วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

การอัพเดทรหัสสถานพยาบาลให้เป็นปัจจุบัน


     มีผู้ป่วยรายหนึ่งมาขอรับบริการ (ใช้สิทธิประกันสังคม)  มีบัตรรับรองสิทธิ ระบุสถานพยาบาลหลัก : รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล(21339)  จังหวัดที่ลงทะเบียนรักษา : กรุงเทพฯ

ลงทะเบียนผู้ป่วยในโปรแกรม HOSxP_PCU
     สิทธิการรักษา : ประกันสังคม รพ.เอกชน
     สถานพยาบาลหลัก : ค้นหาแล้ว ปรากฏว่า ไม่มี รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล(21339)  ตามรูป


เมื่อไปตรวจสอบสิทธิ ที่  http://ucsearch.nhso.go.th  พบข้อมูล ตามรูป



      จากกรณีดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ไม่มีสถานพยาบาลหลักให้เลือกอีกหลายแห่ง  ในฐานข้อมูลโปรแกรม HOSxP_PCU ของเรา ไม่ว่าจะเป็น รพ.สาธารณสุขอื่น, รพ.เอกชน, คลินิก  วิธีการแก้ไขปัญหา จะต้องอัพเดทรหัสสถานพยาบาลให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

      1. ตรวจสอบให้เครื่องคอมพิวเตอร์  ---> ให้ออกอินเตอร์เน็ตได้
      2. Login เข้าโปรแกรม HOSxP_PCU
      3. เข้าเมนู : Tools  --->  System setting
          (1) คลิกที่แทบ : รหัสสถานพยาบาล ---> จะเข้าสู่หน้าจอ รายการสถานพยาบาล
          (2) คลิกปุ่ม : Auto update
          (3) รอจน.....ขึ้น Done  ---> คลิกปุ่ม : OK
          (4) คลิกปุ่ม : ตกลง


      4. ปิดโปรแกรม HOSxP_PCU ออกไป
      5. Login เข้าโปรแกรม HOSxP_PCU ใหม่
      6. เข้าเมนู : ระบบบัญชี 1-8  --->  ระบบบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)
          (1) คลิกปุ่ม : ค้นหา/แก้ไข  ---> เลือกผู้รับบริการ
               ค้นหา : กรอก ชื่อ สกุล  หรือเลขบัตรประชาชน ---> คลิกปุ่ม : ค้นหา
               คลิกเลือกรายชื่อคนที่ต้องการแก้ไข ---> คลิกปุ่ม : ตกลง
          (2) จะเข้าสู่หน้าจอ ข้อมูลส่วนบุคคล
                - ให้กรอกข้อมูล สิทธิการรักษา, วันที่เริ่มใช้, เลขที่สิทธิ, วันหมดอายุ ให้เรียบร้อย
                - ให้กรอก รหัส หรือชื่อ หรือ drop down เลือกสถานพยาบาลหลัก : รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล(21339) ได้แล้ว ตามภาพ    


          (3) คลิกปุ่ม : บันทึก

     เมื่อทำการอัพเดทรหัสสถานพยาบาลแล้ว  จะมีสถานบริการเพิ่มมากขึ้น  ชื่อสถานบริการจะเปลี่ยนจากสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q (ส่งออก Excel)


     ตอนที่แล้วผมได้เสนอวิธีการบันทึกข้อมูลคัดกรองโรคซึมเศร้าในโปรแกรม HOSxP_PCU version 3.55.2.27 ไปแล้ว และผมได้สอบถามกับพี่ศศิธร (พี่ติ๋ม)   ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต สสจ.เลย ได้ข้อสรุปว่า พี่ติ๋มจะรับข้อมูลในรูปแบบไฟล์ Excel ส่งผ่าน e-mail ตามแบบฟอร์ม (แบบบันทึกการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า....)

