลา 18:42:32 น.

เรียนทุกท่านครับ

ทาง สนย.(ศูนย์รหัสมาตรฐาน)ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานรหัสอาชีพ ที่มีการเทียบกับรหัสอาชีพของมหาดไทย ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และเป็นตัวอย่างที่นำไป map รหัสอาชีพของท่านได้ และมีรายการรหัสของนักเรียน ,การไม่มีอาชีพ และอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ทาง สนย. แจ้งว่ายังมีบางรหัสที่ต้องจัดทำเพิ่มเติมอีก

ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ

http://op.nhso.go.th/opdownload/download/file/รหัสอาชีพที่เทียบรหัสมหาดไทย_1-08-2011.pdf



วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ส่งออก 21 แฟ้ม สนย. ปี 2555 แล้ว error card... .cds

ส่งออก 21 แฟ้ม แล้ว error ตามภาพ แก้อย่างไร.....


จากการตรวจสอบฐานข้อมูลหลายแห่ง พบว่า หมู่ที่ ของบ้านนอกเขต ข้อมูลเป็นไม่ใช่เลข 0 (โดยว่างไว้ หรือเป็นเลขอื่น) ดังภาพ

วิธีแก้ปัญหา ให้ไปที่เมนู บัญชี 1 คลิกเลือกบ้านนอกเขต
1) คลิกปุ่มแก้ไขหมู่บ้าน
2) หมูที่ พิมพ์เลข 0
3) คลิกปุ่มบันทึก

ก็จะส่งออก 21 แฟ้ม สนย. ปี 2555 ได้แล้วครับ... แต่ก่อนที่ท่านจะส่งออก 21 แฟ้ม สนย. ปี 2555
จะต้องไปกำหนดข้อมูลพื้นฐาน (Mapping) ก่อน ติดตามในตอนต่อไป


วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (แยกรายหมู่บ้าน)

ผมได้เขียนรายงาน CUSTOM-ทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (แยกรายหมู่บ้าน).cds ซึ่งดึงข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลโรคประจำตัว ในบัญชี 1 เมื่อพิมพ์รายงาน ดังภาพ
ปรากฏว่า มีวันที่ลงทะเบียน และการแก้ไขครั้งสุดท้าย แต่ไม่มีข้อมูล (ปีที่เริ่มเป็น, โรค, สถานะ, ICD10) ข้อผิดพลาดอาจเกิดจากข้อมูลที่นำเข้าจาก HCIS


ถ้าข้อมูลของท่านเกิดปัญหาดังกล่าว ให้ไปแก้ไขข้อมูลโรคประจำตัว ในบัญชี 1 (การแก้ไขและวิธีการบันทึกข้อมูล ดูไดจากบทความที่เขียนไว้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554)
รายงานนี้สามารถดาว์นโหลดที่นี่ http://203.157.173.9/ict/moph_news_detail.php?id=26


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบการบันทึกข้อมูลองค์กรชุมชน


จากการที่ได้เขียนรายงาน CUSTOM-ทะเบียน อสม.cds เมื่อพิมพ์รายงานออกมาตรวจสอบกับข้อมูลองค์กรชุมชน (อสม) ในบัญชี 8 พบว่า บางหมู่บ้านมีจำนวน อสม. ไม่ตรงกัน ภาพที่ 1 กับภาพที่ 2
ภาพที่ 1 รายงาน CUSTOM-ทะเบียน อสม

ภาพที่ 2 ข้อมูลองค์กรชุมชน (อสม.)
เมื่อนำข้อมูลของคนที่เกินมาจากข้อมูลองค์กรชุมชน (อสม.) ไปตรวจสอบข้อมูลบุคคล ในบัญชี 1 ที่แทบ ตำแหน่งในชุมชน พบว่า มีข้อมูลวันที่แต่งตั้ง แต่ไม่มีข้อมูลชื่อตำแหน่ง


