เวลาที่องค์กรหนึ่งๆ ตัดสินใจเลือกใช้ software โดยเฉพาะที่ต้องมาใช้ให้บริการผู้ป่วย เป็น Software ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานจึงไม่ใช่เรื่องง่ายครับที่นึกอยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้ตามใจชอบ มีึคนเคยบอกกับผมไว้ว่า "ระบบสารสนเทศเป็นเรื่องใหญ่พอๆกับการเปลี่ยนผู้บริหาร" ซึ่งถ้าพิจารณากันจริงๆแล้วไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลย เพราะหลายๆ โรงพยาบาลที่มีการนำโปรแกรมราคาหลายแสน หรือราคาหลักล้านมาใช้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันว่าจะใช้งานได้ดีเสมอไป ส่วนใหญ่โปรแกรมจะกลายเป็นภาระเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่นๆเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นการเปลี่ยนจาก HCIS มาเป็น HOSxP ของทีมจังหวัดเลย จึงเป็นเรื่ืองใหญ่ครับ ผมเชื่อว่าคงมีเสียงทั้งเห็นด้วย คัดค้าน หรือเฉยๆกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนีซึ่งเป็นแรงกระทบกับคนทำงานที่อยู่ตรงกลางพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาครับเพราะสถานีอนามัยหลายแห่ง เจ้าหน้าที่หลายคนได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจทำข้อมูลใน HCIS จนอาจกล่าวได้ว่ารู้จัก HCIS ทุกซอกทุกมุมของโปรแกรม โลกของเทคโนโลยีก็แบบนี้แหละครับมันก้าวกระโดดที่เร็วมาก และเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของคนที่ทำงานศูนย์คอมพิวเตอร์ของ สสจ.ที่จะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเราทุกคน การที่ต้องมาอยู่ในจุดต้องตัดสินใจเรื่องอย่างนี้ไม่ง่ายครับ
สิ่งที่ผมมักได้ยินบ่อยๆ จากคนที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ HOSxP PCU ประโยคคลาสสิคคือ "ใช้ยาก" ไม่เหมือน HCIS ที่ใช้ง่ายกว่า ผมก็เห็นว่าจริงตามนั้นเช่นกันครับ แต่ถ้าเราลองพิจารณาให้ดีๆ จะเห็นว่าในความยุ่งยากของ HOSxP PCU มาจากระบบงานที่ต้องการตอบสนองความยุ่งยากทั้งหลายที่เราได้รับเป็นนโยบายจาก กระทรวง เขต สปสช.ทั้งนั้น จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนมาใช้ HOSxP
และด้วยองค์ความรู้ในปัจจุบันที่ทำให้เราสามารถถอดบทเรียนเป็นชุดความรู้ที่ทำให้เราสามารถเตรียมทั้งคน อุปกรณ์ และกระบวนการเรียนการสอน การโอนข้อมูลจากโปรแกรมเดิม จนสามารถใช้งานได้ภายใน 3 วัน
HOSxP PCU เป็นจุดเปลี่ยนที่เราต้องช่วยกันเรียนรู้.. เปิดใจรับมัน และเป็นกำลังใจช่วยกันครับ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ความยุ่งยากทั้งหลายกลายเป็นเรื่องที่ง่าย คือ "การแลกเปลี่ยน..เรียนรู้" นั่นเอง