     เพื่อลดภาระในการบันทึกข้อมูลของ รพ.สต. ซึ่งได้คีย์ข้อมูลคัดกรองโรคซึมเศร้าในโปรแกรม HOSxP_PCU แล้ว  ผมจึงได้เขียนรายงาน CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q  (ส่งออก Excel).cds เมื่อโหลดรายงานไป Import เข้าในฐานข้อมูลแล้ว สามารถใช้รายงานได้

     1. ที่เมนู รายงาน  --> Report Central  --> module :  Loei_report    ที่ name :  รายงานทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q  (ส่งออก Excel)  --> คลิกปุ่ม พิมพ์รายงาน
     2. ให้ drop down เลือกช่วงวันที่ ที่ต้องการ  --> คลิกปุ่ม ตกลง
     3. จะปรากฏหน้าจอ เตรียมการพิมพ์รายงาน
         ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ส่งข้อมูลออกผ่าน Excel    --> คลิกปุ่ม Print

     4. ข้อมูลจะส่งไปที่โปรแกรม Microsoft Excel
         ดูข้อมูลที่คอลัมน์ E (2Q_1) และคอลัมน์ F (2Q_2)
         ถ้าช่องใดช่องหนึ่งเป็น Y หรือ Y ทั้ง 2 ช่อง  ให้กรอกตัวเลข 1  ในคอลัมน์ F (ผลการคัดกรอง 2Q)
         ถ้าเป็น N ทั้ง 2 ช่อง  ให้กรอกตัวเลข 2  ในคอลัมน์ F (ผลการคัดกรอง 2Q)


     5. เมื่อกรอกข้อมูลผลการคัดกรอง 2Q  ครบแล้ว --> ลบคอลัมน์ E (2Q_1) และคอลัมน์ F (2Q_2)
         ให้คัดลอกข้อมูลไปใส่ในแบบฟอร์ม (แบบบันทึกการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า....)  ส่งผ่าน e-mail  ให้ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต สสจ.เลย

       
     สามารถโหลดรายงาน CUSTOM-PCU  CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q  (ส่งออก Excel).cds  และรายงาน CUSTOM-PCU  CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q-9Q-8Q  (ส่งออก Excel).cds

             กันได้ที่นี่ครับ **Loei_report-2Q.rar**


     เมื่อโหลดไฟล์ได้แล้ว ให้แตกไฟล์ก่อน แล้วนำเข้ารายงาน
ที่เมนู Tools --> Report Designer --> Import Report

ส่วนรายงาน CUSTOM-PCU  CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q-9Q-8Q  (ส่งออก Excel).cds  ใช้ดึงข้อมูลเป็นทะเบียนไว้ที่ รพ.สต.  ครับ...


การบันทึกข้อมูลคัดกรองโรคซึมเศร้าในโปรแกรม HOSxP_PCU version 3.55.2.27

การบันทึกข้อมูลคัดกรองโรคซึมเศร้า มีขั้นตอน ดังนี้
      1. เปิดเมนูระบบงานเชิงรับ  --->  One stop service
         ค้นหาผู้รับบริการ  เมื่อเลือกผู้รับบริการได้แล้ว --->  คลิกปุ่ม ส่งตรวจ
      2. จะเข้าสู่หน้าบันทึกการให้บริการ
          - บันทึกข้อมูลการคัดกรอง (น้ำหนัก, ควานดันโลหิต, อุณหภูมิ, ...)
          - การตรวจร่างกาย (คัดกรองโรคซึมเศร้า) ให้เรียบร้อย
      3. ที่แทบการวินิจฉัย  ให้รหัสโรค (คัดกรองโรคซึมเศร้าใช้รหัส Z133) สำหรับลำดับความสำคัญ หากผู้มารับบริการมารับบริการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าโดยตรง ให้เลือกเป็น principle หากผู้มารับบริการด้วยโรคอื่น แล้วต้องการตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย ให้เอาโรคอืนเป็นหลัก แล้วให้วินิจฉัยโรคเป็น Co-morbidity
      4. คลิกที่ปุ่ม คัดกรองโรคซึมเศร้า


      5. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลสรุปการคัดกรองโรคซึมเศร้า  --> ให้คลิกปุ่ม บันทึกคัดกรอง