ภาพที่ 3 ข้อมูลบุคคล

การแก้ไขให้ตรวจสอบว่า บุคคลนี้เป็น อสม. จริงหรือไม่
ถ้าเป็น อสม. จริง ก็ให้คลิกเลือกชื่อตำแหน่ง เป็น อสม แล้วบันทึก โปรแกรมก็จะเพิ่มข้อมูลบุคคลนี้ที่องค์กรชุมชน (อสม) ในบัญชี 8
ถ้าไม่ได้เป็น อสม. ก็ให้ลบข้อมูลวันที่แต่งตั้ง แล้วบันทึก โปรแกรมก็จะลบข้อมูลบุคคลนี้ออกจากองค์กรชุมชน (อสม) ในบัญชี 8

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การ Import Report ในโปรแกรม HOSxP_PCU

เมื่อมีรายงานตัวใหม่ ตัวอย่าง เช่น CUSTOM-ทะเบียน อสม.cds ซึ่งยังไม่มีในเมนูรายงาน โปรแกรม HOSxP_PCU ถ้าต้องการให้มีรายงานตัวนี้ใน เมนูรายงาน มีขั้นตอนการนำเข้ารายงาน(นำเข้าที่เครื่อง Server) ดังนี้
1. ไปที่เมนู Tools --- Report Designer
2. คลิกที่ปุ่ม Import Report --- คลิกเลือกที่เก็บไฟล์รายงาน
คลิกเลือกไฟล์รายงาน ที่ต้องการ --- คลิกที่ปุ่ม Open

3. คลิกที่ปุ่ม Yes
3. คลิกที่ปุ่ม OK


รายงาน CUSTOM-ทะเบียน อสม.cds

ก็จะไปอยู่ที่เมนูรายงาน

Report Central

module --- Loei_report


รายงานใหม่ Download file ที่งานข้อมูลข่าวสาร ICT
HOSxP/HOSxP_PCU ระบบโปรแกรมข้อมูลผู้ป่ว

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการจัดทำข้อมูล OPPP ปี 55 (2) : by คิดคม

แนวทางการจัดทำข้อมูล OPPP ปี 55 : by คิดคม

Performace การจัดทำข้อมูล : by คิดคม

ต่อเนื่องเรื่องการติดตามงานค่ะ

มีผู้บริหารและผู้ดูแลระบบหลายคนให้ความสนใจในเรื่องที่งาน ICT ได้นำเสนอใน กวป. ขอเรียนว่าได้นำข้่อมูลดังกล่าวมาจากเวปไซต์ สปสช. ตามที่แสดงนี้ค่ะ หากผู้สนใจสามารถเข้าไปติดตามข้อมูลในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบได้เลยโดยไม่ต้องมี login ค่ะ

ติดตามงาน



เริ่มต้นสัปดาห์วันนี้มีนัดหมายติดตามงานกับทาง รพ.นาด้วงครับ ในช่วงเช้า อิ๊ด Admin รพ.เอราวัณโทรมาปรึกษาเรื่องข้อมูล OPPP ที่ทาง ICT จังหวัดนำเสนอในที่ประชุม กวป. ในหลาย รพ.ยังมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานครับ ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามแก้ไขกันต่อไป ในส่วนของ รพ.ผมคิดว่าน่าจะต้องตรวจสอบก่อนส่งให้ สปสช. แต่จะประสานงานกันอย่างไรเรื่องส่งข้อมูลให้ตรวจสอบคงต้องให้ทางทีมจังหวัดช่วยเป็นผู้ประสานงานให้อีกที


ในส่วนของ รพ.เอราวัณ ปัญหาเกิดจากการส่งข้อมูลผิดพลาดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เดือนเดียวเท่านั้นครับ ทำให้มีผลต่อคุณภาพของข้อมูลในภาพรวม






ในช่วงบ่ายแจ้งยกเลิกการจัดประชุม HOSxP PCU ของ  รพ.สต.ในเขตอำเภอเชียงคาน เนื่องจากรถยนต์ที่ผมจองไว้ยังไม่ได้ครับ ช่วงนี้เลยค่อนข้างลำบาก เดิมทีคิดว่าจะได้ภายในต้นเดือนนี้แต่ทางเซลล์แจ้งมาว่ายังไม่ได้คงต้องร้องเพลงรอไปก่อน โชคดีที่น้องๆ ก็ไม่สะดวกด้วยเพราะตรงกับช่วงเลือกตั้ง นายก อบจ. 

