วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทะเบียนผู้ป่วย เบาหวาน และความดันโลหิตสูง แยกตามโซนสี (เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิก)


     จากการมอบนโยบายของนายแพทย์วิชัย  เทียนถาวร  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง  "ระบบการเฝ้าระวัง ควบคม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบาย สู่ การปฏิบัติ"   เฝ้าระวังด้วย "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี"  ตามภาพ


   

     ผมได้เขียนรายงาน  CUSTOM-ทะเบียนผู้ป่วย เบาหวาน และความดันโลหิตสูง แยกตามโซนสี  (เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิก).cds



      เป็นรายงานที่แสดงข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง(เฉพาะผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง)  แสดงข้อมูลการมารับบริการ ประกอบด้วยข้อมูล วันที่รับบริการ, HN, ชื่อ - สกุล, อายุ(ปี), บ้านเลขที่, โรคประจำตัว, Cheif complaint:, BP,  ระดับความดัน แยกตามโซนสี(เขียวแก่, เหลือง,  ส้ม, แดง), ระดับน้ำตาล (DTX หรือ FBS), HbA1C, ระดับเบาหวาน แยกตามโซนสี(เขียวแก่, เหลือง,  ส้ม, แดง), โรคแทรกซ้อน(ตา, เท้า, ไต, หัวใจ, หลอดเลือด,สมอง), จำนวนชนิดยาที่ได้รับ(HT, DM)  และค่ายา HT, DM

     แสดงข้อมูลตามหมู่บ้านที่เลือก  และช่วงวันที่รับบริการที่เลือก โดยมีเงื่อนไขว่า
 Cheif complaint: จะต้องคีย์ว่า "DM" หรือ"HT" หรือ "เบาหวาน" หรือ "ความดัน"
     เรียงลำดับตามวันที่ และเวลา

     ต้องการใช้รายงานนี้... ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน
เพื่อให้ Admin ตรวจสอบเงื่อนไขของรายงาน ดังนี้

     Variable3  >>  HbA1C  ดึงข้อมูลจาก lab_order.lab_items_code in("123")
ต้องตรวจสอบโดยใช้คำสั่ง  select * from lab_order where lab_items_name_ref like("%Hb A1%")
ที่ฟิลด์ lab_items_code คืออะไร  >> ถ้าไม่ใช่ "123"  ก็ต้องแก้ไขตามตัวเลขที่แสดง
               
     Variable4  >>  โรคแทรกซ้อน(ตา, เท้า, ไต, หัวใจ, หลอดเลือด,สมอง)  ต้องคีย์ข้อมูลโรคแทรกซ้อนในคลินิก

     Variable5  >>  จำนวนชนิดยา HT  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%")
ต้องไปคีย์ข้อมูล Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน (สำหรับยารักษาความดันโลหิตสูงทุกตัว(ถ้ามี)  เช่น   METHYLDOPA
Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน ควรงดอาหารเค็ม มัน
กลุ่มการออกฤทธิ์ >> therapeuticgroup: ยาลดความดัน

     Variable6  >>  จำนวนชนิดยา DM  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%")
ต้องไปคีย์ข้อมูล Indication >> therapeutic:  ยาลดความดัน (สำหรับยารักษาความดันโลหิตสูงทุกตัว(ถ้ามี)  เช่น  Glibenclamide
Indication >> therapeutic: ยาเบาหวาน  ควรทานก่อนอาหาร 30 นาที
กลุ่มการออกฤทธิ์ >> therapeuticgroup: ยาเบาหวาน

     Variable7  >>  ค่ายา HT, DM  ดึงข้อมูลจากตารางยา drugitems.therapeutic like  ("%ความดัน%") or
drugitems.therapeutic like  ("%เบาหวาน%")

ลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบรายงาน HOSxP PCU ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/ ครับ...



วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เงื่อนไขการตรวจสอบข้อมูลการให้บริการ OP/PP individual Data ที่สำคัญ คือ
- แฟ้ม OP
1. อัตราการใช้บริการ (Utilization Rate) เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย มากกว่า 3 SD คือ อัตราการใช้บริการของผู้ป่วยมากกว่า POP UC มาก
2. สัดส่วน OP visit ทั้งหมดเปรียบเทียบกับ OP visit ที่มีหัตถการ คือ หัตถการมากกว่า visit เกิน 51.75 % (หัตถการเยอะไป)
- แฟ้ม PERSON
1. จำนวนคนที่อยู่อาศัยจริงในเขตตามสถานะบุคคล (typearea = 1+3) สูง-ตํ่ากว่า ความเป็นจริงเปรียบเทียบกับ pop UC
2. จำนวนคนตายที่ไม่จำหน่าย person เปรียบเทียบข้อมูลตายของ สปสช. มากกว่า 5 % ของ POP typearea 1+3
- แฟ้ม CHORNIC
1. เป็นผู้เสียชีวิตแล้ว เมื่อตรวจสอบจากฐานข้อมูล สปสช. คือ ไม่จำหน่ายคนตายออกจากทะเบียนโรคเรื้อรัง


ดาวน์โหลด :
http://www.upload-thai.com/download.php?id=9b4ed1521866ba307e25aaaf9253a628
 
 

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายงานแฟ้มครอบครัว (Family Folder)


     รพ.สต.นาอ้อ และ รพ.สต.ห้วยป่าน ขอรายงานแฟ้มครอบครัว (Family Folder)  ผมได้ออกแบบ/เขียนเรียบร้อยแล้ว  ดังนี้