      6. จะปรากฏหน้าจอ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า
          ที่แบบคัดกรอง 2Q  --> ให้ติ๊กในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
          ข้อที่ 1 ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวัง
                     ถ้าติ๊ก  แสดงว่า มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า(+ve) เหมือนในกระดาษ= 1
          ข้อที่ 2 ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวัง
                     ถ้าติ๊ก  แสดงว่า มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า(+ve) เหมือนในกระดาษ= 1
          ในกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านหน้าข้อความ ไม่มีความรู้สึกหดหู่ เศร้า เบื่อ ท้อแท้
          ถ้าติ๊กแสดงว่า ไม่มีทั้ง 2 ข้อ คือ ปกติ(-ve) เหมือนในกระดาษ= 2
          ซึ่งในแปรผล ถ้าติ๊กเลือก ข้อนี้ก็ไม่ต้องทำแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า (9Q) และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)  --> คลิกปุ่ม บันทึก

     
     7.  ถ้าติ๊กเลือก ข้อ 1 หรือข้อ 2 หรือทั้ง 2 ข้อ จะต้องมาทำแบบคัดกรอง โรคซึมเศร้า (9Q) ต่อ
          ที่แทบแบบคัดกรอง 9Q  --> ให้ drop down เพื่อเลือกคำตอบ  --> คลิกปุ่ม บันทึก


     8. จะกลับมาที่หน้าจอ ข้อมูลสรุปการคัดกรองโรคซึมเศร้า
         ในการแปรผลการประเมินโรคซึมเศร้า (9Q)  ถ้าได้คะแนนรวม <7  แสดงว่า ไม่มีอาการโรคซึมเศร้า ก็ไม่ต้องทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)   --> คลิกปุ่ม บันทึก


      9. ถ้าได้คะแนนรวมตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป แสดงว่า มีอาการโรคซึมเศร้า ก็จะต้องทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q) ต่อ   --> คลิกปุ่ม แก้ไขการคัดกรอง
          ที่แทบแบบคัดกรอง 8Q  --> ให้คลิกเลือกคำตอบ  (ไม่มี  หรือ มี)   --> คลิกปุ่ม บันทึก


     ในการแปรผลการประเมินการฆ่าตัวตาย (8Q)  ถ้าได้คะแนนรวม 0 แสดงว่า ไม่มีแนวโน้มการฆ่าตัวตาย    --> คลิกปุ่ม บันทึก


วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

แจ้งให้ รพ.สต. ปรับปรุงรหัสส่งออก (สนย.) โปรแกรม HOSxP_PCU


      สืบเนื่องจากงาน ICT สสจ.เลย ได้ตรวจสอบข้อมูล 21 แฟ้มของ รพ.สต. พบว่า รหัส Clinic ไม่ตรงตามรหัสมาตรฐานที่กำหนด (รหัส Clinic ของ รพ.สต. คือ 00000) ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดได้ดำเนินการปรับแก้ให้ตรงตามมาตรฐานก่อนส่งไปยัง สนย. และ สปสช.
      เพื่อให้ รพ.สต. สามารถส่งออกข้อมูล 21 แฟ้มที่มีรหัส Clinic เป็น 00000 ถูกต้องตามมาตรฐานของ สนย. จึงแจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับปรุงรหัสส่งออก (สนย.) โปรแกรม HOSxP_PCU มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

     1. เข้าที่เมนู Tools --> ส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม สนย. ปีงบประมาณ 2555
     2. คลิกที่ปุ่ม กำหนดรหัสพื้นฐาน
     3. คลิกที่แทบ แผนก  --> ที่ฟิวด์ รหัสส่งออก (สนย.) ให้แก้เป็น 00000 ทุกแผนก ดังรูปภาพ


     4. คลิกปุ่ม บันทึก   --> ปิด

 (ทำเฉพาะ รพ.สต. เท่านั้น)

แจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับเวอร์ชั่นของโปรแกรม HOSxP_PCU เป็นเวอร์ชั่น 3.55.2.27


     เนื่องจากโปรแกรม HOSxP_PCU 3.55.1.19  มีปัญหา เวลาคนไข้มารับบริการมันไม่จำที่อยู่ของคนไข้ครับ ทั้งหมดเลย ตรวจสอบที่อยู่ในบัญชี 1 ก็ยังอยู่ครบ แต่พอนำเข้ามาเพื่อจะเข้าหน้ารับบริการมันจะฟ้องว่าไม่มีอำเภอกับตำบลครับ จะแก้ปัญหายังไงครับ ไม่ทราบว่าทาง BMS เข้ามาเห็นหรือยังครับ..ในฐาน บช. 1 ข้อมูลยังอยู่ปกติ.. หรือ BMS จะดำเนินการแก้ไขที่เวอร์ชันครับ ..