ในส่วนของ รพ.นาด้วง อามิน ติดตามงานดีมากครับ ตรงเวลาที่นัดหมายกันไว้ วันนี้มีการแก้ไขข้อมูลวัคซีนให้เป็นปัจจุบัน และสอนการใช้งานแก้ไขทะเบียน ANC บัญชี 2 และบัญชี 1  โดยผมขอให้รีบดำเนินการแก้ไขภายใน 1เดือน ก่อนส่งออกคงต้องขอตรวจสอบข้อมูลกันก่อน และวันพรุ่งนี้อามินจะอัพเวอร์ชั่น HOSxP เป็น 3.54.7.30 ในส่วนของทะเบียนนัดที่จะให้แสดงข้อมูลกิจกรรม ให้ อ.อาร์มทำแล้วครับ พร้อมกับทะเบียนรับบริการของ รพ.สต.ด้วย ซึ่งภายในสัปดาห์นี้น่าจะเสร็จเรียบร้อย
  1. การอัพเดต HOSxP ให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน............ดำเนินการแล้ว
  2. การปรับฐานข้อมูลวัคซีนให้เป็นปัจจุบัน..................ดำเนินการแล้ว
  3. การทำทะเบียนรายงานนัดให้แสดงรายการวัคซีน....ดำเนินการแล้ว
เดือนสิงหาคม รพ.ทุกแห่งจะต้องเริ่มพิมพ์แบบฟอร์มของกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ผู้ป่วยลงชื่อรับทราบทุกรายที่มีสิทธิเบิกจ่ายตรง ไม่รู้ทุกแห่งเริ่มทำกันหรือยังนะครับ เพราะมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิเทศงาน คปสอ.นาด้วง

28 ก.ค.2554
....
วันสุดท้ายของการนิเทศงานรอบนี้สิ้นสุดที่คปสอ.นาด้วงครับ ในส่วน รพ.สต.เป้าหมายในช่วงเช้าอยู่ที่ รพ.สต.นาดอกคำครับ ตอนที่มาอบรม HOSxP PCU ให้กับอำเภอนาด้วง ใช้ที่นี่เป็นสถานที่ฝึกอบรมกันครับ เป็น รพ.สต.ที่มีความพร้อมหลายๆอย่าง ทั้งระบบอินเตอร์เนตก็ใช้ได้ดีทีเดียว
มีน้องๆเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ต่างๆ 3-4 คน รออยู่ก่อนหน้าแล้ว พวกเราจึงเริ่มพูดคุยกันไปเรื่อยๆก่อนที่จะเข้าเนื้อหาหลักๆของการมาติดตามนิเทศงาน โดยพี่แม้วเปิดรายการแนะนำวัตถุประสงค์ของการมาก่อนจะโยนไมค์ให้ต๋อง  ส่วนพี่เข้และผมปิดท้ายเช่นเคย..

เท่าที่ดูจากข้อมูล ในเรื่องของความสมบูรณ์ รพ.สต.นาดอกคำ ทำได้ค่อนข้างดีครับ ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลงบันทึกข้อมูลที่ทำไม่ทัน ซึ่งเป็นปัญหาคล้ายๆกับหลายๆพื้นที่ ที่ภาระงานในการจัดทำข้อมูลซ้ำซ้อนในงานบริการ 1 งานต้องลงข้อมูลชุดเดียวกันประมาณ 3-4 รายการ ไม่น่าแปลกครับว่าทำไมลงข้อมูลกันไม่ทัน 