ชื่อรายงาน: CUSTOM-แฟ้มครอบครัว  (Family Folder).cds  ตามภาพ





     เป็นรายงานแสดงข้อมูลรายละเอียดประชากรที่ยังมีชีวิตอยู่   ตามหมู่บ้าน และบ้านเลขที่ ที่ต้องการ(ปกแฟ้มครอบครัว) แสดงข้อมูล เลขรหัสประจำบ้าน: ,  เจ้าบ้าน: , บ้านเลขที่: , หมู่ที่: , บ้าน: , ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, บุคลากรสาธารณสุขประจำบ้าน: , อสม. ประจำบ้าน: , person_id, HN, ชื่อ-สกุล, เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด, อายุ(ป/ด/ว), ประเภทการอยู่อาศัย(0-มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน, 1-มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ และอยู่จริง, 3-มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ (ตามทะเบียนบ้านในเขต)แต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขต,  4-ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ), สถานะในครอบครัว, ระดับการศึกษา, อาชีพ, ศาสนา, สถานะการสมรส, สิทธิการรักษา, วันที่ย้ายเข้า: , โรคประจำตัว และการประเมินภาวะสุขภาพ
     เรียงลำดับตามวันเดือนปีเกิด

     การประเมินภาวะสุขภาพ ผมได้ประสานกับคุณก้อย งานพัฒนาคุณภาพรูปแบบและบริการ ในการประเมินภาวะสุขภาพ 3 กลุ่ม คือ สุขภาพดี, มีภาวะเสี่ยง, ป่วย
     สำหรับกลุ่มป่วย แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ป่วย(1-ต้องการให้ดูแลเล็กน้อย), ป่วย (2-ต้องการให้ดูแลปานกลาง),  ป่วย (3-ต้องการให้ดูแลมาก), ป่วย (4-ต้องการให้ดูแลมากที่สุด)

     การประเมินภาวะสุขภาพ ของรายงานนี้ ดึงข้อมูลมาจากการเยี่ยมบ้านครั้งสุดท้าย ที่เมนู: การประเมินผล  ตามภาพ



     ในการคีย์ข้อมูลการเยี่ยมบ้าน ที่เมนู:การประเมินผล  จะต้องคีย์: สุขภาพดี หรือ มีภาวะเสี่ยง หรือ ป่วย(1-ต้องการให้ดูแลเล็กน้อย) หรือ ป่วย (2-ต้องการให้ดูแลปานกลาง) หรือ ป่วย (3-ต้องการให้ดูแลมาก) หรือ ป่วย (4-ต้องการให้ดูแลมากที่สุด)


     ต้องการใช้รายงานนี้... ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่าน

หรือ ลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบรายงาน HOSxP PCU ที่เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/ ครับ...



วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งาน ICT สสจ.เลยได้เพิ่มช่องทางในการ Download รายงาน


      งาน ICT สสจ.เลยได้เพิ่มช่องทางในการ Download รายงานที่ทีม It-thailoei
ได้ออกแบบ/เขียนรายงาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถโหลดรายงานดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย http://www.lo.moph.go.th/moph/   ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1   การลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบ

     1. ที่ระบบรายงาน    >>  รายงาน HOSxP PCU    ตามภาพ


   
     2. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้งให้ login หรือ Register ก่อนเข้าใช้งาน
ในกรณีใช้งานครั้งแรกให้คลิกที่ Register  >> เพื่อลงทะเบียนสมัครขอใช้งานระบบ   ตามภาพ



     3. หลังจากที่ทีม ICT  สสจ.เลย  ได้ตรวจสอบการสมัครขอใช้งานระบบของท่านแล้ว
แล้วอนุญาตให้ท่านใช้งานระบบ >> ท่านจึงจะมีสิทธิใช้งาน(โหลดรายงานได้)


ขั้นตอนที่ 2   การ login เข้าใช้งาน

     1. ที่ระบบรายงาน    >>  รายงาน HOSxP PCU
     2. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้งให้ login หรือ Register ก่อนเข้าใช้งาน
ในกรณีได้รับการอนุญาตให้ใช้งานระบบแล้ว  >> ให้คลิกที่ login
     3. จะปรากฏหน้าจอ รายงานต่าง ๆที่ทีม It-thailoei  >>  Upload ไว้แล้ว   ตามภาพ
   







วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงาน CUSTOM-ทะเบียนผู้รับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก(TT, dT)

     มีรายงานที่เกี่ยวกับวัคซีน เขียนเรียบร้อยแล้ว เพิ่มเติมอีกรายงาน  คือ

     8. ชื่อรายงาน: CUSTOM-ทะเบียนผู้รับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก(TT, dT).cds



     เป็นรายงานแสดงข้อมูลผู้มารับบริการฝากครรภ์ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก  ตามวันที่รับบริการใน One stop servive  แสดงข้อมูลการมารับบริการ ประกอบด้วยข้อมูลวันที่มารับบริการ, ชื่อ - สกุล, ที่อยู่, HN, อายุ(ปี), Cheif complaint, น้ำหนัก, ส่วนสูง, วันที่ลงทะเบียน, ครรภ์ที่, อายุครรภ์, LMP, EDC, วัคซีนบาดทะยักที่ได้รับเป็นวัคซีน TT หรือ dT  คือ "Y"  เลข Lot No.  วันที่นัดครั้งต่อไป และคลินิกที่นัด

     แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่รับบริการที่เลือก
     เรียงลำดับตามวันที่
   
     ต้องการใช้รายงานนี้...
ให้ติดต่อกับ Admin อำเภอ / Admin โรงพยาบาล  อำเภอท่านครับ...






วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุ 0-5 ปี


     ตามที่งาน ICT สสจ.เลย ได้แจกรายงาน CUSTOM-PCU ทะเบียนผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กแรกเกิด - 5 ปี



     ซึ่งรายงานนี้มีข้อผิดพลาด คือจะแสดงรายชื่อเด็กแรกเกิด - 5 ปี ตามวันที่รับบริการใน One stop servive ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรับบริการสร้างเสริมภูิคุ้มกันโรค หรือรับบริการรักษาพยาบาล/ทำแผล/รับยา/อื่นๆ  ทำให้ยากแก่การตรวจสอบข้อมูลการได้รับวัคซีน

     เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมจึงออกแบบ/เขียนรายงานทะเบียนผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุ 0-5 ปีใหม่  เสร็จเรียบร้อยแล้ว  คือ

     CUSTOM-ทะเบียนผู้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุ 0-5 ปี.cds



     เป็นรายงานที่แสดงข้อมูลผู้มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็กอายุ 0-5 ปี แสดงข้อมูลการมารับบริการ ประกอบด้วยข้อมูลวันที่มารับบริการ, HN, ชื่อ - สกุล, ที่อยู่, อายุ(ปี-เดือน), Cheif complaint, วัคซีนที่ได้รับ(Y),  Lot No. และวันที่นัดครั้งต่อไป

     แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่รับบริการที่เลือก โดยมีเงื่อนไขว่าในช่อง Cheif complaint: จะต้องคีย์ว่า "สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค"  หรือ  "รับวัคซีน"  หรือ  "ฉีดวัคซีน"  หรือ  "รับวัคซีนเด็ก 0-5 ปี"
     เรียงลำดับตามวันที่

   
     รายงานตัวใหม่นี้จะแจกให้กับ Admin อำเภอ ในวันที่ 7 พ.ย. 55 นี้ ครับ...



วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ


     ตอนที่แล้ว ได้นำเสนอคู่มือการคีย์ข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบในโปรแกรม HOSxP และ HOSxP PCU  ซึ่งงาน ICT ได้ส่งคู่มือการคีย์ข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ (Mop up dT)  ให้ทางกล่องหนังสือแล้วนั้น

     ในตอนนี้  ผมได้ออกแบบ/เขียนรายงานทะเบียนผู้รับบริการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ดังนี้

     1. CUSTOM-รายงานทะเบียนผู้รับบริการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ.cds



     เป็นรายงานที่แสดงข้อมูลผู้มารับบริการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ แสดงข้อมูลการมารับบริการ ประกอบด้วยข้อมูล  HN, ชื่อ - สกุล, เลขบัตรประชาชน, อายุ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, Cheif complaint, วัคซีนที่ได้รับ,  ที่อยู่, ICD10, Lot No. , วันหมดอายุ, วันที่นัดครั้งต่อไป, คลินิกที่นัด  และที่อยู่ของผู้รับบริการ

     แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่รับบริการที่เลือก โดยมีเงื่อนไขว่าในช่อง Cheif complaint: จะต้องคีย์ว่า "Mop up dT" หรือ "ฉีด dT"  หรือ การรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ  หรือ "รณรงค์ฉีด dT"
     เรียงลำดับตามวันที่

     ต้องการใช้รายงานนี้  ส่ง E-mail  มาครับ...




วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การคีย์ข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบในโปรแกรม HOSxP และ HOSxP PCU

     ตามที่จังหวัดเลย ได้มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบให้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนกลุ่มอายุต่าง ๆในพื้นที่จังหวัดเลย  มีหน่วยบริการหลายแห่งได้ปรึกษาเรื่องการคีย์ข้อมูลไปยังกลุ่มงานควบคุมโรค และงานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยนั้น

     กลุ่มงานควบคุมโรค และงานข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยได้ประสานไปยังกรมควบคุมโรค และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์เรียบร้อยแล้ว สรุปเป็นแนวทางการคีย์ข้อมูลในโปรแกรม HOSxP / HOSxP_PCU   มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การเพิ่ม Vaccine lot: dT

     1. ที่ระบบงานอื่นๆ    >>  ข้อมูล Vaccine



     2. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูล Vaccine


             (1) ชื่อVaccine: คลิกที่ dT
             (2) Vaccine lot: ให้คลิกปุ่ม:  +  (เครื่องหมายบวกสีเขียว)
             (3) คีย์ข้อมูลการรับวัคซีน >> วันที่รับ, Lot No. , วันหมดอายุ, จำนวนที่รับ, จำนวนคงเหลือ และ
ยังมีใช้อยู่(ให้ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ)
             (4) วัคซีน lot อื่น ให้เอาเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆออก (จะไม่ปรากฏเมื่อคีย์ฉีดวัคซีน)
             (5) คลิกปุ่ม: บันทึก


ขั้นตอนที่ 2   การคีย์ข้อมูลการรับบริการฉีดวัคซีนคอตีบ(dT)

     1. ที่ระบบงานเชิงรับ   >>  One stop service

     1. ที่เมนู ระบบงานเชิงรับ    >>  One stop service



     2. จะปรากฏหน้าจอ One stop service


             (1) คลิกในช่อง HN  แล้วเคาะที่ space bar 1 ครั้ง
             (2) จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ค้นหาผู้รับบริการ  สามารถค้นหาด้วย(ชื่อ / นามสกุล / CID / HN / ID) หรือค้นหาตามที่อยู่ ของผู้รับบริการที่ต้องการ  >> ตามภาพ ค้นหาด้วย HN: 0054880
             (3) คลิกที่ชื่อบุุคคลที่ต้องการ (ให้เกิดสีน้ำเงิน)
             (4) คลิกปุ่ม : ตกลง