อ.ชัยพร   ตอบคำถามนี้ เมื่อ: มกราคม 25, 2012, 11:44:59 AM
              แก้ไขให้แล้วครับใน 3.55.1.25

HOSxP_PCU 3.55.2.10  มีปัญหาการคัดกรองความดัน/เบาหวาน
HOSxP_PCU 3.55.2.20  มีปัญหาการแบ๊คอัพฐานข้อมูลนานมาก  บางแห่งแบ๊คอัพฐานข้อมูลไม่ได้เลย

เพื่่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวมา จึงแจ้งให้ รพ.สต. ทุกแห่ง ปรับเวอร์ชั่นของโปรแกรม HOSxP_PCU  เป็นเวอร์ชั่น 3.55.2.27  ได้เลยครับ...

ดาวโหลดไฟล์อัพเดท  HOSxP_PCU_Setup_3.55.2.27.rar  คลิกที่นี่ครับ



วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบการตายและสาเหตุการตาย

ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด สำหรับหนังสือรับรองการตายที่เขียนโดยแพทย์ไทยในอดีต คือ การเขียนรูปแบบการตาย (Mode of Death) ลงไปใน หนังสือรับรองการตาย
ตัวอย่าง Mode of Death ได้แก่
- Heart failure หรือ Cardiac Arrest (หัวใจล้มเหลว)
- Respiratory failure (หายใจล้มเหลว)
- Cardio-respiratory failure (ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว)
- Shock
- Brain dysfunction
ฯลฯ
เหล่านี้คือ คำบรรยายรูปแบบการตายที่ใช้ในการทำ Clinico-pathological-conference นั่นเอง คำเหล่านี้ ทำให้เกิดความสับสนกับคำว่า สาเหตุการตาย หรือ Underlying cause of death เป็นอย่างมาก เพราะแพทย์และเจ้าหน้าที่หลายคนเข้าใจว่า รูปแบบการตายคือสาเหตุการตาย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่
รูปแบบการตายแตกต่างจากสาเหตุการตายตรงที่ว่า รูปแบบการตายคือการบ่งบอกว่า อวัยวะใดที่สำคัญหยุดทำงานไปก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต ส่วนสาเหตุการตาย บอกว่า เหตุต้นกำเนิด ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย อันทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จนนำไปสู่การตายนั้นคืออะไร
การค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุการตายของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะมีประโยชน์ ในการวางแผนป้องกันสาเหตุการตายนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวิจัยทางการแพทย์และระบาดวิทยา ส่วนการวิเคราะห์รูปแบบการตาย อาจมีประโยชน์อยู่บ้างในการศึกษาทางพยาธิวิทยาของอวัยวะสำคัญ
ถ้าเรามองในมุมกว้าง จะเห็นว่า การวิเคราะห์สาเหตุการตายจะมีประโยชน์ในระดับชาติ และนานาชาติมากกว่า ดังนั้น กฎเกณฑ์ ICD-10 จะเน้นการเลือกสาเหตุการตายให้ถูกต้อง และไม่แนะนำให้มีการเขียนรูปแบบการตายลงในหนังสือรับรองการตาย
ที่มา : คู่มือการรับรองสาเหตุการตาย โดยกลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การบันทึกหนังสือรับรองการตาย