ผมถามว่าทำไมไม่ลดการเขียนข้อมูลในทะเบียนและใช้วิธีการพิมพ์รายงานแทน น้องๆให้คำตอบว่าต้องเก็บข้อมูลทะเบียนต่างๆไว้ เพราะเวลาที่"ผู้นิเทศ"ออกมาติดตามจะขอดูทะเบียนรายงานต่างๆ ซึ่งถ้าไม่ลงก็ไม่ได้ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ข้อมูลบริการส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการเขียนทะเบียน และแฟ้มครอบครัวเสร็จแล้วจะเก็บไว้ลงบันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSxP ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในภายหลัง  บางวันมีอัตรากำลังอยู่กันไม่กี่คน จึงต้องเก็บข้อมูลเอาไว้ลงทีหลัง ถ้าดีหน่อยก็ลงได้วัีนต่อวัน ถ้ายุ่งมากหน่อย ก็เก็บไว้รอลงวันถัดไป หรือสัปดาห์ถัดไป..



โอกาสพัฒนา
  1. อบรมเพิ่มเติมรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงบันทึกข้อมูลให้กับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
  2. การปรับวิธีการทำงาน และการจัดทำรายงานเพื่อแสดงผลงานแทนทะเบียนต่างๆ
  3. การประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้นิเทศงานเวลาที่มาติดตามงานว่า โปรแกรม HOSxP PCU สามารถทำอะไรได้บ้าง และผู้นิเทศควรจะติดตามตรวจสอบคุณภาพของงานตนเองอย่างไร โดยไม่เป็นการไปเพิ่มภาระงานกับผู้ปฏิบัติ


13.30 น.
ช่วงบ่ายทีมเข้านิเทศงานที่ รพ.นาด้วงครับ  มีทีมงานรอรับการนิเทศหลักๆ เป็นผู้ที่เกีี่ยวข้องกับการใช้และดูแลเรื่องคุณภาพของข้อมูล ซึ่งทางทีมได้ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานต่างๆในส่วนที่เกี่ยวข้อง และการใช้งานพบว่ายังมีปัญหาเรื่องการลงบันทึกข้อมูล


ในส่วนของผู้ป่วยนอกลงบันทึกข้อมูลได้ค่อนข้างดีครับ แต่ยังไม่ได้ใช้ออกใบเสร็จจากโปรแกรม HOSxP ทำให้ยังมีข้อมูลผู้ป่วยรอชำระเงินอยู่ในระบบ สาเหตุเนื่องมาจากระบบผู้ป่วยในยังลงข้อมูลไม่สมบูรณ์ทำให้ต้องใช้วิธีการสรุปค่าใช้จ่ายเองและออกใบเสร็จด้วยการเขียน

รพ.นาด้วง หลังจากที่อบรมและขึ้นระบบได้ไม่นานก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลระบบ เนื่องจากสอบบรรจุได้ทำให้ต้องรับบุคลากรใหม่ การดูแล การประสานงาน และการสื่อสารทำความเข้าใจกับทีมงานยังทำได้ไม่ค่อยดี บางเรื่อง เช่น การอัพเดต Version ใหม่ของ HOSxP ทำให้ผู้ดูแลเลือกอัพเดตเวอร์ชั่นในบางเครื่องทำให้มีปัญหาการใช้งานเนื่องจากการใช้ Version ที่แตกต่างกัน

โดยสรุปมีประเด็นซึ่งที่ประชุมเห็นพร้อมร่วมกันที่จะต้องรีบดำเนินการในสัปดาห์หน้า คือ
  1. การอัพเดต HOSxP ให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกัน
  2. การปรับฐานข้อมูลวัคซีนให้เป็นปัจจุบัน
  3. การทำทะเบียนรายงานนัดให้แสดงรายการวัคซีน 
ซึ่งในส่วนของทะเบียนรายงานต่างๆ คงจะต้องทำให้ครอบคลุมของ รพ.สต.ไปพร้อมๆกัน