     3. จะปรากฏหน้าจอ One stop service   >>  คลิกปุ่ม: ส่งตรวจ



     4. จะปรากฏหน้าจอ One stop service



             (1) ข้อมูลทั่วไปผู้ป่วย คลิกที่ปุ่ม : ข้อมูลเวชระเบียน >> แก้ไขให้ถูกต้อง
             (2) การคัดกรอง OPD Screen >> ให้คีย์ข้อมูลน้ำหนัก, ส่วนสูง, ความดันโลหิต, ... ,
  Cheif complaint: พิมพ์ Mop up dT หรือ รณรงค์ให้วัคซีนคอตีบ     (ส่งออกในแฟ้ม SERVICE.txt)
             (3) ที่แทบ: การวินิจฉัย  >> ให้คีย์ข้อมูลผู้ตรวจรักษา, สถานะปัจจุบัน, การแพ้ยา
             (4) คลิกปุ่ม : ลงผลวินิจฉัย

     5. จะปรากฏหน้าจอ ลงผลวินิจฉัย



             (1) แพทย์ผู้วินิจฉัย: พิมพ์ชื่อแพทย์ หรือ จนท.ผู้ให้บริการ  >> ปรากฏชื่อ  >> Enter
             (2) ที่ช่อง ICD10: พิมพ์ Z236   (ส่งออกในแฟ้ม DIAG.txt)
                  ที่ช่อง ประเภท: พิมพ์ 1   >> Enter
             (3) คลิกปุ่ม: บันทึก

     6. คลิกที่แทบ: หัตถการ



             (1) ที่ช่อง เจ้าหน้าที่: ให้ Drop Down เลือก ชื่อ จนท.ผู้ให้บริการ
             (2) ที่ช่อง หัตถการ:  ให้ Drop Down เลือก ฉีด dT   >> Enter
(หัตถการส่งออกในแฟ้ม PROCED.txt)

     7. คลิกที่แทบ: Vaccine


             (1) ที่ช่อง ชื่อ Vaccine: ให้ Drop Down เลือก ดีทีเอส1    (ส่งออกในแฟ้ม EPI.txt)
             (2) ที่ช่อง Lot No.:  ให้ Drop Down เลือก Lot No. dT
             (3) วันหมดอายุ:  ให้ Drop Down คีย์วันหมดอายุ
             (4) ที่ช่อง เจ้าหน้าที่: ให้ Drop Down เลือก ชื่อ จนท.ผู้ให้บริการ    >> Enter

    8. คลิกที่แทบ: Medication


             (1) ที่ช่อง ยา/บริการ: พิมพ์ dT vaccine . dose      (ส่งออกในแฟ้ม DRUG.txt)
             (2) จำนวน:  ให้ Drop Down เลือก 1    >> Enter

    9. คลิกที่แทบ: การนัดหมาย



             (1) ที่ช่อง วันนัดถัดไป:  ให้ Drop Down คีย์วันนัดถัดไป
             (2) ที่ช่อง เวลานัด:  ให้ Drop Down คีย์วันนัดถัดไป
             (3) ที่ช่อง คลินิก:  ให้ Drop Down เลือก ตรวจโรคทั่วไป
             (4) ที่ช่อง ประเภทการนัดหมาย:  ให้ Drop Down เลือก dTs2    >> Enter

    10. คลิกที่แทบ: สรุปค่าใช้จ่าย  >>  คลิกปุ่ม: บันทึก




ขั้นตอนที่ 3   การตรวจสอบข้อมูล แฟ้ม EPI

     หลังจากส่งออก 21 แฟ้มแล้ว  ให้ตรวจสอบการคีย์ข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ (Mop up dT)
ที่แฟ้ม EPI   >>   EPI.txt   ตามภาพ




     คู่ฉบับนี้เขียนด้วยโปรแกรม HOSxP PCU  เวอร์ชั่น: 3.55.9.10
     งาน ICT  ได้ส่งคู่มือการคีย์ข้อมูลการรณรงค์ฉีดวัคซีนคอตีบ (Mop up dT)   ให้ทางกล่องหนังสือแล้ว





วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลรณรงค์คอตีบ

สืบเนื่องจากจังหวัดเลยมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ ซึ่งเป็นโรคที่ห่างหายไปจากวงการโรคหลายปีแล้ว ทำให้จังหวัดเลยต้องรณรงค์ฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ -> เป็นงานใหญ่และหนักมากๆ????? เมื่อทำงานหนักแล้วอย่าลืมบันทึกข้อมูลในโปรแกรมฐานข้อมูลคือ HOSxP และ HOSxP_PCU ด้วยนะคะ อย่างน้อยก็มีงบประมาณในเรื่องข้อมูล OPPP Individual และมีข้อมูล OP เพื่อไปคำนวณ OP Visit เพิ่มขึ้นค่ะ กลุ่มงานควบคุมโรคและงาน ICT สสจ.เลย ได้ประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์) และกรมควบคุมโรคก็ประสานไปยัง สปสช.กลาง เรียบร้อยแล้วได้ข้อสรุปว่า การบันทึกข้อมูลให้บันทึกดังนี้ - การวินิจฉัยโรค ให้ใช้รหัส Z23.6 - หัตถการให้เลือกว่า ฉีด dT (ในโปรแกรม) - บันทึกวัคซีน ดีทีเอส1 (รหัส 021) สำหรับการฉีด dT เข็มที่ 1, ดีทีเอส2 (รหัส 022) สำหรับการฉีด dT เข็มที่ 2, ดีทีเอส3 (รหัส 023) สำหรับการฉีด dT เข็มที่ 3 ซึ่งปกติแล้วรหัสวัคซีน 3 รหัสนี้จะใช้สำหรับการให้วัคซีนนักเรียน แต่เนื่องจาก สนย.ยังไม่สามารถเปิดรหัสวัคซีนให้ใหม่ในช่วงกลางปีได้ จึงเป็นข้อตกลงร่วมกันให้ใช้รหัสนี้ในการรณรงค์นี้ไปก่อนค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ทุกคนนะคะ สู้สู้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย(การใช้ยาสมุนไพร)