เห็นพ่อออมสินเขียนเรื่องการวินิจฉัยโรค จึงมีความคิดว่า เอ๊ะ! น่าจะมาเล่าเรื่องการตายสู่กันฟัง เพื่อความเข้าใจร่วมกันของชาวเราทุกคนค่ะ
การบันทึกหนังสือรับรองการตายนั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบันทึกหนังสือรับรองการตายในโรงพยาบาล คือแพทย์ เพราะเป็นผู้ดูแลผู้เสียชีวิต ทราบรายละเอียดการวินิจฉัยโรค โรคแทรกซ้อน การรักษา ฯลฯ ของผู้เสียชีวิตเป็นอย่างดี การเลือกสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิตแต่ละรายจึงจะพิจารณาจากความเห็นของแพทย์ผู้ดูแลเป็นหลัก แพทย์จึงควรมีความรู้และความเข้าใจหลักการรับรองสาเหตุการตายอย่างถ่องแท้ จึงจะสามารถบันทึกหนังสือรับรองการตายได้ถูกต้อง
ในการบันทึกหนังสือรับรองการตาย ส่วนที่ 1 ถือเป็น ส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่จะถูกวิเคราะห์และนำไปเลือกสาเหตุการตายสำหรับผู้ตายรายนั้น ในส่วนนี้ ใช้สำหรับแสดงลำดับเหตุการณ์ของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อันนำไปสู่การตาย โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ย้อนจากปัจจุบันไปหาอดีต โดยเหตุการณ์ล่าสุดจะอยู่บรรทัดบนสุด ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนนั้นจะอยู่ในบรรทัดถัดลงไป จนย้อนไปถึงสาเหตุการตายที่แท้จริงในบรรทัดล่างสุด
การกรอกหนังสือรับรองการตาย ส่วนที่ 1 นี้ อาจกรอกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ แล้วแต่กรณี คือ
ก. กรณีที่การตายมีเหตุการณ์ที่ดำเนินต่อเนื่องมีเหตุผลซึ่งกันและกัน
ในกรณีนี้การบันทึกสาเหตุการตายจะบันทึกโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ย้อนจากปัจจุบันไปหาอดีต โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการตายไม่นานจะถูกบันทึกอยู่ในบรรทัดบนสุด คือ 1(a) เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของเหตุการณ์แรกจะอยู่บรรทัดล่าง 1(b), 1(c) ไล่สาเหตุไปเรื่อย ๆ จนถึงสาเหตุการตายที่แท้จริงจะอยู่บรรทัดล่างสุด คือ 1(c) หรือ 1(d)
ข. กรณีที่การตายไม่มีเหตุการณ์ดำเนินต่อเนื่องอันมีเหตุผลซึ่งกันและกัน
ในกรณีนี้ให้บันทึกโรคที่คิดว่ามีโอกาสเป็นสาเหตุการตายมากที่สุด ในส่วนที่ 1 และบันทึกโรคอื่น ๆ ในส่วนที่ 2

แนวคิดการบันทึกโรคที่เป็นสาเหตุการตาย
โรคต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในบรรทัด (a), (b), (c) และ (d) ในส่วนที่ 1 ของหนังสือรับรองการตายนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในการเจ็บป่วยคราวนี้เสมอไป อาจเกิดขึ้นมานานกว่าการเจ็บป่วยคราวนีัก็ได้ ถ้าแพทย์เห็นว่าโรคนั้น เป็นส่วนสำคัญและอาจเป็นสาเหตุการตายได้
เช่น กรณ๊ผู้ตาย ติดเชื้อ Viral hepatitis B และมีอาการตับอักเสบเรื้อรังมา ครั้งสุดท้ายอาการตับวายเสียชีวิต
การบันทึกส่วนที่ 1 จึงเป็นดังนี้
(a) ACUTE FULMINANT HEPATITIS 7 days
(b) CHRONIC ACTIVE HEPATITIS 8 years
(c) VIRAL HEPATITIS B INFECTION 10 years ago
(d) -
สาเหตุการตายของผู้ป่วยรายนี้ ตือ Viral Hepatitis B Infection

ไว้เรื่้องหน้าจะเขียนเรื่องรูปแบบการตายกับสาเหตุการตาย เหมือนกันหรือไม่เหมือนกันอย่างไรนะคะ