สรุปประเด็นๆสำคัญจากการนิเทศงาน
งานที่ต้องเร่งดำเนินการ
  1. การติดตั้ง Hardware และขึ้นระบบ HOSxP ให้ รพ.ปากชม
  2. ปรับปรุงและแก้ไข Hardware และ ระบบเครือข่าย ของ สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  3. ฝึกอบรมบุคลากรดูแลให้ รพ.ท่าลี่ ,สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  4. ประชุมชี้แจงผู้บริหาร ผู้นิเทศงาน
  5. ปรับฐานข้อมูล และ อัพเวอร์ชั่น HOSxP รพ.นาด้วง,สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองหิน
  6. จัดทำรายงาน แบบฟอร์มต่างๆ เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่




หลัีกการคิด Performance สำหรับข้อมูล OP/PP Individual ปี 2554

หลังจากที่งาน ICT ร่วมกับ คุณเดชา ได้ออกนิเทศงาน 4 คปสอ. มาแล้ว แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่อง Performace ของข้อมูล OP/PP เลย ดังนั้นจึงขอทบทวนหลักเกณฑ์การคิด Performace ของข้อมูล OPPP Indidual สำหรับปีงบประมาณ 2554 นี้ กันอีกสักหน่อยนะคะ
->การคิดค่า Performace จะคิดแยกจากการประมวลผล Point ของข้อมูลนะคะ โดยค่า Performace เป็นการคิดในเชิงของคุณภาพข้อมูลใน 3 เรื่อง คือ
1. คุณภาพข้อมูล พิจารณาใน 4 ตัวแปร ได้แก่ Person, Diag, Proced และ Drug
โดยที่ทุกตัวแปร หากมีคุณภาพข้อมูลถูกต้อง > 95 % จะได้ Point 0.2 Point
คุณภาพข้อมูลถูกต้อง 90.1-95 % จะได้ Point 0.1 Point
คุณภาพข้อมูลถูกต้อง 85.1-90 % จะได้ Point 0.05 Point
2. ข้อมูลซ้ำซ้อน ถ้าน้อยกว่า 5 % ได้ Point 0.2 Point
3. ความทันเวลา หากทันเวลา > 95 % จะได้ 0.2 Point
ทันเวลา 90.1-95 % 0.1 Point
ทันเวลา 85.1-90 % 0.05 Point
ทั้งนี้ การประมวลผล Performance รอบแรกประมวลผลข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. 2554 สปสช.ได้ประมวลผลและจัดสรรเงินให้ทุกหน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรงพยาบาลต่าง ๆ สปสช.เขต 8 โอนตรงให้หน่วยบริการเอง แต่ รพ.สต. ต่าง ๆ โอนผ่าน สสจ. ซึ่ง สสจ.กำลังดำเนินการโอนเงินให้หน่วยบริการต่าง ๆ รายละเอียดข้อมูลและจำนวนงบประมาณที่ได้รับสามารถดูในกล่องหนังสือของทุกหน่วยบริการค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิเทศงาน คปสอ.ภูกระดึง

06.45 น.

ปั่นจักรยานออกจากบ้านตั้งแต่เช้าเข้าไปเคลียงานเอกสารบนโต๊ะทำงาน ก่อนที่จะขับรถยนต์ออกจากโรงพยาบาลโดยวันนี้ภาระกิจยังเป็นการออกนิเทศงานกับทีม ICT สสจ.เลย ระหว่างเส้นทางก่อนถึงโคกงามหมอกลงจัด อากาศข้างนอกเย็นค่อนข้างหนาว แต่ข้างในรถขับไปกลับร้อนอบอ้าวชอบกล ขนาดผมเปิดเบอร์ 5 สุดๆ แล้ว แค้แอร์ที่เปิดไว้ก็มีลม..แต่ไม่เย็น..

เมื่อวันจันทร์ขับมายังปกติดี ไม่มีปัญหา แต่ไหงวันนี้แอร์ดันมาเสียซะนี่ ด้วยความรีบผมจึงขับไปเรื่อยๆเพราะเกรงว่าจะไปถึงเมืองเลยสาย ดีแต่ว่าอากาศข้างนอกเย็น เลยเปิดหน้าต่างรับแอร์ธรรมชาติดีว่า


มาถึง สสจ.เลยทันตามกำหนดเวลา ระหว่างที่รอดับเครื่องอดไม่ได้ที่จะลองดูที่แอร์อีกครั้งว่าทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่ามันถึงไม่เย็น ปิด เปิด ดูก็ยังเหมือนเดิม จนมาแอะใจกับปุ่ม A/C ที่ปกติมันจะมีไฟสีเขียวติด ...ชะ อุ้ย

ลองกดดูไฟเขียวติด กดอีกทีไฟเขียวดับ..เฮ้อ..ไม่น่าโง่เลยตู







08.45 น.
 