     มีรายงานที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย เขียนเรียบร้อยแล้ว เพิ่มเติมอีกรายงาน  คือ

     3. CUSTOM-รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย(การใช้ยาสมุนไพร).cds



     เป็นรายงานแสดงข้อมูลผู้มารับบริการแพทย์แผนไทย ดึงข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย(patient) แสดงวันที่รับบริการ, เลขบัตรประชาชน, ชื่อ - สกุล, สิทธิการรักษาพยาบาล, รหัส(icode), ,รหัสมาตรฐาน(24 หลัก), ชื่อยาสมุนไพร, จำนวนยาที่จ่าย, มูลค่ายาที่จ่าย และที่อยู่
 
     ใช้รายงานนี้ ส่งออก Excel File  ที่หน้าจอ Print Preview  (ขั้นตอนเหมือนตอนที่แล้ว)

     ต้องการใช้รายงานนี้  แจ้ง E-mail  มาครับ...




วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย(นวด ประคบ อบสมุนไพร)

     มีรายงานที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย เขียนเรียบร้อยแล้ว เพิ่มเติมอีกรายงาน  คือ

     2. CUSTOM-รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย(นวด ประคบ อบสมุนไพร).cds



     เป็นรายงานแสดงข้อมูลผู้มารับบริการแพทย์แผนไทย ดึงข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย(patient) แสดงวันที่รับบริการ, เลขบัตรประชาชน, ชื่อ - สกุล, สิทธิการรักษาพยาบาล, หัตถการแพทย์แผนไทย(การจัดบริการนวด ประคบ อบสมุนไพร), ตำแหน่งที่ทำหัตถการ(อวัยวะ), สถานที่รับบริการ และผู้ให้บริการ, และที่อยู่  แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่ที่เลือก, เรียงลำดับตามวันที่

     รายงานนี้แสดงรายละเอียดตามหัตถการที่ได้รับ เช่น นาย ก.  ได้รับบริการ การนวดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยแบบราชสำนัก - 11  และการประคบด้วยสมุนไพร - 20  รายงานนี้ก็จะแสดงรายชื่อของ นาย ก.  2 แถว ครับ

     การจ่ายเงินแพทย์แผนไทย ในปีงบ(ของ สปสช.) 2555  จ่ายเงินให้เฉพาะสิทธิบัตรทอง แต่ในปีงบ 2556 (เริ่มตั้งแต่วันที่  1 กรกฏาคม 2555 ถึงวันที่  30 มิถุนายน 2556)  สปสช. จะจ่ายเงินให้ทุกสิทธิ

     ใช้รายงานนี้ ส่งออก Excel File  ที่หน้าจอ Print Preview  (ขั้นตอนเหมือนตอนที่แล้ว)

     ต้องการใช้รายงานนี้  แจ้ง E-mail  มาครับ...(อยากรู้ว่า มีหน่วยบริการใดบ้างที่ให้บริการแพทย์แผนไทย... จะได้ตรวจข้อมูล 21 แฟ้ม ให้ครับ และจะได้แจ้งข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น)  ยังมีรายงานที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยที่กำลังเขียนอีก... เขียน/ทดสอบเสร็จแล้ว จะส่งให้ตามเมล์ที่แจ้งมา..ครับ





วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย


     สืบเนื่องจากงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้แจ้งให้สถานบริการส่งอุทธรณ์ข้อมูลการให้บริการแพทย์แผนไทยกับกองทุนแพทย์แผนไทย สปสช.  กอปรกับน้อง ๆ ที่หน่วยบริการได้ขอรายงานเพื่อส่งออกข้อมูลจากโปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU

     จากโจทย์ดังกล่าว  ผมจึงได้ออกแบบ/เขียนรายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย  ดังนี้

     1. CUSTOM-รายงานทะเบียนผู้รับบริการแพทย์แผนไทย.cds



     เป็นรายงานแสดงข้อมูลผู้มารับบริการแพทย์แผนไทย ดึงข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย(patient) แสดงวันที่รับบริการ, เลขบัตรประชาชน, ชื่อ - สกุล, เพศ, อายุ, สิทธิการรักษาพยาบาล, ที่อยู่, ICD10, การวินิจฉัย, สถานที่รับบริการ และผู้ให้บริการ  แสดงข้อมูลตามช่วงวันที่ที่เลือก, เรียงลำดับตามวันที่

     ใช้รายงานนี้ ส่งออก Excel File  ที่หน้าจอ Print Preview  >>  Copy ไปวางในแบบฟอร์มอุทธรณ์ฯ



             (1) คลิกที่ icon:  Printer
             (2) ให้ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ  Print to File
             (3) Type:  ให้ Drop Down เลือก Excel File
             (4) Where : ให้คลิกเลือกไดร์\โฟล์เดอร์  และให้ตั้งชื่อไฟล์ xxx.xls
             (5) คลิกที่ปุ่ม :  OK

     ต้องการใช้รายงานนี้  แจ้ง E-mail  มาครับ...(อยากรู้ว่า มี...หน่วยบริการให้บริการแพทย์แผนไทย...ที่ใดบ้าง จะได้ตรวจข้อมูล 21 แฟ้ม ให้ครับ และจะได้แจ้งข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น)

     รายงานที่เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยกำลังเขียนอีก หลายรายงาน  ทดสอบเสร็จแล้วจะส่งให้ตามเมล์ที่แจ้งมา  ครับ...





วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU

     เมื่อวันที่  8-9  ตุลาคม 2555  ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ได้ประชุมเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ซึ่งมีหัวหน้างาน และนักวิชาการของงานต่าง ๆเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบข้อมูล/งานต่าง ๆได้แจ้งรายงาน ที่จำเป็นต้องใช้ (ต้องการให้งาน ICT รวบรวมรายงานจาก รพ. / สสอ. / รพ.สต.)

     หัวหน้างานควบคุมโรคเอดส์และกามโรค ขอให้งาน ICT  เพิ่มช่องการบันทึกข้อมูลการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU  เพื่อให้  รพ. และ รพ.สต. สามารถจัดทำทะเบียนการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์, จัดทำทะเบียนแม่วัยรุ่น(เด็กหญิงแม่), รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ANC  และรายงานอื่น ๆ

     วิธีการเพิ่มช่องรับข้อมูล การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU
มีวิธีการเพิ่มช่องรับข้อมูล  ดังนี้

     1. ที่เมนู Tools    >>  SQL Query



     2. จะปรากฏหน้าจอ SQL Query


             (1) ที่ช่อง Open Table : พิมพ์   anc_risk
             (2) คลิกปุ่ม : Run
             (3) คลิกปุ่ม :  +  (เครื่องหมายบวกสีเขียว)
             (4) จะเพิ่มแถวว่างให้กรอกข้อมูลขึ้นมา 1 แถว
                    anc_risk_id :  21  (20 Records + 1)
                    anc_risk_name :  ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
                    anc_risk_fatal :  Y
             (5) คลิกปุ่ม : Append

     3. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้ง  DebugForm


     4. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้งให้  Confirm


     5. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้ง  Update Done.



    การบันทึกข้อมูลผู้รับบริการฝากครรภ์ ในโปรแกรม HOSxP PCU
มีวิธีการบันทึกข้อมูล  ดังนี้

     1. ที่เมนู ระบบงานเชิงรับ    >>  One stop service



     2. จะปรากฏหน้าจอ One stop service


             (1) คลิกในช่อง HN  แล้วเคาะที่ space bar 1 ครั้ง
             (2) จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ค้นหาผู้รับบริการ  สามารถค้นหาด้วย(ชื่อ / นามสกุล / CID / HN / ID) หรือค้นหาตามที่อยู่ ของผู้รับบริการที่ต้องการ  >> ตามภาพ ค้นหาด้วย HN: 0055623
             (3) คลิกที่ชื่อบุุคคลที่ต้องการ (ให้เกิดสีน้ำเงิน)
             (4) คลิกปุ่ม : ตกลง

     3. จะปรากฏหน้าจอ One stop service


     4. จะปรากฏหน้าจอ One stop service


             (1) ข้อมูลทั่วไปผู้ป่วย คลืกที่ปุ่ม : ข้อมูลเวชระเบียน >> แก้ไขให้ถูกต้อง
             (2) การคัดกรอง  >> ให้บันทึกข้อมูลน้ำหนัก, ส่วนสูง, ความดันโลหิต, ... , Cheif complaint
             (3) ที่แทบ : การวินิจฉัย  >> ให้บันทึกข้อมูลผู้ตรวจรักษา, สถานะปัจจุบัน,
การวินิจฉัย :
             (4) คลิกปุ่ม : ฝากครรภ์

     5. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์   Person not register in ANC Registry     แจ้งว่า...บุคคลนี้ยังไม่ได้ลงทะเบียน ANC (ในบัญชี 2)   >> คลิกปุ่ม : OK



     6. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์   Confirm   ต้องการลงทะเบียนฝากครรภ์หรือไม่ ?  >> คลิกปุ่ม : Yes


     7. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์



             (1) ข้อมูลผู้รับบริการ (ข้อมูลบุคคล ในบัญชี 1)  คลิกที่ปุ่ม : แก้ไขข้อมูล >> แก้ไขให้ถูกต้อง
เพศ, อายุ , อาชีพ  >> ใช้เป็นเงื่อนไขในรายงานทะเบียนเด็กหญิงแม่/แม่วัยรุ่น
             (2) ที่แทบ : ข้อมูลการฝากครรภ์  >> ให้บันทึกข้อมูลวันที่ลงทะเบียนฝากครรภ์, ผู้รับฝากครรภ์,
ให้คลิกที่ปุ่ม : ออกใหม่ (เลขที่ฝากครรภ์ : จะขึ้นให้อัตโนมัติ), ลง ครรภ์ที่, สถานะ : เลือกยังไม่คลอด,
LMP : Drop Down เลือกวันที่มีประจำเดือนครังสุดท้าย, EDC : (กำหนดคลอด จะขึ้นให้อัตโนมัติเมื่อลง LMP)
             (3) ภาวะเสี่ยง  >> Drop Down เลือก ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์  และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ
(เลือกได้หลายภาวะเสี่ยง)
             (4) ที่แทบ : การมารับบริการ >> คลิกปุ่ม : เพิม Visit  >> คลิกปุ่ม : แก้ไข Visit เก่า
ที่แทบ : วินิจฉัย/ตรวจรักษา  >> กรณี ท้องแรก ICD10 ใส่ Z340
             (5) คลิกปุ่ม : บันทึก  >> คลิกปุ่ม : บันทึก  >> .... >> คลิกปุ่ม : บันทึก

     จบขั้นตอนการเพิ่มช่องรับข้อมูล การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP PCU  และ การบันทึกข้อมูลผู้รับบริการฝากครรภ์ ในโปรแกรม HOSxP PCU

    ขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์  ดำเนินการตามคู่มือนี้
ส่วนเรื่องรายงานทะเบียนการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  และรายงานที่เกี่ยวกับ ANC  จะส่งให้ภายหลัง ครับ..






วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จากที่จังหวัดเลยมีปัญหาว่าได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของแพทย์แผนไทย ซึ่งมาใช้ข้อมูลจาก OPPP Individual Data ในการจัดสรรงบประมาณนั้น เราได้พูดคุย ดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาในปีต่อไป ซึ่งได้ข่าวมาว่าปีหน้า (2556) จะไม่มีการอุทธรณ์ข้อมูลแล้ว งาน ICT และงานแพทย์แผนไทยคุยกัน ถกกัน มาได้เดือนกว่า ๆ แล้ว สรุปได้ว่า สิ่งที่ สปสช.ต้องการคือ 1. ผู้ให้บริการเป็นใคร มีเลขประจำตัวผู้ให้บริการหรือไม่ ถ้ามีเท่าที่วิเคราะห์ข้อมูลดูหน่วยที่ได้รับการสรรงบประมาณ รหัสผู้ให้บริการต้องเป็นเลขอารบิค 5 หลัก แต่มีหลายหน่วยงานใส่ข้อมูลเป็นตัวหนังสือ เป็นเลขไทยอะไรประมาณนี้ค่ะ (ส่วนนี้จะถูกไปใช้เป็นค่า K) 2. การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการ ต้องมีการ Diag โรคตาม ICD-10 หรือ ICD-10TM เป็นโรคหลัก (Priciple Diagnosis) และบันทึกรหัส ICD-10TM แผนไทย ที่เราเรียกกันว่ารหัส U เป็นโรคร่วม (Co-Diagnosis) และ (เน้นนะคะว่าและ) ต้องลงการให้บริการ (นวด อบ ประคบ) เป็นหัตถการ ซึ่งหัตถการนี้ต้องส่งออกข้อมูลเป็น 7 หลักค่ะ มีเทคนิคที่หลาย ๆ คนอาจพลาดคือเวลาบันทึกข้อมูลต้องบันทึกแล้วเคาะ enter ให้ลงมาบรรทัดใหม่ เกิดบรรทัดว่าง ๆ ก่อนไปหน้าบันทึกอย่างอื่นค่ะ และอย่าลืมบันทึกผู้ให้การรักษาด้วยค่ะ 3. หากมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วย ถ้าเป็นยาแผนไทย ก็จะได้รับเงินเรื่องยาแผนไทยอีกต่อหนึ่ง 4. การรักษานั้นเป็นการรักษาในหรือนอกสถานบริการ ซึ่งผู้บันทึกอย่าลืมทำเครื่องหมายในช่องสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านล่างด้วยนะคะ ที่สำคัญข้อมูลบุคคลของคนนั้นต้องสมบูรณ์ด้วยค่ะถึงจะได้แต้ม ในส่วนของ Admin ต้องช่วยดูเรื่องรหัสต่าง ๆ มันออกมาตรงมาตรฐานหรือไม่ การตั้งค่าผู้ให้บริการพร้อมแล้วหรือยัง ตรวจสอบดู Error และปริมาณของข้อมูล แล้ว feedback ข้อมูลให้เจ้าหน้าที่แผนกอื่น ได้รับทราบและแก้ไขร่วมกันค่ะ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555

     ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ได้จัดทำโครงการดูแลและส่งเสริมสุภาพประชาชน จังหวัดเลย  ซึ่งประกบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาลทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีความรู้อย่างเพียงพอในการดูแลและจัดการสุขภาพตนเองเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพ รวมทั้งไม่เป็นผู้แพร่เชื้อโรคติดต่อต่างๆระหว่างแหล่งที่ไปขาย กับจังหวัดเลย  ซึ่งได้ขอความร่วมมือให้ผู้เกี่ยวข้องได้สำรวจข้อมูล ตามแบบสำรวจฯ ดังภาพ



     การบันทึกข้อมูลการสำรวจการสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555  ในโปรแกรม HOSxP / HOSxP_PCU   มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  เพิ่มข้อมูลชมรม ขายสลากกินแบ่งรัฐบา

     1. ที่ระบบบัญชี 1-8    >>  ระบบงานบัญชี 8 (องค์ประกอบพื้นฐานระดับชุมชน)


     2. จะปรากฏหน้าจอ ระบบงานบัญชี 8 (องค์ประกอบพื้นฐานระดับชุมชน)


             (1) คลิกเลือกหมู่บ้าน ที่ต้องการเพิ่มชมรมขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
             (2) คลิกที่เมนู : ชมรม
             (3) คลิกปุ่ม : เพิ่มชมรม

     3. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลชมรม


             (1) ชื่อชมรม : ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล    << ใช้เป็นเงื่อนไขในรายงาน
             (2) ประเภท : ให้ Drop Down เลือก อื่นๆ
             (3) สมาชิกในชมรม  คลิกปุ่ม :  +  (เครื่องหมายบวกสีเขียว)
             (4) ชื่อสมาชิก : พิมพ์ชื่อ แล้ว Drop Down เลือก ชื่อ - สกุล เพื่อเพิ่มสมาชิก
             (5) ทำซ้ำในข้อ (3) , (4)  จนครบตามรายชื่อประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของหมู่บ้านนี้
             (6) คลิกปุ่ม : บันทึก
             (7) คลิกปุ่ม  ปิด


