วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทะเบียนผู้ป่วย เบาหวาน และความดันโลหิตสูง แยกตามโซนสี (เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิก)


     จากการมอบนโยบายของนายแพทย์วิชัย  เทียนถาวร  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง  "ระบบการเฝ้าระวัง ควบคม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบาย สู่ การปฏิบัติ"   เฝ้าระวังด้วย "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี"  ตามภาพ


   

     ผมได้เขียนรายงาน  CUSTOM-ทะเบียนผู้ป่วย เบาหวาน และความดันโลหิตสูง แยกตามโซนสี  (เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิก).cds



      เป็นรายงานที่แสดงข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง(เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง)  แสดงข้อมูลการมารับบริการ ประกอบด้วยข้อมูล วันที่รับบริการ, HN, ชื่อ - สกุล, อายุ(ปี), บ้านเลขที่, โรคประจำตัว, Cheif complaint:, BP,  ระดับความดัน แยกตามโซนสี(เขียวแก่, เหลือง,  ส้ม, แดง), ระดับน้ำตาล (DTX หรือ FBS), HbA1C, ระดับเบาหวาน แยกตามโซนสี(เขียวแก่, เหลือง,  ส้ม, แดง), โรคแทรกซ้อน(ตา, เท้า, ไต, หัวใจ, หลอดเลือด,สมอง), จำนวนชนิดยาที่ได้รับ(HT, DM)  และค่ายา HT, DM

     แสดงข้อมูลตามหมู่บ้านที่เลือก  และช่วงวันที่รับบริการที่เลือก โดยมีเงื่อนไขว่า
 Cheif complaint: จะต้องคีย์ว่า "DM" หรือ"HT" หรือ "เบาหวาน" หรือ "ความดัน"
     เรียงลำดับตามวันที่ และเวลา

     ต้องการใช้รายงานนี้... ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน
เพื่อให้ Admin ตรวจสอบเงื่อนไขของรายงาน ดังนี้

     Variable3  >>  HbA1C  ดึงข้อมูลจาก lab_order.lab_items_code in("123")
ต้องตรวจสอบโดยใช้คำสั่ง  select * from lab_order where lab_items_name_ref like("%Hb A1%")
ที่ฟิลด์ lab_items_code คืออะไร  >> ถ้าไม่ใช่ "123"  ก็ต้องแก้ไขตามตัวเลขที่แสดง
               
     Variable4  >>  โรคแทรกซ้อน(ตา, เท้า, ไต, หัวใจ, หลอดเลือด,สมอง)  ต้องคีย์ข้อมูลโรคแทรกซ้อนในคลินิก

     Variable5  >>  จำนวนชนิดยา HT  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%")
ต้องไปคีย์ข้อมูล Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน (สำหรับยารักษาความดันโลหิตสูงทุกตัว(ถ้ามี)  เช่น   METHYLDOPA
Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน ควรงดอาหารเค็ม มัน
กลุ่มการออกฤทธิ์ >> therapeuticgroup: ยาลดความดัน

     Variable6  >>  จำนวนชนิดยา DM  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%")
ต้องไปคีย์ข้อมูล Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน (สำหรับยารักษาความดันโลหิตสูงทุกตัว(ถ้ามี)  เช่น  Glibenclamide
Indication >> therapeutic: ยาเบาหวาน  ควรทานก่อนอาหาร 30 นาที
กลุ่มการออกฤทธิ์ >> therapeuticgroup: ยาเบาหวาน

     Variable7  >>  ค่ายา HT, DM  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%") or
drugitems.therapeutic like  ("%เบาหวาน%")

ลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบรายงาน HOSxP PCU ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/ ครับ...



วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลการให้บริการ OP/PP individual Data ที่สำคัญ คือ
- แฟ้ม OP
1. อัตราการใช้บริการ (Utilization Rate) เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย มากกว่า 3 SD คือ อัตราการใช้บริการของผู้ป่วยมากกว่า POP UC มาก
2. สัดส่วน OP visit ทั้งหมดเปรียบเทียบกับ OP visit ที่มีหัตถการ คือ หัตถการมากกว่า visit เกิน 51.75 % (หัตถการเยอะไป)
- แฟ้ม PERSON
1. จำนวนคนที่อยู่อาศัยจริงในเขตตามสถานะบุคคล (typearea = 1+3) สูง-ตํ่ากว่า ความเป็นจริงเปรียบเทียบกับ pop UC
2. จำนวนคนตายที่ไม่จำหน่าย person เปรียบเทียบข้อมูลตายของ สปสช. มากกว่า 5 % ของ POP typearea 1+3
- แฟ้ม CHORNIC
1. เป็นผู้เสียชีวิตแล้ว เมื่อตรวจสอบจากฐานข้อมูล สปสช. คือ ไม่จำหน่ายคนตายออกจากทะเบียนโรคเรื้อรัง


ดาวน์โหลด :
http://www.upload-thai.com/download.php?id=9b4ed1521866ba307e25aaaf9253a628
 
 

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายงานแฟ้มครอบครัว (Family Folder)


     รพ.สต.นาอ้อ และ รพ.สต.ห้วยป่าน ขอรายงานแฟ้มครอบครัว (Family Folder)  ผมได้ออกแบบ/เขียนเรียบร้อยแล้ว  ดังนี้

ชื่อรายงาน: CUSTOM-แฟ้มครอบครัว  (Family Folder).cds  ตามภาพ





     เป็นรายงานแสดงข้อมูลรายละเอียดประชากรที่ยังมีชีวิตอยู่   ตามหมู่บ้าน และบ้านเลขที่ ที่ต้องการ(ปกแฟ้มครอบครัว) แสดงข้อมูล เลขรหัสประจำบ้าน: ,  เจ้าบ้าน: , บ้านเลขที่: , หมู่ที่: , บ้าน: , ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, บุคลากรสาธารณสุขประจำบ้าน: , อสม. ประจำบ้าน: , person_id, HN, ชื่อ-สกุล, เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, อายุ(ป/ด/ว), ประเภทการอยู่อาศัย(0-มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน, 1-มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ และอยู่จริง, 3-มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ (ตามทะเบียนบ้านในเขต)แต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขต,  4-ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ), สถานะในครอบครัว, ระดับการศึกษา, อาชีพ, ศาสนา, สถานะการสมรส, สิทธิการรักษา, วันที่ย้ายเข้า: , โรคประจำตัว และการประเมินภาวะสุขภาพ
     เรียงลำดับตามวันเดือนปีเกิด

     การประเมินภาวะสุขภาพ ผมได้ประสานกับคุณก้อย งานพัฒนาคุณภาพรูปแบบและบริการ ในการประเมินภาวะสุขภาพ 3 กลุ่ม คือ สุขภาพดี, มีภาวะเสี่ยง, ป่วย
     สำหรับกลุ่มป่วย แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ป่วย(1-ต้องการให้ดูแลเล็กน้อย), ป่วย (2-ต้องการให้ดูแลปานกลาง),  ป่วย (3-ต้องการให้ดูแลมาก), ป่วย (4-ต้องการให้ดูแลมากที่สุด)

     การประเมินภาวะสุขภาพ ของรายงานนี้ ดึงข้อมูลมาจากการเยี่ยมบ้านครั้งสุดท้าย ที่เมนู: การประเมินผล  ตามภาพ



     ในการคีย์ข้อมูลการเยี่ยมบ้าน ที่เมนู:การประเมินผล  จะต้องคีย์: สุขภาพดี หรือ มีภาวะเสี่ยง หรือ ป่วย(1-ต้องการให้ดูแลเล็กน้อย) หรือ ป่วย (2-ต้องการให้ดูแลปานกลาง) หรือ ป่วย (3-ต้องการให้ดูแลมาก) หรือ ป่วย (4-ต้องการให้ดูแลมากที่สุด)


     ต้องการใช้รายงานนี้... ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน

หรือ ลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบรายงาน HOSxP PCU ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/ ครับ...