ทีมงานเดินทางออกจาก สสจ.เลย จุดหมายปลายทางในวันนี้ในช่วงเช้าที่ รพ.สต.นาแปนใต้ ของ คปสอ.ภูกระดึง  ผมได้ยินแว่วๆว่า รพ.สต.แห่งนี้กำลังจะส่งประกวดอะไรซักอย่าง สภาพแวดล้อมโดยทั่วๆไปจึงกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ทาสี ไล่ลงมาตั้งแต่หลังคาที่ลงทุนทาสีแดงมองเห็นโดดเด่นแต่ไกลๆ ป้ายสถานีอนามัยใหม่เอี่ยม

ทีมงานของ คปสอ.ภูกระดึงรอเตรียมพร้อม นำทีมโดย ประสงค์ ศิษย์เก่าด่านซ้าย เคยทำงานด้วยกันสมัยที่ผมยังเป็นนักวิชาการอยู่ที่ สสอ. ส่วนประสงค์รักษาการหัวหน้า สอ.กกจำปา อยู่หลายปีก่อนจะย้ายกลับมาที่ภูกระดึง  มีการกล่าวต้อนรับและแนะนำตัวกันพอเป็นพิธีก่อนที่เริ่มชี้แจงเนื้อหาสาระสำคัญของการมาติดตามงาน  ซึ่งเป็นหน้าที่ของยอดชายนายต๋องทำหน้าที่ชี้แจงเช่นเคย



ส่วนพี่เข้ และผมทำหน้าที่ในเรื่องการตอบคำถามในส่วนของการใช้ HOSxP PCU รวมถึงการตรวจสอบฐานข้อมูล จากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล  ซึ่งพบปัญหาใสส่วนของบัญชี 1,2 ,3 ที่ไม่สมบูรณ์ มีข้อมูลเก่าและยังไม่ถูกจำหน่ายยังมีอยู่มาก ความเข้าใจในเรื่องของการบันทึกและส่งออกข้อมูลยังเป็นประเด็นที่คลาดเคลื่อนจากที่อบรมอยู่พอสมควร 

วันนี้ไม่รู้ว่าอากาศร้อน หรือทีมนิเทศอ่อนอกอ่อนใจกับข้อมูลที่ยังมีปัญหาค่อนข้างมาก มองดูสีหน้า แววตาของคนฟัง และบรรยากาศในห้องประชุม ดูแล้วขาดชีวิตชีวายังไงชอบกล... คำถามในห้องประชุมมีไม่มากนัก ทำให้เวลาของการประชุมจบลงแบบไม่ยืดเยื้อ


    มื้อเที่ยงมีข้าวเหนียว ส้มตำ ผัดผัก เกาเหลา และตบตูดด้วยแตงโมเป็นของหวานปิดท้ายรายการ  

    เดินทางออกจาก รพ.สต.นาแปนใต้ มุ่งไปยังจุดหมายต่อไป คือ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติกิ่งอำเภอหนองหิน.. 

     แม้จะเป็นเวลาบ่ายกว่าๆ แล้ว แต่ยังมีคนไข้รอรับบริการจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จึงยังคงวุ่นวายกับการให้บริการ ทีม สสจ.และผมจึงเดินสำรวจพื้นที่ภายในอาคารตามห้องต่างๆ  ดูแล้วสารภาพตรงๆครับว่ารู้สึกเหนื่อย....ยังไงไม่รู้

    สภาพห้องเก็บ server สาย LAN ระโยงระยาง บ่งบอกสภาพระบบเครือข่ายที่วางอย่างหละหลวม หลายจุดใช้กระดาวกาวปิดแปะไว้..