ขั้นตอนที่ 2   การบันทึกข้อมูลบุคคล (แหล่งที่ไปขายที่ / เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้)

     1. ที่ระบบบัญชี 1-8   >>  ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)



     2. จะปรากฏหน้าจอ ระบบงานบัญชี 1 (กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)


             (1) คลิกปุ่ม : ค้นหา/แก้ไข  (สมาชิกของชมรม ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล)
             (2) ชื่อ / นามสกุล / CID / HN / ID : พิมพ์ชื่อสมาชิกของชมรม ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่ต้องการ
             (3) คลิกปุ่ม : ค้นหา
             (4) คลิกที่ชื่อบุุคคลที่ต้องการ (ให้เกิดสีน้ำเงิน)
             (5) คลิกปุ่ม : ตกลง

     2. จะปรากฏหน้าจอ ข้อมูลบุคคล


             (1) เบอร์โทรศัพท์ บ้าน : ใส่เบอร์โทรศัพท์บ้าน (ถ้ามี)
             (2) เบอร์โทรศัพท์ ที่ทำงาน : ใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือ (ถ้ามี)  หรือ เบอร์เพื่อนที่ไปด้วยกัน
             (3) ที่ทำงาน : ระบุสถานที่ แหล่งที่ไปขาย
             (4) คลิกที่แทบ : การเป็นสมาชิกของกลุ่มในชุมชน
             (5) จะปรากฏกลุ่ม / ชมรม : ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
             (6) วันที่เริ่มชื่อสมาชิก : ให้ Drop Down เลือก วันที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม / ชมรม
             (7) คลิกปุ่ม : บันทึก


ขั้นตอนที่ 3   การนำเข้ารายงาน

      รายงานที่จะให้นำเข้า  2  รายงาน  คือ

     1. รายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555 (ส่ง สสจ.เลย).cds  เป็นรายงานที่ใช้ส่งออก Text  File  เพื่อส่งข้อมูลให้งาน ICT  สสจ.เลย

     2. รายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555.cds    เป็นรายงานที่ใช้ใน รพ.สต. ของท่านเอง

ขั้นตอนการนำเข้ารายงาน  มีดังนี้

     1. ที่เมนู  Tools    >>  Report Designer


     2. จะปรากฏหน้าจอ Report Designer



             (1) คลิกที่ปุ่ม :  Import Report
             (2) คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์รายงาน
             (3) คลิกที่ไฟล์ :  CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555 (ส่ง สสจ.เลย).cds
             (4) คลิกที่ปุ่ม :  Open

     3. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ ให้ยืนยันความต้องการ นำเข้ารายงาน....


     4. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ แจ้ง  Import Done


     นำเข้ารายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

     5. นำเข้ารายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555.cds   ทำตามขั้นตอน ข้อ 2 (2)  ถึง  ข้อ 4

     เมื่อนำเข้า เสร็จเรียบร้อยทั้ง  2 รายงานแล้ว  คลิกที่ปุ่ม :  Close
    จบขั้นตอนการนำเข้ารายงาน ครับ...


ขั้นตอนที่ 4   การใช้รายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555 (ส่ง สสจ.เลย).cds   ส่งออก Text  File  เพื่อส่งข้อมูลฯ ให้งาน ICT  สสจ.เลย

     เมื่อนำเข้ารายงานทั้ง 2  รายงาน ในขั้นตอนที่ 3  เสร็จเรียบร้อยแล้ว  สามารถใช้รายงานได้   ดังนี้

     1. ที่เมนู รายงาน   >>   Report Central
     2. จะปรากฏหน้าจอ รายงาน



             (1) module  คลิกที่ :  Loei_report
             (2) ชื่อรายงาน คลิกที่ :  CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555 (ส่ง สสจ.เลย)
             (3) คลิกที่ปุ่ม :  พิมพ์รายงาน

     3. จะปรากฏหน้าจอ เตรียมการพิมพ์รายงาน



     4. จะปรากฏหน้าจอ Print Preview


     5. จะปรากฏหน้าจอ Print



             (1) ให้ติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ  Print to File
             (2) Type:  ให้ Drop Down เลือก Text File
             (3) Where :  ให้คลิกเลือกไดร์\โฟล์เดอร์  แลให้ตั้งชื่อไฟล์(รหัสสถานบริการ).txt
             (4) คลิกที่ปุ่ม :  OK

     6. ให้นำไฟล์ที่ส่งออกจากรายงาน ข้อ 5 (3)   ส่งมาที่กล่องหนังสืออื่นๆของงาน ICT   ขอบคุณ ครับ...


     ในส่วนของรายงาน CUSTOM-แบบสำรวจประชาชนที่ประกอบอาชีพเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดเลย ปี 2555  เป็นรายงานที่ใช้ใน รพ.สต. ของท่านเอง  (ไม่ต้องส่งให้งาน ICT)  จะแสดงข้อมูลตามแบบสำรวจฯ เป็นรายหมู่บ้าน เรียงลำดับ / ขึ้นหน้าใหม่ตามหมู่บ้าน  หน้าสุดท้ายแสดงจำนวนรวมทั้งหมด (ทุกหมู่บ้าน)   ตามภาพ




     รายงานนี้สามารถ Print กระดาษ  หรือ  Print to File  โดยสามารถเลือก Type:  เป็น Text File , PDF File ,
JPEG File , Excel File , ...   ตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วครับ

     รายงานและคู่มือการคีย์ข้อมูลนี้ ได้ส่งให้ทางกล่องหนังสือแล้ว
สามารถแสดงความคิดเห็น / คำแนะนำ   ได้ที่ข้างท้ายนี้...ครับ