    แม้จะมีสถานะเป็นสถานีอนามัย แต่ที่นี่ใช้ HOSxP แบบเดียวกับที่โรงพยาบาลใช้ เพราะมีแพทย์ พยาบาล เภสัช ห้องบัตร นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพ ทันตาภิบาล อยู่ประจำ..

    ต๋องใช้เวลาชี้แจงเรื่องปัญหา และวิธีการตรวจสอบและส่งข้อมูลไม่นานนัก ก่อนจะที่โยนไมค์ให้ผม..ร้องเพลง เอ๊ย..อธิบายต่อ

    โดยส่วนตัวแล้วผมเองวันนี้ค่อนข้างหนักใจกับปัญหาการใช้งานของที่นี่ เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจวิธีการลงบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องค่อนข้างมาก ระบบเครือข่ายที่ยังมีปัญหา รวมถึงระบบงานที่ยังต้องทำงานซ้ำซ้อนกันอย่างมาก.. ซึ่งไม่ใช้เรื่องง่ายที่จะแก้ไข


    ผมใช้วิธีการเรียนจากคำถาม การให้เจ้าหน้าที่ลองทำให้ดู และการสอบถาม ซึ่งหลายๆปัญหาต้องเรียนกันตามตรงครับว่าที่นี่ต้องมาฝึกอบรมบุคลากรเรื่องการใช้งาน HOSxP แบบชุดใหญ่ ปัญหาที่พบ อย่างแรกคือการใช้งาน HOSxPของเครื่องลูกข่ายมีมากกว่า 4 เวอร์ชั่้น ตั้งแต่เวอร์ชั่นปี 53ก็ยังมี และฐานข้อมูลอัพเดตล่าสุดที่เวอร์ชั่น 3.54.2.2  ส่วนการใช้งานยังทำคู่ขนานกับระบบ Manual ระบบทะเบียนรายงานยังอยู่แบบครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นทะเบียนนัด ทะเบียนส่งต่อ ฯลฯ หลายโมดูลไม่ได้ใช้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทันตกรรม การลงข้อมูลเป็นหน้าที่ของน้องเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ซึ่งแน่นอนครับว่าข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้แค่ Dx ยา และค่าใช้จ่ายที่ไม่ครบถ้วน.. ทางทีมจึงให้แบงค์อัพสอนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอัพเวอร์ชั่นให้เป็นตัวเดียวกัน และสอนเรื่องการใช้โปรแกรม teamviewer โปรแกรม join.me เพื่อใช้ในการติดต่อสอบถามการใช้งานโปรแกรม  ในส่วนเรื่องอื่นๆผมไม่ได้ตอบคำถามมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จะเริ่มตอบจากตรงไหนก่อนดี  และภาพจากโปรเจคเตอร์วันนี้ดูแล้วทรมานสายตามากกว่าที่จะช่วยเรื่องการนำเสนอ

    ผม...

    ขับรถกลับด้วยความรู้สึกหลายๆอย่าง..มีหลายเรื่องยังคงค้างคาใจ..แค่คิดปรุงแต่งไปว่าจะต้องทำโน้น ทำนี่ อีกเยอะแค่นี้ก็เหนื่อยแล้วครับ  หลายๆเรื่องบางอย่างก็ยากเกินไปเพราะเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ความใส่ใจ ให้ความสำคัญของผู้บริหารและคนที่ทำงานเอง...




    บทส่งท้าย...

    นักดนตรีคนหนึ่ง ยืนอยู่บริเวณทางเข้า สถานีรถไฟใต้ดิน " L‘Enfant Plaza” (วอชิงตัน ดี ซี) สักพักใหญ่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในวันอันแสนหนาว เมื่อเดือน มกราคม  เขาเล่นดนตรีหลายเพลง นานถึง 45 นาทีขณะนั้น เป็นเวลา ประมาณ 8.00 น. ผู้โดยสารนับพัน นับหมื่น รีบเร่งเดินทางไปทำงาน การแสดงผ่านไป 3 นาที ชายกลางคนชลอความเร็วลง หยุดฟังไม่กี่วินาที แล้วเร่งฝีเท้าเดินจากไป เวลาผ่านไปอีก 1 นาที นักดนตรี ได้รับเงิน 1 ยูเอส ดอลล่าร์ แรก จากหญิงสาวคนหนึ่ง แต่หล่อนก็ไม่ได้หยุดฟัง เวลาผ่านไปหลายนาที

    มีผู้โดยสารคนหนึ่งหยุดดูอยู่ฝั่งตรงข้าม หลังจากเหลือบดูนาฬิกาข้อมือแล้วก็เดินจากไป สิ่งที่ทำให้ให้นักคนตรีคนนี้ประทับใจก็คือ เด็กชาย อายุ 3 ขวบ หยุดฟังการแสดงอย่างสนใจ แต่มารดา ทั้งฉุดทั้งดึงให้ลูกชายเดินต่อไปแต่เด็กชาย เดินไปพลาง เหลียวหลังหันมาดู จนเดินลับตาไป

    ตลอดเวลา การแสดง 45 นาที นั้น มีเพียง 7 คน ที่หยุดดูการแสดง
    เขาได้รับเงินจากการแสดง 32 ยูเอสดอลล่าร์
    เมื่อเขาจบการแสดง ไม่มีคนสนใจ ไม่มีใครปรบมือให้ ในจำนวนคนนับพันที่ผ่านไปมา
    มีเพียง 1 คน เท่านั้น
    ที่สนใจการแสดงของเขาจริงๆ

    ไม่มีใครรู้ว่า แท้จริงแล้ว เขาคือ Josbua Bell
    หนึ่งในนักดนตรีไวโอลินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน

    เขาเลือกเล่นเพลงที่จัดว่าเล่นยากที่สุดในโลก มาแสดงในวันนั้น
    ที่สถานีรถไฟใต้ดิน นอกจากนั้น ไวโอลินที่ใช้เล่น
    เป็นไวโอลินอิตาลีที่ผลิตในปี ค.ศ. 1713 มีมูลค่าสูงถึง 3 ล้าน 5 แสน
    ยูเอสดอลล่าร์ (ประมาณ 117 ล้าน บาท)


    ก่อนหน้าการแสดงที่สถานีรถไฟใต้ดิน 2 วัน เขาได้เข้าร่วมการแสดงดนตรีที่
    บอสตัน ถึงแม้บัตรจะราคาหลายร้อยเหรียญสหรัฐ แต่บัตรก็ขายจนหมด
    นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง

    การที่ Joshua Bell ไปเล่นไวโอลิน ที่สถานีรถไฟใต้ดินนั้น
    ทีมงานหนังสือพิมพ์ออนไลน์วอชิงตัน จัดทำขึ้น วัตถุประสงค์
    เพื่อทดสอบพฤติกรรมของคน ในการรับรู้ รสนิยม และ ปฎิกิริยา

    เพื่อต้องการคำตอบที่ว่า ขณะที่คนเราอยู่ในที่สาธารณะ
    อยู่ในเวลาที่รีบเร่ง คนเราจะยังสามารถรับรู้ความสุนทรีย์รอบข้างได้หรือไม่
    เราสามารถหยุด เพื่อรับรู้ความสวยงามเหล่านี้ได้หรือไม่
    เราสามารถค้นพบอัจฉริยะในสภาพแวดล้อมที่รีบเร่งหรือไม่

    อาจจะมีบทสรุปคือ .....
    หากคนเราคิดว่า ไม่มีเวลาที่จะหยุดลงสักครู่
    เพื่อฟังดนตรีที่บรรเลงโดยนักดนตรีที่มีความสามารถเล่นเพลงที่แต่งอย่างสละสลวย
    ไม่รู้ว่า.... ยังมีคนอีกมากมายเท่าไร
    ที่พลาดสิ่งดีๆรอบตัวไปอย่างน่าเสียดาย ....
    คัดลอกจาก วินบุ๊คคลับ